“คร็อบเซอร์เคิล” ปรากฏการณ์วงธัญพืชล้มปริศนา ที่เชื่อกันว่าเป็นฝีมือสิ่งมีชีวิตจากต่างดาว

เคยได้ยินเรื่องของตำนาน “คร็อบเซอร์เคิล” หรือวงธัญพืชกันไหม นี่คือเรื่องที่ว่ากันว่าเกิดขึ้นในทุ่งข้าวโพด (และทุ่งธัญพืชอีกหลายชนิด) ในหลากหลายประเทศทั่วโลก

 

 

โดยนี่เป็นเหตุการที่ผลผลิตในทุ่งธัญพืชล้มลงเป็นวงกลม ที่มีรูปร่างแตกต่างกันไปเมื่อมองจากมุมสูง และมักจะถูกมองว่าเป็นฝีมือของสิ่งมีชีวิตจากต่างดาว

เชื่อกันว่าการที่พืชล้มในรูปแบบนี้เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1678 จากหลักฐานภาพวาดในสมัยนั้น แต่กว่าที่เหตุการณ์คร็อบเซอร์เคิลจะกลายเป็นที่โด่งดังขึ้นมา ก็เป็นในช่วงยุค 70 ที่อังกฤษ

 

 

เพราะในปี 1972 มีเหตุการณ์ชายสองคนลองซ่อนตัวบริเวณเนินเขาสตาร์ฮิล ใกล้เวสมินเตอร์ ในกรุงลอนดอน เพื่อดูแสงประหลาด ซึ่งพวกเขาเชื่อกันว่าเป็น “ยูเอฟโอ”

แม้ว่าทั้งสองจะไม่ได้เห็นยูเอฟโอในวันนั้น แต่พวกเขาก็ได้พบกับคร็อบเซอร์เคิลที่เกิดขึ้นในทุ่งธัญพืชใกล้ๆ แทน และตั้งแต่วันนั้นมา ก็มีรายงานของการค้นพบในรูปแบบนี้เข้ามาเรื่อยๆ จากทั่วโลก

และในเวลาเดียวกัน ก็มีทฤษฎีที่พยายามอธิบายเรื่องที่เกิดขึ้นปรากฏออกมาเป็นจำนวนมากเช่นกัน เนื่องจากการล้มของต้นไม้นั้นเกิดขึ้นในเวลาเพียงชั่วข้ามคืน และในคร็อบเซอร์เคิล “ของจริง” ต้นพืชที่พบจะไม่หักแต่เพียงแค่ล้มลงเท่านั้น

 

 

ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์หลายๆ คนจึงเชื่อว่าการที่จะทำเช่นนี้ได้จำเป็นที่จะต้องใช้คลื่นไมโครเวฟเลยทีเดียว แถมเหตุการนี้ยังทำให้ต้นไม้ในคร็อบเซอร์เคิลโตเร็วกว่าต้นไม้รอบๆ พอสมควรเลยด้วย

อีกหนึ่งในทฤษฎีที่เป็นไปได้ของคร็อบเซอร์เคิล เชื่อกันว่ามาจากการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กโลกซึ่งทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าจนพืชล้มลงไปอย่างที่เห็น

 

 

อย่างไรก็ตามเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าคร็อบเซอร์เคิลอาจจะมาจากฝีมือของมนุษย์เอง เพราะในปี 2000 เอง ก็มีกลุ่มคนอังกฤษออกมาอ้างว่าพวกเขาเป็นผู้อยู่เบื้องหลังคร็อบเซอร์เคิลหลายๆ แห่งบนโลก

และที่สำคัญคือพวกเขาสามารถทำคร็อบเซอร์เคิลขึ้นมาในเวลาเพียง 3 ชั่วโมงอย่างที่พวกเขาอ้างอีกด้วย

 

 

ถ้าอย่างนั้นจะบอกว่าคร็อบเซอร์เคิลทั้งหมดเป็นฝีมือของมุนษย์เช่นนั้นเหรอ? นี่คงเป็นสิ่งที่หลายๆ คนอยากถาม และน่าเศร้าที่ในปัจจุบันเองก็ยังไม่มีใครที่สามารถออกมายืนยันได้อย่างชัดเจน

แต่ไม่แน่เหมือนกันว่านี่อาจจะเป็นสิ่งที่คนเราอยากให้เป็นปริศนาต่อไปก็เป็นได้ เพราะไม่เพียงแต่เป็นวิธีดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ดี แต่ยังเป็นปริศนาลึกลับอันทรงเสน่ห์ไปในเวลาเดียวกัน

 

ที่มา historydailybritannicatelegraph

Comments

Leave a Reply