ย้อนยุคโฆษณาช่วง 1930 เคยมีการเอาแพทย์เป็นพรีเซ็นเตอร์ “บุหรี่ดีต่อสุขภาพ”

ในปัจจุบันงานวิจัยจำนวนมากได้ออกมาชี้ให้เราเห็นถึงอันตรายของการสูบบุหรี่กันอย่างต่อเนื่อง จนไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ในหลายๆ ที่จะมีการตั้งเขตห้ามสูบบุหรี่กันขึ้นมาอย่างจริงจัง

แต่เชื่อกันไหมว่าในสมัยก่อนนั้น ไม่เพียงแต่โลกจะยังไม่มีการค้นพบความเกี่ยวข้องของบุหรี่กับโรคปอดบวมและมะเร็งเท่านั้น แต่บริษัทผลิตบุหรี่จำนวนมากในสมัยนั้น ยังใช้แพทย์มาช่วยโฆษณาบุหรี่อีกด้วย

 

 

นี่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในช่วงยุค 1930-1940 ที่คนยังไม่รู้กันว่าบุหรี่มีความเกี่ยวข้องกับโรคร้าย นั่นทำให้บริษัทผลิตบุหรี่หลายๆ ที่แข่งใช้ความน่าเชื่อถือของแพทย์มาโฆษณา เพื่อให้บุหรี่ของตัวเองขายดีขึ้นสักนิด

นี่เป็นการแข่งกันเพื่ออ้างว่าบุหรี่ของตัวเองสร้างความ “ระคายเคืองในลำคอ” น้อยกว่ายี่ห้ออื่นๆ  เนื่องจากในสมัยนั้น ปัญหาใหญ่ของการสูบบุหรี่ไม่ได้อยู่ที่โรคมะเร็ง หรือถุงลมโป่งพอง แต่เป็นการระคายเคืองต่างหาก

 

 

บริษัทแรกที่นำแพทย์มาให้อ้างอิงในโฆษณาคือบริษัท American Tobacco ผู้เป็นเจ้าของบุหรี่ Lucky Strikes โดยมีการอ้างว่า แพทย์กว่า 20,679 รายบอกว่าบุหรี่ “Lucky ระคายเคืองคอน้อยกว่า” ในปี 1930 แถมนี่ยังเป็นตัวเลขที่มีการสำรวจมาจริงๆ ทำให้มีความน่าเชื่อถือมากกว่าการบอกว่า “หลายๆ คนชอบ” เหมือนที่ผ่านๆ มาอีกด้วย

การกระทำในครั้งนี้นำไปสู่การต่อสู้ด้วยโฆษณาทางการแพทย์ของบริษัทบุหรี่หลายๆ เจ้าในทันที จนกระทั่งหนึ่งในบริษัทบุหรี่ Philip Morris ถึงกับออกมาบอกว่าบุหรี่ของตัวเอง “รักษา” อาการระคายเคืองในคอได้เลยด้วย

 

 

นั่นทำให้ในช่วงยุค 40 มีจำนวนคนสูบบุหรี่จนเป็นโรคถุงลมโป่งพองเพิ่มขึ้นมาก แต่แม้คนจะเริ่มรู้สึกถึงอัตราการเป็นโรคถุงลมโป่งพองกันมากขึ้น แต่ก็ใช้ว่าพวกเขาจะรู้ว่ามันมาจากบุหรี่อยู่ดี

แต่แล้วในช่วงกลางยุค 50 ก็มีงานวิจัยที่ออกมาบอกว่าบุหรี่ทำให้เกิดมะเร็งออกมาจนได้ การโฆษณาบุหรี่จึงเริ่มเปลี่ยนไปอีกครั้ง โดยในครั้งนี้เป็นการ “ช่วยกัน” ของบริษัทบุหรี่เพื่อโน้มน้าวคนว่างานวิจัยเกิดกับบุหรี่และโรคมะเร็งนั้นยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดนั่นเอง และในบางครั้งก็ยังมีการใช้แพทย์มาอ้างอีกด้วย

 

 

ปัญหาคือแผนการในครั้งนี้ไม่ได้ดีอย่างที่คิด เพราะต่อมาหลักฐานของงานวิจัยก็มากขึ้นเรื่อยๆ จนมีแพทย์หลายกลุ่มเริ่มออกมาต่อต้านบุหรี่ และการใช้แพทย์มาโฆษณาบุหรี่ก็ต้องจบลงไปแต่เพียงเท่านี้นี่เอง

 

ที่มา history

Comments

Leave a Reply