เปิดประวัติ “ทันตกรรม” ศาสตร์ที่ยืนยงคู่กับมนุษย์ และอยู่มานานกว่า 9,000 ปี

เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะรู้จักหมอฟันกันเป็นอย่างดี แต่ทราบกันหรือไม่ว่า การทำฟันนั้น มันมีมานานกว่า 9,000 ปีเลยทีเดียว แถมการถอนฟันเฉยๆ ยังมีมาก่อนหน้านั้นอีกนานเลยด้วย

 

 

หลักฐานของการทำฟันในรูปแบบที่ควรเรียกว่าการทำฟันจริงๆ ที่มีความเก่าแก่ที่สุดนั้น ถูกค้นพบในอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุช่วง 7,000 ปีก่อนคริสตกาลในปากีสถาน โดยเป็นการรักษาฟันด้วยระบบสว่านที่ทำจากไม้และสายธนู

 

 

นอกจากนี้เมื่อปี 2012 เองก็มีการขุดพบการอุดฟันด้วยขี้ผึ้งเมื่อ 6,500 ปีก่อนอีกด้วย ซึ่งแม้ว่าจะไม่อาจทราบได้ว่าการทำเช่นนี้ได้ผลจริงไหม แต่อย่างน้อยมันก็ช่วยลดความเจ็บปวดได้มากแน่ๆ

 

 

ดูเหมือนว่าในสมัยก่อนคนจะคิดว่าอาการฟันผุนั้นเกิดจากสิ่งมีชีวิตจำพวกหนอน เนื่องจากรูที่เกิดจากการการฟันผุมักจะมีรู้ร่างคล้ายรูที่หนอนเจาะนั่นเอง

 

 

แต่หากจะพูดถึงสมัยที่การทำฟันแพร่หลายและพัฒนาไปอย่างไม่น่าเชื่อ ก็คงไม่พ้นในสมัยอียิปต์โบราณ เพราะจากบันทึกในกระดาษปาปิรุสจากเมื่อ 1,700 ปีก่อนคริสตกาล ที่อียิปต์มีการทำฟันมาตั้งแต่เมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสตกาลเลย

แถมการทำฟันของอียิปต์โบราณยังไม่ได้มีแค่การถอนหรืออุดฟัน แต่ยังมีการใช้ยาเพื่อให้ถอนฟันง่ายขึ้น และมีการทำฟันปลอมด้วยฟันที่ได้รับบริจาคมาจากคนอื่นอีกด้วย

 

 

แม้จะยังไม่มีหลักฐานว่าการทำฟันปลอมของอียิปต์เป็นการทำฟันในขณะที่คนไข้ยังมีชีวิต หรือเป็นเพียงการทำฟันปลอมให้ศพเพื่อความสมบูรณ์สวยงามเท่านั้น แต่นี่ก็สะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าของวงการทันตแพทย์เป็นอย่างดี

เมื่อก่อนเองก็มีการทำทันตแพทย์เพื่อความสวยงามแทนกัน คล้ายกับการดัดฟันแฟนซีในสมัยนี้ โดยหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดชิ้นหนึ่งของการทำฟันรูปแบบนี้ อยู่ที่ชนเผ่ามายาที่มีการนำอัญมณีมาฝังเข้าไปในฟันนั่นเอง

 

 

น่าแปลกที่ในช่วงยุคกลางของทางยุโรปการทำฟันกลับถูกผลักไปเป็นงานของช่างตัดผมหรือหมอทั่วๆ ไปแทนที่จะเป็นทันตแพทย์โดยเฉพาะ

และกว่าที่วงการทันตกรรมจะเริ่มคล้ายคลึงกับในปัจจุบัน ก็หลังจากที่ศัลยแพทย์ชาวฝรั่งเศส Pierre Fauchard ออกหนังสือเกี่ยวกับการทันตกรรมโดยเฉพาะในปี 1723 เลยทีเดียว

 

 

ที่มา ancient-originslivescienceadeamuseumofhealthcare

Comments

Leave a Reply