ศิลปินใช้เวลา 3 เดือน สร้างเมืองแมนฮัตตันด้วย “วงจรคอมพิวเตอร์” ได้เหมือนเป๊ะๆ

การสร้างเมืองจำลองมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะว่าเราต้องย่อส่วนทุกๆ อย่างให้ได้ขนาดที่เล็กลงมากว่าเดิมหลายเท่า อีกทั้งยังต้องคงรายละเอียดต่างๆ ไว้เพื่อให้คนที่มาดูมองออกว่าที่นี่คือที่ไหน

Zayd Menk อีกหนึ่งศิลปินจากซิมบับเวได้ใช้เวลากว่า 3 เดือนในการสร้างโมเดลจำลองขนาด 0.0635:100 โดยใช้เขตแมนฮัตตัน ในนครนิวยอร์กเป็นต้นแบบ แต่จุดเด่นก็คือการใช้วงจรคอมพิวเตอร์เก่าในการสร้างนี่แหละ

ศิลปินวัย 17 ปีคนนี้เริ่มโปรเจกต์จากที่โรงเรียนโดยใช้แท่งกาวร้อนกว่า 263 แท่ง, มาเธอร์บอร์ด 27 อัน, CPUs 11 ชิ้น, CRT มาเธอร์บอร์ดของมอนิเตอร์ 10 ชิ้น, แรม 18 แท่ง, แบต 15 ก้อน, โทรศัพท์โนเกีย E ซีรีส์ 12 เครื่อง, พาเวอร์ซัพพลาย 7 ชิ้น, นาฬิกา 4 เรือน, การ์ดเสียง 4 ชิ้น, ฮาร์ดไดรฟ์ 3 ชิ้น, โทรศัพท์ 2 เครื่อง และอุปกรณ์อิเลกทรอนิกอื่ๆน อีกมากมาย

 

 

แต่ละชิ้นได้รวมกันมาเป็นตึกในแมนฮันตันที่อ้างอิงมาจากของจริง โดยที่เขาได้ทำการค้นคว้าข้อมูลมาจาก Google Maps, Wikipedia และ Reddit และคำนวนออกมาให้กลายเป็นสเกลที่เล็กลงมา

“ผมจำได้ว่าตึก Bank of America ผมใช้เวลาทำถึงสองวัน เพื่อรายละเอียดที่แตกต่างของแต่ละมุม” Zayd Menk เล่าถึงความยากในการสร้างเมืองแห่งนี้ขึ้นมา

 

 

เขาได้เห็นว่าของพวกนี้จะทิ้งไปก็เสียดาย เลยนำเอามาทำใหม่ให้มันดูมีประโยชน์มากขึ้น

 

เขาบอกว่างานศิลปะของเขานั้นเป็นเหมือนการ “รีไซเคิล” และอธิบายว่า “เป็นการสำรวจว่าขยะที่มนุษย์สร้างขึ้นสามารถเปลี่ยนเป็นงานศิลปะได้”

 

ชมความงดงามของเมืองและการสร้างของเขาได้ในคลิปนี้เลย

 

ที่มา odditycentral

Comments

Leave a Reply