งานวิจัยล่าสุดเผย มัมมี่เกิดขึ้นมานานกว่าที่เราเคยรู้ 1,500 ปี แถมเก่าแก่กว่าภาษาเขียนเสียอีก

เมื่อพูดถึงมัมมี่ไม่ว่าใครก็คงจะคิดขึ้นฟาโรห์แห่งอียิปต์เป็นอย่างแรก เพราะความยิ่งใหญ่ของตำแหน่ง บวกกับสื่อต่างๆ ที่ออกมาให้เราเห็นกันบ่อยๆ

 

 

แต่ในความเป็นจริงแล้วมัมมี่ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นมาเพื่อฟาโรห์เท่านั้น แถมจากการค้นพบล่าสุดนี้เอง ก็ทำให้เราทราบว่ามัมมี่ถือกำเนิดมานานกว่าที่พวกเราคิดไว้ อย่างน้อยๆ ก็ 1,500 ปีเลยทีเดียว

นี่คือการค้นพบการจากวิจัยมัมมี่ของร่างหนึ่ง ที่มีการขุดพบเมื่อปี 1901 และนำไปเก็บไว้ยังพิพิธภัณฑ์อียิปต์เมืองตูริน ประเทศอิตาลี โดยเป็นร่างของชาวอียิปต์ที่นอนคุดคู้อยู่ในหลุมทราย พร้อมกับอุปกรณ์ที่ใช้ทำพิธีศพหลากหลายชนิด

 

 

นี่เป็นมัมมี่ที่ดูเผินๆ จะไม่เหมือนกับมัมมี่ที่เราคุ้นเคยสักเท่าไหร่ ทำให้เหล่านักโบราณคดีเคยเชื่อกันว่า มัมมี่ร่างนี้ได้รับการรักษาสภาพไว้ด้วยสภาพของทะเลทรายเท่านั้น ไม่ใช่การทำมัมมี่ด้วยมือคนแต่อย่างใด

แต่หลังจากการตรวจสอบศพครั้งล่าสุดนี้เอง กลับมีการพบว่ามัมมี่ร่างนี้มีการใช้ยาดองศพ ซึ่งเป็นอันเดียวกับที่มีการใช้ในช่วงที่มีมัมมี่ถูกขุดพบมากที่สุด ทำให้มัมมี่ร่างนี้จัดเป็นมัมมี่ที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยมีการขุดพบของอียิปต์ และอาจมีอายุมากกว่า 5,000-6,000 ปี

 

 

นั่นหมายความว่าการทำมัมมี่นั้นมีมาตั้งแต่ในช่วง 3700-3500 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งถือว่านานกว่าที่เคยมีการคาดไว้มาก เก่าแก่เสียยิ่งกว่าภาษาเขียนอันแรกที่มีการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เสียอีก (หลักฐานการมีตัวตนของภาษาเขียนที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ในช่วง 3,400 ปีก่อนคริสตกาล)

โดยเหล่านักโบราณคดีจึงชื่อกันว่าวิธีการทำมัมมี่น่าจะมีการสอนสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นผ่านการสอนปากเปล่า และถูกใช้อย่างต่อเนื่องมานานกว่า 2,500 ปี ในแทบทุกพื้นที่ของประเทศอียิปต์โบราณเลยทีเดียว

 

 

“พวกเขามีความเชื่อมั่นในชีวิตหลังความตาย พวกเขาจึงต้องการให้ร่างกายของพวกเขาถูกเก็บรักษาไว้ให้นานที่สุด” เจน่า โจนส์นักวิจัยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สมัยโบราณแห่งมหาวิทยาลัย Macquarie ในนครซิดนีย์ ออสเตรเลียกล่าว

“นั่นทำให้พวกเขามีความรู้วิทยาศาสตร์มากมายเลย ที่ใช้ในการเก็บรักษาศพ”

 

ที่มา foxnews และ livescience

Comments

Leave a Reply