กราฟิกสาวเมกันใช้ภาพดังสมัยก่อน สร้างภาพสถานที่ขึ้นใหม่ สะท้อนจินตนาการสุดล้ำ

เคยสงสัยไหมว่าถ้าสามารถเข้าไปอยู่ในงานศิลปะเก่าๆ ได้จริงๆ สถานที่ที่เราเข้าไปนั้นจะมีรูปร่างอย่างไร ถ้าหากสถานที่เหล่านั้นไม่ได้ออกมาเป็นภาพวาด แต่เป็นสถานที่สามมิติที่มีอยู่จริง สิ่งที่เราได้เห็นจะเป็นสถานที่แบบไหนกันนะ

และนั่นเป็นเป้าหลายหลักของโปรเจกต์ RE-YMAGINED โดย Yulia Pidlubnyak นักคอมพิวเตอร์กราฟิกสาวจากนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

 

 

Yulia ให้คำจำกัดความงานของเธอไว้ว่า “ศิลปินทุกคนสร้างสไตล์ของตัวเองเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกของพวกเขาในความเป็นจริง ด้วยการกรองโลกผ่านปริซึมของวิสัยทัศน์ที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง

แต่สิ่งที่เขาเห็นจริงๆ มันเป็นอย่างไรกัน? Re-ymagined เป็นโครงการศิลปะที่นำเสนอความเป็นจริงของสภาพแวดล้อมของศิลปินก่อนที่จะเริ่มวาดภาพ เป็นการสะท้อน แสง พื้นผิว จังหวะ และรูปแบบทั้งหมดที่พวกเขาเห็นขึ้นมาใหม่

การแสดงผลเหล่านี้ถูกจำลองใน 3DS Max โดยใช้ปลั๊กอิน Forest pack และ VRay เป็นเครื่องมือเรนเดอร์ ตามด้วยการปรับภาพเล็กๆ น้อยๆ ใน Photoshop”

ว่าง่ายๆ คือ Yulia ต้องการที่จะสร้างภาพสามมิติของสิ่งที่เหล่าศิลปินเห็นจริงๆ ในระหว่างที่วาดภาพออกมา โดยที่ไร้ซึ่งองค์ประกอบภายนอกอย่างผู้คน และสิ่งเหล่านั้นก็สะท้อนออกมาในผลงานของเธอได้เป็นอย่างดี

 

American Gothic โดย Grant Wood

 

Chop Suey โดย Edward Hopper

 

Christina’s World โดย Andrew Wyeth

 

Empire Of Light โดย Rene Magritte

 

Nighthawks โดย Edward Hopper

 

Paris Street; Rainy Day โดย Gustave Caillebotte

 

The Dessert: Harmony In Red โดย Henri Matisse

 

และ Cafe Terrace At Night โดย Vincent Van Gogh

 

ถ้าเพื่อนๆ ชอบผลงานของเธอก็สามารถเข้าไปติดตามและดูผลงานอื่นๆ ของเธอ

ที่เว็บไซต์หลัก ymageworks ได้เลย

 

ที่มา boredpanda

Comments

Leave a Reply