เชื่อว่าหลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินเรื่อง “ปัญหาวายทูเค” กันมาบ้าง มันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบบันทึกข้อมูลของหลายๆ บริษัทในปี 2000 และทำให้เกิดปัญหายุ่งยากไปทั่วทั้งโลก
ปัญหาวายทูเคมาจากตัวอักษรย่อ Y2K ที่มาจากคำว่า “Year 2 kilo” ซึ่งกิโลในที่นี้ไม่ได้หมายถึงน้ำหนัก แต่เป็นหน่วยเลขของกรีก ดังนั้นวายทูเคจึงหมายถึง “ปี 2000” ตรงๆ เลยนั่นเอง
ปัญหาวายทูเคเกิดขึ้นจากการที่ระบบบันทึกข้อมูลส่วนใหญ่ในสมัยก่อนจะบันทึกเลขปี ด้วยเลขเพียงสองหลักเช่นป 1995 จะถูกบันทึกด้วยเลข 95 เท่านั้น
ซึ่งทำให้เมื่อถึงปี 2000 การใส่ตัวเลข 00 ลงในระบบ จะทำให้ระบบคิดว่าปีที่ใส่มาเป็นปี 1900 แทน แม้ว่าจะฟังดูเป็นเรื่องเล็กน้อย ที่เอาเข้าจริงๆ อันตรายกว่าที่คิด
เพราะไม่ใช่แค่การจองตั๋วเดินทางจะมั่วไปหมดเท่านั้น แต่บันทึกหลายๆ อย่างทางประวัติศาสตร์จะเกิดการปะปนกันมั่วไปหมดจนอาจแยกไม่ออกเลยก็เป็นได้
ปัญหาวายทูเคมีโด่งดังขึ้นครั้งแรกในปี 1984-1985 จากการที่มีหนังสืออธิบายถึงปัญหานี้ไว้ออกวางจำหน่าย บวกกับการที่ในวันที่ 9 กันยายน 1999 มีคอมพิวเตอร์จำนวนหนึ่งไม่สามารถเข้าใจค่าตัวเลย 9999 ได้
ทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวเป็นอย่างมากว่าระบบคอมพิวเตอร์จะพังลงพร้อมกันทั้งโลกอยู่ช่วงหนึ่ง จนทำให้มีบริษัทจำนวนมากเลือกที่จะจ่ายเงินก้อนโตเพื่ออัปเดตระบบของตัวเองเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น
นั่นทำให้ในปี 2000 ปัญหาวายทูเคที่เกิดขึ้นจริงๆ จึงไม่ได้รุนแรงเท่าที่หลายๆ คนกลัว และระบบคอมพิวเตอร์ก็ไม่ได้พังลงพร้อมกันทั่วโลกอย่างที่มีข่าวลืออีกด้วย
ที่มา britannica, nationalgeographic, scientificamerican
Advertisement