นักวิทย์ไขปริศนา “สาเหตุ” การสร้างรูปปั้นโมอาย แท้จริงแล้วมันเกี่ยวกับแหล่งน้ำดื่ม

ตั้งแต่ในอดีต มีนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากได้ทำการถกเถียงกันถึงที่มาของรูปปั้นหินแห่งเกาะอีสเตอร์ที่ประเทศชิลี มันคือรูปปั้นหินที่รู้จักกันในนาม โมอาย หนึ่งในมรดกโลกและหนึ่งในปริศนาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขของโลกใบนี้

รูปปั้นโมอายเชื่อกันว่าถูกสร้างขึ้นในช่วงปี 1250-1500 โดยชาวเกาะอีสเตอร์ที่มีชื่อว่า Rapa Nui และมีอยู่ทั้งหมดราวๆ 887 อันทั่วเกาะ อย่างไรก็ตามไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าชาวเกาะสร้างมันขึ้นมาได้อย่างไร หรือทำขึ้นมาเพื่ออะไร

 

 

แต่ล่าสุดนี้เองทีมนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยบิงแฮมตันของสหรัฐอเมริกาก็ได้ออกมาบอกว่าพวกเขาสามารถไขปริศนา “สาเหตุ” ของการสร้างรูปปั้นโมอายได้แล้ว!!

ดูเหมือนว่าบนเกาะอีสเตอร์นั้นมีแหล่งน้ำจืดอยู่ค่อนข้างน้อย ทำให้คนที่อาศัยอยู่ในเกาะจำเป็นต้องพึ่งพาน้ำใต้ดินในการดำเนินชีวิต และรูปปั้นโมอายทั่วเกาะก็เป็นสัญลักษณ์ของแหล่งน้ำที่ดื่มได้นั่นเอง

การค้นพบนี้มาจากการศึกษาแหล่งน้ำบนเกาะจากการวิจัย ซึ่งพบว่าทั้งเกาะนั้นมีทะเลสาบที่พอจะเป็นแหล่งน้ำได้เพียงแค่สองที่เท่านั้น แถมยังอยู่ในบริเวณที่เข้าไปได้ยากด้วย

 

 

นอกจากนี้หลักฐานการเก็บน้ำฝนของคนบนเกาะก็ยังมีอยู่ไม่มากและไม่น่าจะเพียงพอต่อการใช้ชีวิต นั่นทำให้พวกนักวิจัยเชื่อว่าชาวเกาะจะต้องใช้น้ำใต้ดินเป็นแหล่งน้ำหลักแน่ๆ

จริงอยู่ว่าน้ำใต้ดินเหล่านี้นั้นมักจะไหลลงไปในทะเล แต่มนุษย์ก็สามารถใช้ประโยชน์จากมันได้ ในจังหวะที่มันกำลังจะไหลลงไปรวมกับน้ำเค็มเลย

เพราะจากการวัดค่าความเค็ม น้ำใต้ดินเหล่านี้อยู่ในระดับที่ร่างกายคนเรารับได้ แม้น้ำจืดจะร่วมกับน้ำเค็มไปบางส่วนก็ตามที

 

 

ในปัจจุบันแนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่มีความเป็นไปได้สูงมาก เพราะจากการเดินทางมาที่เกาะของนักเดินทางเมื่อปีศตวรรษที่ 18 เอง ก็มีการบันทึกไว้ว่า ชาวเกาะตักน้ำทะเลไปบริโภคด้วย

นั่นหมายความว่ารูปปั้นโมอายส่วนใหญ่บนเกาะจะถูกวางเอาไว้ในที่ต่างๆ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของจุดที่มีน้ำที่ดื่มได้ หรือไม่ก็ชี้ไปยังจุดที่มีแหล่งน้ำที่ว่านั่นเอง

อย่างไรก็ตามการที่ชาวเกาะบริโภคน้ำในรูปแบบนี้ จะทำให้พวกเขาแทบจะไม่ต้องใช้เกลือในการทำอาหารเลย เนื่องจากพวกเขาได้รับเกลือที่จำเป็นในชีวิตประจำวันจากการดื่มน้ำแล้ว

 

 

ที่มา allthatsinterestingdailymailnews

Comments

Leave a Reply