เมื่อพูดถึงเรือเหาะขนาดใหญ่บนโลกแห่งความจริง ชื่อว่าบางคนอาจจะนึกถึงโศกนาฏกรรมของเรือเหาะฮินเดนเบิร์กขึ้นมา
นี่เป็นโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคมปี 1937 กับเรือเหาะ LZ 129 ฮินเดนเบิร์ก เรือเหาะที่ได้ชื่อว่าใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาของเยอรมนี ผลิตโดยบริษัท Zeppelin ซึ่งจู่ๆ ก็เกิดติดไฟขึ้นกลางอากาศและเป็นสาเหตุให้การสร้างเรือเหาะของโลกต้องยุติลงไปช่วงหนึ่งเลย
สาเหตุของโศกนาฏกรรมในครั้งนั้นถูกสันนิษฐานไว้หลายแบบ แต่ทฤษฎีที่ได้รับการเชื่อถือมากที่สุดได้แก่การที่ไฮโดรเจนเกิดรั่วไหลทำให้เกิดการลุกไหม้ของไฟ และก่อให้เกิดประกายไฟฟ้าในอากาศ
ด้วยเหตุนี้เอง ในวันนี้เราจะไปชมภาพของเรือ LZ 129 ฮินเดนเบิร์กกัน มาดูกันดีกว่าว่าก่อน ระหว่าง และหลังโศกนาฏกรรมปี 1937 เรือเหาะลำนี้มีหน้าตาแบบไหนกันนะ
การตรวจสอบครั้งสุดท้ายของฮินเดนเบิร์กก่อนนำออกปฏิบัติการ
โครงสร้างของ LZ 129 สมัยที่ยังไม่มีชื่อในเมือง Friedrichshafen ประเทศเยอรมนี
การปฏิบัติการนำน้ำไปรดพื้นที่ในเมือง Lakehurst รัฐนิวเจอร์ซีย์ 9 พฤษภาคม 1936
เหล่าผู้คนและลูกเรือภาคพื้นดินกำลังล้อมรอบฮินเดนเบิร์กก่อนออกบินเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 1936
ภายในห้องทานอาหารของเรือเหาะฮินเดนเบิร์ก
ผู้โดยสารในห้องอาหารบนฮินเดนเบิร์ก เดือนเมษายนปี 1936
ฮินเดนเบิร์ก บินผ่านบอสตัน 1936
เครื่องบินลาดตระเวนของสหรัฐฯ นำทางให้ฮินเดนเบิร์กร่อนลงที่รัฐนิวเจอร์ซีย์ 1936
ฮินเดนเบิร์กในรัฐนิวเจอร์ซีย์ 1936 จะสังเกตเห็นตราโอลิมปิกและสัญลักษณ์สวัสติกะที่ข้างเครื่อง
ฮินเดนเบิร์กขณะถูกเคลื่อนเข้าไปยังโรงซ่อมบำรุง 9 พฤษภาคม 1936
ฮินเดนเบิร์กขณะถูกเคลื่อนเข้าไปยังโรงซ่อมบำรุง ภาพถ่ายจากในโรงซ่อมบำรุง
ฮินเดนเบิร์กขณะลอยอยู่เหนือพื้นที่สถานีกองทัพเรือสหรัฐใน รัฐนิวเจอร์ซีย์
ฮินเดนเบิร์กขณะลอยผ่านตึกเอ็มไพร์สเตทในแมนฮัตตันเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1936
ภาพห้องครัวบนฮินเดนเบิร์ก
หน้าต่างภายในเลานจ์ของฮินเดนเบิร์กออกแบบมาเพื่อให้ผู้โดยสารสามารถมองลงไปด้านล่างได้
ฮินเดนเบิร์กลอยตัวเหนือเกาะแมนฮัตตันในนิวยอร์ก 6 พฤษภาคม 1937
ภาพสุดท้ายของฮินเดนเบิร์กก่อนเกิดหายนะขึ้น 6 พฤษภาคม 1937
ฮินเดนเบิร์กขณะติดไฟ เมื่อเวลาราว 7:25 p.m. ตามเวลาในท้องถิ่นที่นิวเจอร์ซี 6 พฤษภาคม 1937
หลังจากเกิดไฟลุก ตัวเรือเหาะก็เกิดระเบิดอีกหลายครั้ง ก่อนที่จะดิ่งลงกับพื้น
ลูกเรือบนพื้นกระจายกันออกไปเพื่อหนีซากของฮินเดนเบิร์กที่กำลังจะหล่นลงมา
เหล่าผู้รอดชีวิตหนีออกจากตัวเรือเหาะท่ามกลางเปลวเพลิง
ซากของฮินเดนเบิร์กหลังเกิดเหตุไม่นาน
เหล่าผู้รอดชีวิตถูกพาตัวออกจากที่เกิดเหตุ 6 พฤษภาคม 1937
การตรวจสอบซากของฮินเดนเบิร์กในวันที่ 8 พฤษภาคม 1937
การตรวจสอบสัมภาระที่พบในฮินเดนเบิร์ก 6 พฤษภาคม 1937
ชายสองคนตรวจสอบสิ่งที่เหลืออยู่ของฮินเดนเบิร์ก พฤษภาคม 1937
งานศพของชาวเยอรมันที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ฮินเดนเบิร์ก 11 พฤษภาคม 1937
การทำความเคารพในงานศพของทหาร 11 พฤษภาคม 1937
การรวมตัวถ่ายรูปของผู้รอดชีวิตจากโศกนาฏกรรมของเรือเหาะฮินเดนเบิร์ก 7 พฤษภาคม 1937
ภาพมุมสูงของที่เกิดเหตุ 7 พฤษภาคม 1937
ที่มา rarehistoricalphotos
Advertisement