14 ภาพการเอกซเรย์จากสมัยก่อน มาดูกันว่าเครื่องมือที่คนในอดีตกลัว มันน่ากลัวจริงๆ หรือไม่

ในช่วงแรกๆ ที่มีการคิดค้นการเอกซเรย์ออกมา ผู้คนจำนวนมากเชื่อว่านี่เป็นเครื่องมือที่มีความอันตรายค่อนข้างสูง แต่ถึงอย่างนั้นการเอกซเรย์ก็ช่วยเหลือในการรักษาชีวิตของผู้คนในสมัยนั้นไว้เป็นจำนวนมากอยู่ดี

ว่าแต่เพื่อนๆ เคยสงสัยกันไหมว่าการเอกซเรย์ในสมัยก่อนนั้นมันเป็นอย่างไรกัน ที่คนกลัวกันขนาดนั้นเป็นเพราะหน้าตาของมันใช่หรือไม่ มาหาคำตอบไปด้วยกันกับ 14 ภาพการเอกซเรย์จากสมัยต่อไปนี้

 

นี่คือเครื่องเอกซเรย์รุ่นแรกๆ ในประเทศออสเตรีย กับการใช้งานในช่วงปี 1910

 

ส่วนนี่คือเครื่องเอกซเรย์ของศาสตราจารย์มินาร์ด ในโรงพยาบาลโคชิน ประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี 1914

 

เครื่องเอกซเรย์ของสถาบัน Roentgen ประเทศเยอรมนี 1929

จะสังเกตว่าเทคโนโลยีเครื่องเอกซเรย์จะดูล้ำสมัยมากเมื่อเทียบกับของอื่นๆ สมัยนั้น

 

ภาพผลการเอกซเรย์แผ่นหลังของ Judith Allen นักแสดงมีชื่อของสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1930

 

การสาธิตการทำงานของอุปกรณ์เอกซเรย์รุ่นใหม่ล่าสุดที่ลอนดอน เมื่อปี 1932

 

นักรังสีในชุดป้องกันรุ่นเก่าที่ไม่จำเป็นแล้วในการเอกซเรย์ในปัจจุบัน เมื่อปี 1934

 

เครื่องเอกซเรย์ศีรษะรุ่นใหม่ที่มาพร้อมระบบป้องกันที่ดียิ่งขึ้นในงานนิทรรศการทางการแพทย์ที่กรุงลอนดอน เมื่อปี 1934

จากคำอธิบาย เครื่องนี้ใช้ง่ายขนาดว่าสามารถเสียบปลั๊กกับบ้านคนธรรมดาได้เลย

 

การเอกซเรย์ทรวงอกเพื่อการตรวจโรคเกี่ยวกับปอดด้วยเครื่องมือเฉพาะทาง ในรีโอเดจาเนโร 1937

 

การตรวจเอกซเรย์ ของแพทย์สนามสหรัฐฯ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

ภาพนี้คาดว่าถ่ายมาในช่วงปี 1941-1945

 

ทีมแพทย์ที่ใช้เครื่องเอกซเรย์ ในการใส่สายสวนหลอดเลือดเข้าไปที่หัวใจคนไข้เมื่อปี 1947

 

การเอกซเรย์ทรวงอกของเด็กเล็กในคลินิกทรวงอกเชลซี เมื่อปี 1949

 

เครื่องเอกซเรย์เพื่อการทำทันตกรรม ในงานจัดแสดงที่แคลิฟอร์เนีย เมื่อปี 1953

 

คนไข้ที่มีอาการสะอึกไม่หยุดได้รับการเอกซเรย์ในโรงพยาบาลที่นิวยอร์กเมื่อปี 1955

 

และเครื่องเอกซเรย์แบบหมุนได้ ที่ใช้ในการทันตกรรมเมื่อปี 1960

 

ที่มา historydaily

Comments

Leave a Reply