“เลโอโปลด์ที่ 2” ประวัติศาสตร์เปื้อนเลือดแห่งเบลเยียม ผู้สังหารชาวคองโกร่วม 10 ล้านคน

เมื่อผู้ถึงประเทศเบลเยียมเชื่อว่าหลายๆ คนคงจะมีภาพในหัวที่ต่างๆ กันออกไป ถึงอย่างนั้นก็เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะนึกถึงภาพ “ประวัติศาสตร์เปื้อนเลือด” แน่ๆ

แต่เชื่อไหมล่ะว่าประเทศนี้ก็มีเรื่องราวสุดโหดกับเขาเช่นกัน เพราะนี่เป็นเรื่องของกษัตริย์เลโอโปลด์ที่ 2 แห่งเบลเยียม ชายผู้ที่ว่ากันว่าโหดร้ายพอๆ กับฮิตเลอร์หรือสตาลินเลยทีเดียว

 

 

โดยในยุคปลายศตวรรษที่ 19 นั้นมีประเทศในยุโรปหลายประเทศที่เข้าไปล่าอาณานิคมในแอฟริกา และเบลเยียมก็เป็นหนึ่งในนั้น โดยพวกเขาได้ประเทศคองโกไปครอบครอง

นั่นทำให้ตลอดระยะเวลา 23 ปี คนในประเทศคองโกต้องตกเป็นทาสของกษัตริย์เลโอโปลด์ที่ 2 อย่างเต็มตัว เพราะเลโอโปลด์ที่ 2 ได้จัดตั้งบริษัทขึ้นมาด้วยทรัพย์สินส่วนตัว เพื่อดูแลการเก็บเกี่ยวผลผลิตในคองโกโดยเฉพาะนั่นเอง

 

 

จริงอยู่ว่าตามปกติการ “ดูแล” แรงงานทาสในต่างแดนก็มักจะต้องมีการใช้ความรุนแรงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่บริษัทของกษัตริย์เลโอโปลด์ที่ 2 นั้นโหดกว่าที่อื่นเป็นพิเศษ

ภายใต้การดูแลของบริษัทแห่งนี้ ชาวบ้านในแต่ละที่จะต้องส่งยอดสินค้า (โดยมากแล้วเป็นยางพารา) ให้ได้เท่ากับที่กำหนด ไม่เช่นนั้นจะถูกลงโทษรุนแรง ตั้งแต่การเฆี่ยน การทรมาณ ไปจนถึงขั้นประหารชีวิต

 

 

โดยการประหารชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่ของทหารซึ่งเป็นชาวคองโกที่ภักดีต่อกษัตริย์เลโอโปลด์ที่ 2 และในการประหารแต่ล่ะครั้งจะต้องมีการตัดมือ ของเหยื่อเพื่อนำไปเป็นหลักฐานในการเบิกกระสุนอีกด้วย

 

 

ปัญหาคือการออกกฎเช่นนั้นทำให้เกิดปัญหาขึ้น กล่าวคือทางทหารตัดสินใจ “ทุจริต” ด้วยการตัดมือคนที่ไม่มีความผิดเพื่อไปแลกกระสุน หรือไม่ก็ใช้อำนาจสังหารใครก็ได้ผ่านข้ออ้างที่ว่า “ผลผลิตไม่ถึงยอด”

 

 

นั่นทำให้ตั้งแต่ปี 1885-1908 กษัตริย์เลโอโปลด์ที่ 2 กลายเป็นผู้อยู่เบื้องหลังของการสังหารหมู่ชาวแอฟริการ่วม 10 ล้านคน ไม่ว่าจะจากการตัดมือ การใช้แรงงานอย่างหนัก การเผาหมู่บ้าน หรือความอดอยาก

กษัตริย์เลโอโปลด์ที่ 2 กลายเป็นหนึ่งในชายที่ร่ำรวยที่สุดในโลกในสมัยนั้น โดยนักโบราณคดี เชื่อกันว่าเลโอโปลด์ที่ 2 น่าจะมีทรัพย์สินรวมๆ ราว 3,000 ถึง 16,000 ล้านบาทเลยทีเดียว (เทียบกับค่าเงินในปัจจุบัน)

 

 

อย่างไรก็ตามนี่เป็นเงินที่ได้มาจากเลือดเนื้อของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันทั้งนั้น ในปี 1909 กษัตริย์เลโอโปลด์ที่ 2 ได้เสียชีวิตลง แต่ถึงอย่างนั้น คองโกก็ยังอยู่ในการปกครองของเบลเยียม

และกว่าที่ประเทศคองโกจะได้รับเอกราชจริงๆ ก็ต้องรอถึงวันที่ 30 มิถุนายน 1960 เลยทีเดียว จึงเป็นการสิ้นสุดยุคทาสอันโหดร้ายที่พวกเขาต้องเผชิญ

 

ที่มา britannicararehistoricalphotosallthatsinteresting

Comments

Leave a Reply