วิจัยชิ้นใหม่ชี้ นอนหลับไม่เพียงพอ-อดนอน ส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด!!

สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต่างจะต้องใช้เวลาส่วนหนึ่งไปกับการนอนหลับ เนื่องจากเป็นกลไกตามธรรมชาติในการพักผ่อนร่างกาย ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในช่วงเวลาดังกล่าว และจะตื่นขึ้นอีกครั้งเพื่อใช้ชีวิตในวันต่อๆ ไป

แต่ในรูปแบบการใช้ชีวิตของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน หน้าที่การทำงานและตัวอย่างจากบุคคลอัจฉริยะที่มักจะทำตัวให้ยุ่งอยู่ตลอด เวลาในการนอนต่อวันในจำนวนที่น้อยกว่าคนทั่วไป นั่นเป็นเพียงแค่ส่วนน้อยที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวบุคคล…

 

 

เมื่อช่วงวันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม ที่ผ่านมา ในงานประชุมแถลงข่าว ESC Congress 2018 ของกลุ่มนักวิจัยโรคหัวใจและหลอดเลือดแห่งยุโรป

เผยผลการวิจัยและศึกษาหลายชิ้นว่า การนอนหลับที่น้อยหรือมากเกินไป มีส่วนเพิ่มความเสี่ยงในโรคกลุ่มนี้ เช่น หลอดเลือดแข็งตัว หัวใจวาย ภาวะหัวใจล้มเหลว และอื่นๆ

ทีมนักวิจัยได้ทำการศึกษาค้นคว้า 11 ชิ้นผลงานที่มีผู้เข้าร่วมเป็นกรณีศึกษากว่า 1 ล้านราย และผลลัพธ์ที่ได้ออกมาก็เพื่อที่จะหาจำนวนชั่วโมงที่พอเหมาะสำหรับการนอนของมนุษย์

 

 

จะเกิดอะไรขึ้นหากคุณนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ?

ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นกับแต่ละบุคคลนั้นอาจแตกต่างกันไป นักวิจัยด้านการนอนหลับมักจะกล่าวว่า คนทั่วไปควรนอนหลับ 7 – 9 ชั่วโมงต่อคืน เป็นจำนวนชั่วโมงที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและสมอง ลดอัตราเสี่ยงต่อโรคมะเร็งและการเสียชีวิต

แต่เมื่อพูดถึงในเรื่องของโรคหัวใจและหลอดเลือด ทีมนักวิจัยได้วิเคราะห์ออกมาแล้วว่าจำนวนที่จะลดความเสี่ยงได้คือ 6 – 8 ชั่วโมงต่อคืน หากนอนน้อยกว่านั้นจะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด 11% ภายในระยะเวลาประมาณ 9.3 ปี ถ้าจำนวนชั่วโมงนอนน้อยกว่านั้นอีกจะเพิ่มความเสี่ยงมากถึง 33%

 

 

นอกจากนี้ผลการวิจัยอีกชิ้น ที่สรุปโดยทีมนักวิทยาศาตร์ทางด้านหลอดเลือด ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับอาสาสมัครสวมใส่สายรัดเอวเพื่อเก็บข้อมูลการนอนหลับ

ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาสรุปได้ว่า บุคคลที่นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อคืน หรือตื่นระหว่างช่วงเวลานอนหลับบ่อยๆ จะมีอัตราเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัวถึง 27% และจะนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวได้

 

ผู้ที่นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงจะมีปัญหาทางด้านหลอดเลือดมากกว่ากลุ่มอื่นๆ

 

นอกจากนี้ยังมีรายงานอีกชิ้นหนึ่ง ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่ากลุ่มชายชาวสวีเดน 798 คน ที่เคยให้ข้อมูลจำนวนชั่วโมงในการนอนหลับจากผลสำรวจในปี 1993

จนกระทั่งพวกเขาอายุครบ 50 ปี เป็นช่วงเวลา 20 ปีต่อมา ชายที่นอนหลับน้อยกว่า 5 ชั่วโมงต่อคืน มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเหลืออย่างรุนแรงเป็นสองเท่า เมื่อเปรียบเทียบกับผลข้างเคียงจากการสูบบุหรี่หรือโรคเบาหวาน

อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาค้นคว้าวิจัยชิ้นใหม่เหล่านี้ เป็นเพียงแค่ผลกระทบที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ไม่ได้เป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดกลุ่มโรคดังกล่าว แต่พฤติกรรมการนอนน้อยก็คือส่วนหนึ่ง ที่ทำให้กระบวนการทางกายภาพเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ

 

ที่มา: businessinsider, eurekalert, eurekalert , eurekalert


Posted

in

by

Tags:

Comments

Leave a Reply