โศกนาฏกรรมกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ ความผิดพลาดของนาซา ที่ถูกถ่ายทอดไปทั่วประเทศ

17 ปี หลังจากอะพอลโล 11 ลงจอดบนดวงจันทร์ ในวันที่ 28 มกราคม 1986 ทางนาซาได้เตรียมปล่อยจรวด OV-099 หรือที่รู้จักกันในนาม “ชาเลนเจอร์” ขึ้นสู่อวกาศ ท่ามกลางสายตาของผู้คนที่คอยชมผ่านทางโทรทัศน์

 

 

อย่างไรก็ตามเพียงแค่ 73 วินาทีหลังออกบิน กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ก็แตกออกเป็นชิ้นๆ ส่งผลให้นักบินเจ็ดคนเสียชีวิต และกลายเป็นโศกนาฏกรรมที่ทำให้คนทั้งประเทศสหรัฐอเมริกาต้องผวา

เดิมทีแล้วกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์เคยมีการปฏิบัติการมาแล้วกว่า 9 ครั้ง ทำให้ทางนาซาค่อนข้างมั่นใจว่าการปล่อยกระสวยอวกาศในยังนี้จะต้องเป็นไปได้ด้วยดีแน่ๆ

 

 

อย่างไรก็ตามจากการที่ยานเคยปฏิบัติการมาหลายครั้ง ทำให้วงแหวนยางที่อยู่ระหว่างรอบต่อของจรวดไม่ยืดหยุ่นเท่าที่ควร บวกกับอากาศที่เย็นจัดทำให้เกิดน้ำแข็งเกาะ จนเกิดแก๊สรั่วและไฟลุกเมื่อมีการปล่อยจรวดนั่นเอง

ที่จริงแล้วความเป็นไปได้ที่กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์จะระเบิดนั้น เคยมีการพูดถึงมาก่อนโดยวิศวกรของนาซา ซึ่งต้องการที่จะขอเลื่อนวันปล่อยจรวดออกไป ปัญหาคือผู้บริหารหลายคนของนาซาไม่เชื่อ และฝืนจะให้ทำการบินให้ได้

 

 

นั่นทำให้นาซาต้องเสียนักบินทั้งเจ็ดคนไป แถมจากรายงานทางวิทยุสื่อสาร นักบินทั้งหมดก็ไม่ได้เสียชีวิตทันทีเสียด้วย เพราะแรงระเบิดนั้นไปไม่ถึงห้องนักบิน

อย่างไรก็ตามการที่กระสวยระเบิดไปก็ทำให้นักบินทั้งเจ็ดต้องดิ่งลงมาจากความสูง 15 กิโลเมตรโดยไม่สามารถสละยานได้ ก่อนที่จะกระแทกเข้ากับมหาสมุทรแอตแลนติกในที่สุด

 

 

แต่สิ่งที่ทำให้โศกนาฏกรรมของกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์กลายเป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงมากที่สุดก็คงไม่พ้นเรื่องที่การปล่อยจรวดครั้งนี้มีการถ่ายทอดไปทั่วประเทศนั่นเอง

เพราะนอกจากผู้ใหญ่จำนวนมากแล้วในเวลานั้นเองก็ยังมีเด็กอีกหลายคนที่เฝ้าดูการขึ้นบินในครั้งนี้อยู่ด้วย และเด็กเหล่านั้นเองก็ได้เห็นภาพอันโหดร้ายซึ่งเกิดขึ้นจากความประมาทของมนุษย์เข้าไปอย่างจัง

 

ภาพโศกนาฏกรรมของกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ที่ถูกถ่ายทอดผ่านทาง CNN

และไม่แน่ว่าเหตุการณ์ในครั้งนี้ อาจจะดับฝันนักเรียนในสมัยนั้นหลายๆ คนเลยก็เป็นได้

 

ที่มา britannicaranker

Comments

Leave a Reply