ภาพแกะสลักของ “จักรยาน” ที่เราเห็นในปัจจุบัน ถูกพบในวัดอันเก่าแก่ อายุกว่า 2,000 ปี?!

จักรยาน คือพาหนะชนิดหนึ่งที่พวกเราในยุคนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก โดยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้เคยบอกเอาไว้ว่า จักรยานแบบมีโซ่ที่เราเห็นกันอยู่ทั่วไปในปัจจุบันนั้น ถูกคิดค้นมาตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 1885

แต่ล่าสุดนาย Praveen Mohan นักท่องเที่ยวผู้มีช่องยูทูบเป็นของตัวเอง เขาได้บังเอิญไปเจอเข้ากับรูปสลักหนึ่งที่เหมือนกับจักรยานเอามากๆ บริเวณเสาหินของวัดอันเก่าแก่ในประเทศอินเดีย ที่มีอายุมากว่า 2,000 ปี

 

ภาพแกะสลักที่ดูเหมือนคนกำลังขี่จักรยาน ภายในถ้ำอันเก่าแก่

 

เขาได้แชร์เรื่องราวการค้นพบในครั้งนี้ โดยเล่าว่ามันคือภาพแกะสลักเสาหินที่ซ่อนอยู่ในมุมมืดของวัด Panchavarnaswamy

จากข้อมูลบอกว่าวัดดังกล่าวมีอายุมากว่า 2,000 ปี โดยในประวัติศาสตร์บอกว่าวัดแห่งนี้เป็นที่เคารพนับถือของผู้คนในประเทศอินเดีย นับตั้งแต่มีผู้ค้นพบในช่วงยุค ราชวงศ์โจฬะ (ราวๆ คริสต์ศตวรรษที่ 7)

 

Panchavarnaswamy

 

เราจะเห็นได้ว่าภาพแกะสลักนั้นเป็นเหมือนกับชายคนหนึ่งกำลังขี่สิ่งที่มีโครงสร้างเหมือนกับจักรยานเอามากๆ มีทั้งแฮนด์ เบาะนั่ง และล้อหน้า-หลัง

ด้วยเหตุนี้เองมันจึงเกิดเป็นคำถามว่า “จักรยานที่ถูกคิดค้นแค่ในช่วง 200 ปีก่อน มาโผล่ในสถาปัตยกรรมอันเก่าแก่ อายุกว่า 2,000 ปีนี้ได้อย่างไร?” หรือว่าประเทศอินเดียอาจมีจักรยานใช้มานานมากแล้วหรือเปล่า?

 

 

และภาพแกะสลักนี้ก็ไม่ได้ถูกค้นพบเป็นครั้งแรก เพราะดอกเตอร์ R Kalaikovan นักประวัติศาสตร์และจักษุแพทย์ เคยบอกเอาไว้ในนิตยสาร The Hindu เมื่อปี 2015 ว่า…

“ทั้งเจ้าหน้าที่และนักวิชาการผู้เกี่ยวข้องกับการเขียนประวัติศาสตร์ ไม่สามารถอธิบายได้ว่าการแกะสลักที่เราเห็นนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร”

แต่จากการวิจัยของเขาก็พบว่าวัดแห่งนี้เคยถูกบูรณะในช่วงปี 1920s ซึ่งจักรยานได้รับความนิยมในวงกว้าง จนอาจทำให้ช่างแกะสลักบางคนมาบันทึกมันเอาไว้บนเสาหินแห่งนี้ในเวลานั้น

 

คลิปการค้นพบของนาย Praveen

 

อย่างไรก็ตาม ภาพแกะสลักที่ดูเหมือนกับจักรยานนี้ก็ยังคงไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนว่า แท้จริงแล้วมันเกิดขึ้นมาในช่วงยุคไหนกันแน่

 

ที่มา: mirror , thehindu

Comments

Leave a Reply