หน่วยวัด “เซลเซียส” “ฟาเรนไฮต์” และ “เคลวิน” ความแตกต่างนี้มีที่มา หาใช่เพียงตัวเลข

พูดถึงหน่วยวัดอุณหภูมิเชื่อว่านี่เป็นเรื่องที่ไม่ว่าใครก็รู้จัก มันคือหน่วยที่ให้วัดความร้อนความเย็นของอาการในพื้นที่ต่างๆ และในแต่ล่ะประเทศก็อาจจะให้หน่วยวัดอุณหภูมิที่แตกต่างกันไป มีอยู่หลักๆ สามแบบได้แก่หน่วย องศาเซลเซียส องศาฟาเรนไฮต์ และเคลวิน

ว่าแต่เพื่อนๆ เคยสงสัยกันหรือไม่ว่าทำไมเราถึงเรียกชื่อหน่วยวัดอุณหภูมิแบบในปัจจุบัน และความแตกต่างของตัวเลขของหน่วยวัดอุณหภูมินั้นมันมาจากไหน?

 

ฟาเรนไฮต์

หน่วยวัดอุณหภูมิอันนี้ถูกตั้งชื่อตามนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน “กาเบรียล ฟาเรนไฮต์” โดยเป็นหน่วยวัดอุณหภูมิอันแรกที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย โดยเชื่อกันว่า 0 องศาฟาเรนไฮต์เป็นอุณหภูมิของน้ำที่ผสมกับเกลือ และน้ำแข็งในปริมาณเท่าๆ กัน

แต่ในความเป็นจริงแล้วองศาฟาเรนไฮต์มีที่มามากกว่านั้น เพราะในอดีตฟาเรนไฮต์ได้พบกับนักดาราศาสตร์คนหนึ่งซึ่งมีชื่อว่าโรเมอร์ และได้ทราบว่าโรเมอร์เลือกที่จะตั้งอุณหภูมิที่น้ำเดือดบนเทอร์โมมิเตอร์ของเขาให้เป็นเลข 60 เพราะความเคยชินของหลักการคำนวณเวลา นั่นทำให้จุดเยือกแข็งของน้ำอยู่ที่ 7.5 องศานั่นเอง

ต่อมากาเบรียล ฟาเรนไฮต์ได้นำระบบของโรเมอร์มาปรับใช้ ด้วยการปัดตัวเลขที่เป็นทศนิยมขึ้นก่อนจะคูณด้วย 4 จนทำให้ออกมาเป็นหน่วยวัดอุณหภูมิที่มีจุดเยือกแข็งอยู่ที่ 32 องศาอย่างในปัจจุบันนี่เอง

 

เซลเซียส

องศาเซลเซียสเป็นหน่วยวัดอุณหภูมิที่ตั้งตามชื่อของนาย แอนเดอร์ เซลเซียส นักดาราศาสตร์ชาวสวีเดนที่เสนอระบบที่ใกล้เคียงกับระบบนี้ในปี 1742 โดยระบบองศาเซลเซียสกำหนดให้จุดเยือกแข็งของน้ำอยู่ที่ 0 องศา และจุดเดือดอยู่ที่ 100 ซึ่งนับว่าง่ายกว่าระบบฟาเรนไฮต์มาก

ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่องศาเซลเซียสจะกลายเป็นหน่วยวัดอุณหภูมิที่มีคนนิยมใช้งานกันมากที่สุดไป

 

เคลวิน

เคลวินเป็นหน่วยวัดอุณหภูมิที่แตกต่างกับหน่วยอื่นๆ อยู่มาก โดยเป็นการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นักฟิสิกส์และวิศวกรชาวอังกฤษ “วิลเลียม ทอมสัน” มียศเป็นบารอนที่หนึ่งแห่ง เคลวิน ซึ่งเป็นชื่อแม่น้ำเคลวินในสกอตแลนด์

หน่วยเคลวินจะไม่มีการใช้คำว่า “องศา” โดยมีการตั้งอุณหภูมิ 0 เคลวินให้ตรงกับอุณหภูมิที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้หรือที่เรียกว่า “ศูนย์สัมบูรณ์” (Absolute zero) ซึ่งจะเท่ากับ -273.15 องศาเซลเซียส และ -459.67 องศาฟาเรนไฮต์ นั่นเอง

 

ที่มา livescienceVeritasium และ 9engineer


Posted

in

by

Tags:

Comments

Leave a Reply