พบมีดโบราณที่ทำจากกระดูก อายุกว่า 90,000 ปี เชื่อเก่าแก่ที่สุดในวัฒนธรรมแบบอะทีเรียน

เมื่อพูดถึงยุคหิน เชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะนึกถึงเครื่องมือที่ทำจากหินขึ้นมาเป็นอย่างแรกตามชื่อยุค แต่เอาเข้าจริงๆ ในสมัยนั้น หินไม่ใช่สิ่งเดียวที่มนุษย์นำมาทำอาวุธหรอกนะ

 

 

เพราะนี่คือมีดโบราณที่ทำขึ้นจากกระดูก ที่มีการขุดพบที่ถ้ำ Dar es-Soltan 1 ในประเทศโมร็อกโก ซึ่งเชื่อกันว่ามีอายุราวๆ 90,000 ปี และนับว่าเก่าแก่กว่ามนุษย์สายพันธุ์นีเอนเดอร์ธัลถึง 40,000 ปี

การค้นพบในครั้งนี้ทำให้เราทราบว่าบรรพบุรุษของมนุษย์ในแอฟริกา มีการใช้กระดูกในการทำเครื่องมือมานานกว่าที่เราเคยคิด และเป็นการค้นพบเครื่องมือที่เก่าแก่ที่สุดของวัฒนธรรมแบบอะทีเรียน (Aterian) ในแอฟริกาเหนือด้วย

โดย “อะทีเรียน” คือชื่อที่ใช้เรียกวัฒนธรรมอุตสาหกรรมเครื่องมือในตอนกลางของแอฟริกาเหนือ เชื่อกันว่าสูญหายไปแทบจะทั้งหมดเมื่อ 20,000 ปีก่อน

 

มีดจากกระดูกถูกค้นพบอยู่สามเล่ม โดยเล่มซ้ายเป็นเล่มที่เก่าแก่ที่สุด

 

ดูเหมือนว่ามนุษย์โบราณที่มีวัฒนธรรมแบบอะทีเรียน จะใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการตัดวัตถุที่ไม่แข็งมาก อย่างหนังสัตว์ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความคมมากกว่าพลังทำลาย

โดยกระดูกที่ใช้ในการทำมีดเล่มนี้ จะมาจากส่วนซี่โครงของสัตว์ที่มีขนาดใกล้เคียงกับวัว และมักจะมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 13 เซนติเมตร

 

 

นอกจากมีดที่พบจะทำให้เราทราบถึงการพัฒนาของเทคโนโลยีในหมู่มนุษย์โบราณที่แอฟริกาได้เป็นอย่างดีแล้ว มันยังแสดงให้เห็นถึงลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมแบบอะทีเรียนอีกด้วย

เพราะมีดที่พบนั้นมีรูปแบบที่แตกต่างไปจากมีดที่พบในทางซาฮาราแอฟริกาค่อนข้างมากเลยนั่นเอง

 

 

ในเบื้องต้นนักโบราณคดีหลายคนที่เชื่อว่าการปรากฏขึ้นของมีดที่พบ น่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เกิดมาจากความเปลี่ยนแปลงทางทรัพยากรในช่วง 90,000 ปีก่อน

อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้เคยเกิดขึ้นจริงหรือไม่ ยังเป็นเรื่องที่นักโบราณคดีต้องค้นหาหลักฐานกันต่อไป

 

ที่มา ancient-originssciencenewsdailymail

Comments

Leave a Reply