เปิดเรื่องราวเกาะ “โอคุโนะชิม่า” เกาะซึ่งเต็มไปด้วยกระต่าย แต่กลับมีประวัติน่ากลัวกว่าที่คิด

เกาะโอคุโนะชิม่าเป็นเกาะแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดฮิโรชิม่า มีชื่อเสียงเรื่องการถูกยกย่องว่าเป็นเกาะศักดิ์สิทธิ์ที่เต็มไปด้วยกระต่าย จนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากๆ แห่งหนึ่งของญี่ปุ่นไป

 

 

แต่รู้หรือไม่ว่าในสถานที่ที่เต็มไปด้วยเจ้าตัวน้อยน่ารักเหล่านี้ มันมีเบื้องหลังที่ไม่น่ารักเท่าไหร่อยู่ด้วย เพราะในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เกาะแห่งนี้เคยเป็นฐานทัพลับของทางญี่ปุ่นมาก่อนนั่นเอง

ไม่มีใครทราบว่ากระต่ายที่อาศัยอยู่บนเกาะนี้มีที่ไปที่มาอย่างไร อย่างไรก็ตามคนในพื้นที่เชื่อในความเป็นไปได้อยู่สองแบบ โดยแบบหนึ่งคือมีกลุ่มเด็กๆ เอากระต่ายมาปล่อยไว้ที่นี่ในยุค 70

 

 

ส่วนความเป็นไปได้อีกอย่างหนึ่ง คือกระต่ายเหล่านี้เคยถูกใช้ในการทดลองอาวุธเคมีของทางกองทัพญี่ปุ่นตั้งแต่ในช่วงปี 1929

เชื่อกันว่าหนึ่งในอาวุธเคมีเหล่านั้นก็คือ “แก๊สมัสตาร์ด” อาวุธเคมีสุดร้ายแรงซึ่งมีสนธิสัญญาห้ามการใช้งานตั้งแต่จบสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

 

สิ่งปลูกสร้างที่เชื่อกันว่าเป็นโรงงานแก๊สพิษ ในสมัยสงคราม

 

ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงนักประวัติศาสตร์ ก็ประมาณการว่าแก๊สพิษที่ผลิตจากเกาะแห่งนี้ จะกลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้คนราวๆ 80,000 คน ในช่วงที่ญี่ปุ่นบุกโจมตีประเทศจีนเลยทีเดียว

การที่มีประวัติศาสตร์แบบนี้ทำให้เกาะแห่งนี้มีอีกชื่อเล่นที่เรียกกันโดยคนในพื้นที่ว่า “เกาะแห่งพิษ” ไป

 

 

น่าแปลกที่จากการตรวจสอบกระต่ายที่อยู่บนเกาะในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์กลับไม่พบร่องรอยสารเคมีในกระต่ายอย่างที่ควรเป็นในหมู่สัตว์ที่ใช้ในการทดลองอาวุธเลย

หลายๆ คนให้ความเห็นกับเรื่องนี้ว่า เป็นไปได้ว่ากระต่ายรุ่นที่ถูกทดลองในอดีตอาจจะตายไปหมดแล้ว และกระต่ายที่เห็นในปัจจุบันเป็นรุ่นที่ถูกนำมาปล่อยในภายหลังโดยกลุ่มเด็กๆ ในยุค 70

หรือไม่ก็สารเคมีที่มีการทดลองในสมัยก่อน อาจจะไม่ส่งผลกับกระต่ายรุ่นลูกก็เป็นได้

 

 

ในปัจจุบันเกาะแห่งนี้มีกระต่ายอยู่ที่ราวๆ 1,000 ตัว อย่างไรก็ตามการขยายพันธุ์ที่มากเกินไปนี้ก็กำลังส่งผลกับระบบนิเวศบนเกาะโดยตรงเช่นเดียวกัน

เพราะในปัจจุบันแหล่งอาหารที่มีอยู่บนเกาะเริ่มลดน้อยลงจากการเพิ่มจำนวนของกระต่ายบนเกาะ และมีกระต่ายมากมายที่จำเป็นต้องพึ่งพาอาหารจากนักท่องเที่ยวเพื่อประทังชีวิตแล้วเช่นกัน

 

 

ที่มา allthatsinterestinggethiroshima

Comments

Leave a Reply