23 ภาพอาวุธและเทคโนโลยีที่มีการใช้งานในช่วง “สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง”

สงครามโลกครั้งที่หนึ่งมีชื่อเรียกอยู่หลายอย่างทั้ง “มหาสงคราม” และ “สงครามที่จะจบสงครามทั้งหมด” นี่เป็นสงครามที่แต่ละประเทศขนเอาเทคโนโลยีทางทหารทั้งหมดของตัวเองมาสาดใส่กัน เกิดเป็นสงครามที่มีการสูญเสียชีวิตมากที่สุดครั้งหนึ่งเลยก็ไม่ผิดนัก

แต่ถึงแม้ว่านี่จะเป็นสงครามที่เต็มไปด้วยความสูญเสีย แต่เทคโนโลยีที่ปรากฏขึ้นมาในสงครามครั้งนี้ก็เป็นต้นแบบของเทคโนโลยีมากมายในอนาคตเช่นกัน ดังเช่นเทคโนโลยีในภาพต่อไปนี้

 

เริ่มกันที่ภาพทหารอเมริกากำลังให้เครื่องตรวจจับเสียง เพื่อหาว่าจะมีเครื่องบินฝ่ายศัตรูบินผ่านมาไหม

 

รถไฟหุ้มเกราะของออสเตรียในแคว้นกาลิเซีย ประเทศสเปน 1915

 

ด้านในของรถไฟหุ้มเกาะเมื่อปี 1918 ภาพนี้ถ่ายจากที่ยูเครน

 

การใช้จักรยานปั่นไฟโดยหน่อยสื่อสารเยอรมัน กันยายน 1917

 

นายทหารบนรถจักรยานยนต์ฮาร์เลย์ 1918

 

รถถัง Medium Mark A Whippet ของอังกฤษซึ่งออกแบบมาให้มีความคล่องตัวกว่ารถถังรุ่นก่อนๆ 22 สิงหาคม 1918

 

กระสุนปืนของ 38 cm SK L/45 ปืนใหญ่ติดรางรถไฟของเยอรมัน ซึ่งเดิมทีออกแบบมาเพื่อติดตั้งบนเรือรบ จากปี 1918

 

ทหารเยอรมันที่ใส่หน้ากากกันแก๊สและหมวกเหล็กที่มีการเสริมแผ่นเหล็กอีกชั้น

 

จุดสังเกตการณ์ของอังกฤษที่ได้รับการตกแต่งให้เหมือนต้นไม้เพื่อตบตาศัตรู

 

กองทัพตุรกีใช้เครื่องมือสื่อสารแบบใหม่ที่ใช้แสงอาทิตย์เป็นสื่อกลาง

 

พาหนะที่ออกแบบโดยทางกาชาด ออกแบบมาเพื่อขนย้ายคนเจ็บระหว่างสนามเพลาะ

 

จรวดส่งสัญญาณของฝั่งสหรัฐฯ ในเสี้ยววินาทีที่มีการปล่อยออกไป

 

เครื่องขุดสนามเพลาะของเยอรมัน 8 มกราคม 1918

 

ทหารเยอรมันกับโทรศัพท์ที่ใช้ในสนามรบ

 

รถถัง A7V ของเยอรมัน เชื่อกันว่าผลิตออกมาไม่ถึง 100 คันด้วยซ้ำ

 

ซากม้าปลอม หนึ่งในอุปกรณ์อำพรางของพลซุ่มยิงในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

 

สาวๆ ทำงานในโรงเชื่อมเครื่องยนต์ ในรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา เมื่อปี 1918

 

การต่อสู้ของปืนพ่นไฟและรถถังในปี 1918

 

ซากรถถังที่ถูกทอดทิ้งในเบลเยียม 1918

 

หน้ากากกันพิษที่ใช้ในแคว้นเมซอพอเทเมีย 1918

 

ปืน 37 มิลลิเมตรของฝรั่งเศส ถูกใช้งานโดยทหารสหรัฐฯ ที่แคว้นอาลซัส ประเทศฝรั่งเศส ในปี 1918

 

ทหารสหรัฐฯ นั่งอยู่บนรถถัง Renault FT-17 ที่ผลิตโดยฝรั่งเศส 26 กันยายน 1918

 

และชุดนักบินของเยอรมนีที่มีการติดตั้งระบบทำความร้อนด้วยไฟฟ้าเนื่องจากค็อกพิทเป็นแบบเปิด

 

ที่มา rarehistoricalphotos

Comments

Leave a Reply