พบภาพสกัดหินจาก 10,000 ปีก่อนคริสตกาล ที่อินเดีย เชื่อเป็นอารยธรรมที่ไม่เคยถูกพบ

ว่ากันว่าภาพสกัดหินในสมัยก่อนมักจะบอกเล่าเรื่องราวในสมัยนั้นเอาไว้ ดังนั้นจากค้นพบภาพสกัดหินในสมัยก่อน จึงนับว่าเป็นการค้นพบหลังสำคัญอยู่เสมอ

และนี่ก็เป็นอีกครั้งที่มนุษย์เราได้พบกับภาพสลักหินที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์สูง โดยการค้นพบในครั้งนี้เกิดขึ้นที่รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย

 

 

มันเป็นภาพที่มีอายุอยู่ในช่วง 10,000 ปีก่อนคริสตกาล และมีการแสดงภาพของหลายๆ สิ่ง ไม่ว่าจะเป็น สัตว์ ป่า มนุษย์ นก หรือแม้กระทั่งรูปทรงเรขาคณิต ซึ่งล้วนแต่ชี้ให้เห็นถึงอารยธรรมเก่าแก่ที่ไม่เคยมีการพบมาก่อน

แต่สิ่งที่มีอยู่ในรูปภาพนั้นไม่ใช่สิ่งเดิมที่น่าสนใจของภาพที่มีการค้นพบ เพราะการที่ไม่มีภาพของการทำการเกษตรเลย ก็ทำให้นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานได้ว่า อารยธรรมทำภาพนี้ขึ้นน่าจะใช้ชีวิตอยู่กับการล่าสัตว์และเก็บของป่าเป็นหลัก

 

 

อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจของภาพดังกล่าวอยู่คือการมีสัตว์ ซึ่งไม่น่าจะมีอยู่ในพื้นที่อินเดียในอดีตอย่างแรดอยู่ด้วย ซึ่งนำไปสู่แนวคิดสองแบบ

แนวคิดที่ว่าประกอบไปด้วยหินก้อนดังกล่าวอาจจะถูกเคลื่อนย้ายมาจากที่อยู่เดิม หรือไม่ก็ในสมัยก่อนในอินเดียเคยมีแรดมาก่อน

 

 

แม้ว่าการค้นพบในครั้งนี้อาจจะทำให้เกิดคำถามมากมายกว่าคำตอบ แต่ก็ทำให้เหล่านักโบราณคดีทราบว่าที่อินเดียอาจจะเคยมีอารยธรรมเก่าแก่ซ่อนอยู่มากกว่าที่คิดก็เป็นได้

และจากสถานที่ที่มีการพบภาพในครั้งนี้ ยังทำให้พวกเขาเชื่ออีกว่าจะมีการพบภาพแบบนี้จากสมัยก่อนในอนาคตอันใกล้อีกเป็นจำนวนมาก

 

 

ที่มา allthatsinteresting, ancient-originssmithsonianmag

Comments

Leave a Reply