เปิดตำนานแห่ง “ชาวไวกิ้ง” นักรบแห่งสแกนดิเนเวีย ซึ่งอาจไม่ได้เป็นอย่างที่คุณคิด

สำหรับหลายๆ คน ภาพลักษณ์ของชาวไวกิ้งคงจะเป็นกลุ่มชายร่างยักษ์ใส่หมวกเหล็กมีเขา เปลือยกายท่อนบน และใช้ขวานใหญ่เป็นอาวุธสังหารคนปล้นสะดม

ว่าแต่เชื่อหรือไม่ว่าแท้จริงแล้วชาวไวกิ้งแทบจะไม่ได้เป็นเช่นนั้นเคย เพราะพวกเขามีวัฒนธรรมมากกว่านั้นเยอะ

 

 

“ชาวไวกิ้ง” เป็นกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตอยู่กับท้องทะเลในช่วง “ยุคไวกิ้ง” (ศตวรรษที่ 9-11) มีชื่อเรียกมาจากภาษาสแกนดิเนเวียน “Vikingr” ที่แปลว่า “โจรสลัด” อย่างไรก็ตาม คำว่าไวกิ้งมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า “การเดินเรือ” เสียมากกว่า แถมเดิมทีแล้วคำว่าจัดเป็นคำกริยาอีกด้วย

แม้ว่าจะมีชื่อเสียงในการปล้นสะดมและเรื่องป่าเถื่อน แต่จริงๆ แล้วชาวไวกิ้งออกเดินเรือเพื่อทำการค้าขายทางน้ำ ค้นหาดินแดนใหม่ๆ มากกว่า นอกจากนี้พวกเขายังมีการปลูกพืช ทำปศุสัตว์เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ แถมยังมีหลักฐานการใช้หวี ช้อน และรักในการรักษาความสะอาด หรือแม้กระทั่งกฎหมาย เรียกได้ว่ามีอารยธรรมสูงเลยด้วยซ้ำ

 

 

นอกจากนี้ชาวไวกิ้งยังไม่ได้ตัวใหญ่อย่างที่คิดเสมอไป เพราะแถวๆ สแกนดิเนเวียมีฤดูร้อนสั้น ทำให้การปลูกพืชทำได้อย่างจำกัด จนมีชาวสแกนดิเนเวียนจำนวนมากเหมือนกันที่ตัวเล็กจากการขาดอาหาร

 

 

อีกทั้งจากลักษณะภูมิประเทศก็ทำให้ชาวไวกิ้งมักจะอาศัยกันเป็นกลุ่มๆ ดังนั้นการรวมพลจำนวนมากจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก ทำให้แท้จริงแล้วคนไวกิ้งไม่ได้เหมาะสมกับสงครามอย่างที่หลายๆ คนคิด

ที่สำคัญหมวกเกราะของชาวไวกิ้งไม่ได้ประดับเขาเสมอไป หมวกเกราะจริงๆ ของชาวไวกิ้งมักจะมาในรูปแบบหมวกหนัง หรือหมวกเหล็กธรรมดาติดเกราะโซ่ถัก  ส่วนการที่ชาวไวกิ้งใส่หมวกเกราะมีเขานั้น แท้จริงแล้วมาจากความคิดของคนสมัยวิกตอเรียเสียส่วนใหญ่

 

 

เป็นไปได้ว่าภาพลักษณ์ที่ไม่ดีของชาวไวกิ้งจะมาจากการโฆษณาชวนเชื่อของทางคาทอลิกในช่วงศตวรรษที่ 19-20 จากความโกรธแค้นที่การปล้นสะดมทำให้สมบัติและวัตถุโบราณหายไป

จริงอยู่ที่การออกปล้นสะดมของชาวไวกิ้งจะมีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ แต่นั่นก็ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชาวไวกิ้ง เพราะแท้จริงแล้วพวกเขาเป็นเหล่าผู้คนที่ต่อสู้เอาชีวิตรอดกับสภาพอากาศที่เลวร้ายของสแกนดิเนเวียมาได้อย่างยาวนาน และสามารถเดินทางระยะไกลข้ามน้ำข้ามทะเลได้จนมีชื่อเสียงมาจนถึงปัจจุบันนั่นเอง

 

 

นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่าพวกเขาเอาแมวขึ้นเรือไปด้วยนะเออ

 

ที่มา livesciencehistoryonthenet

Comments

Leave a Reply