ตำนานของชาวอารยัน ตัวตนที่แท้จริง กับการถูกลบเลือนหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์

หากพูดถึงชาว “อารยัน” แล้วล่ะก็ หลายท่านอาจะเคยได้ยินชื่อ แต่ก็อาจไม่ทราบว่าแท้จริงแล้วชาวอารยันเป็นใครกันแน่ เพราะปัจจุบันประวัติและจุดกำเนิดของชาวอารยันนั้นถูกบิดเบือนไปมากเหลือเกิน

ที่หลายคนเข้าใจก็คือ ชาวอารยันคือชนกลุ่มคนผิวขาว ผมสีอ่อน ตาสีฟ้า และเป็นชนที่อยู่บนวรรณะสูงของอินเดีย ความเชื่อนี้คาดว่าเป็นเพราะจักรวรรดินาซี ที่ได้แพร่ขยายความคิดนี้ออกไปเพื่อใช้เป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อ

 

 

มีเพียงช่วงศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 เท่านั้นที่ชาวอารยันมีความเท่าเทียบกันกับชาวเยอรมันและชาวนอร์ดิก และก่อนหน้าที่ความเข้าใจเกียวกับชาวอารยันจะถูกบิดเบือน คำว่า “อารยัน” ถูกกล่าวถึงว่าเป็นภาษาโบราณที่ได้เผยแพร่ออกสู่แผ่นดินย่อยของอินเดีย

 

 

อารยันที่แท้จริง

 

แรกเริ่มเดิมทีชาวอารยันเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีชีวิตอยู่ใน อิหร่าน ช่วงก่อนประวัติศาสตร์ และน่าจะอพยพเข้ามาสู่ตอนเหนือของอินเดียช่วง 1,500 ปีก่อนคริสตกาล

ชาวอินเดียในทวีปย่อยเรียกผู้ที่อพยพเข้ามาใหม่ว่า “อารยา” และคำว่า อารยัน หรือ “Aryan” นั้นไปคล้ายกับภาษาเปอร์เซีย “ērān” ที่หมายถึงประเทศอิหร่านอีกด้วย

ก่อนชาวอารยันอพยพเข้ามา อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุนั้นรุ่งเรืองมากในประเทศอินเดีย มีศาสนาเกิดขึ้นตั้งแต่ 5,500 ปีก่อนคริสตกาล มีการทำการเกษตรตั้งแต่ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และมีสังคมเมืองตั้งแต่ 2,500 ปีก่อนคริสตกาล และมีช่วงเวลาที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล

 

 

เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นเมื่อราวๆ 1,500 ปีก่อนคริสตกาล เหล่าคนเลี้ยงสัตว์จากเอเชียกลางได้อพยพข้ามเทือกเขาฮินดูกูชมาลงหลักปักฐานที่ลุ่มแม่น้ำสินธุ

พวกคนเลี้ยงสัตว์เหล่านี้คือชาวอารยัน ที่ถูกเชื่อว่าเป็นชาวมองโกลดั้งเดิมและเป็นผู้นำพาไปสู่การล่มสลายของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุแต่ทฤษฎีนนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน อย่างไรก็ดีเมื่อเวลาผ่านไปกลับดูเหมือนว่าชาวอารยันนี่เองที่เข้ามาเติมเต็มอารยธรรมที่สูญสลายไปของอินเดีย

 

 

หลักฐานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่าที่จริงแล้วชุมชนลุ่มแม่น้ำสินธุนั้นล่มสลายไปตั้งแต่ 1,800 ปีก่อนคริสกาลแล้วเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำ แต่ก็ยังมีบางคนแย้งว่าน่าจะเป็นเพราะแม่น้ำสุรัสวตีแห้งเหือด หรือแม้แต่บอกว่าเป็นเพราะอุทกภัยครั้งใหญ่

แต่ไม่ว่าจะมีสาเหตุจากอะไร ตำนานของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุนั้นได้ล่มสลายไป และหลังจากนั้นระบบเศรษฐกิจและระเบียบทางสังคมก็ได้แหลกสลายลงไปด้วย และในเวลาต่อมาไม่นานนั่นเอง “ชาวอารยัน” ก็เข้ามา และทำให้วิธีทำการเกษตร การปศุสัตว์ รวมไปถึงภาษาของพวกเขาก็รุ่งเรืองขึ้นเรื่อย ๆ

 

 

อาณาจักรอารยัน

 

มีหลักฐานปรากฏน้อยมากสำหรับลักษณะของอาณาจักรอารยัน เพราะมีเพียงการกล่าวถึงชาวอารยันเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในสมัยโบราณ

ศาสนาโซโรอัสเตอร์ นั้นเป็นสิ่งเดียวที่พอบอกเล่าเรื่องราวของอารยันได้บ้าง มีคำหนึ่งที่พบเจอก็คือ “Airyana Vaejah” ซึ่งแปลว่าแผ่นดินอารยันที่กว้างใหญ่ อันหมายถึงแผ่นดินบ้านเกิดของชาวอิหร่านที่ศาสนาโซโรอัสเตอร์เชื่อว่าเป็นจุดศูนย์กลางของโลก

 

 

อีกหลักฐานหนึ่งก็คือ กษัตริย์เปอร์เซีย Darius และ Xerxes ก็ถูกกล่าวว่าเป็นชาวอารยันที่มีพื้นเพมาจากเอเชียกลาง ขณะที่ศาสนาฮินดูอาจจะได้รับผลกระทบจากศาสนาโซโรอัสเตอร์ จึงทำให้เกิดคำว่า “Aryan” และ “Anarya” ขึ้นมาเพื่อแยกคนดีออกจากคนไม่ดี แต่ถึงแม้ชาวอารยันสมัยนั้นใช้ชีวิตด้วยศาสนาพุทธและฮินดู ก็ยังไม่มีหลักฐานถึงจุดเริ่มต้นของการแบ่งชั้นวรรณะ

 

 

ตำนานอารยันถูกบิดเบือน

 

ตำนานของชาวอารยันนั้นน่าจะเริ่มถูกบิดเบือนตั้งแต่ในมหากาพย์รามายณะของอินเดียที่ ทศกัณฐ์ ตัวละครตัวหนึ่งได้บอกว่าตนนั้นเป็น “อารยา” ซึ่งในตอนนั้นเชื่อว่าหมายถึงวรรณะสูงและมีเกียรติ

อย่างไรก็ตาม ใช่ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ชาวอารยันก็กลายเป็นเผ่าพันธุ์ที่เท่าเทียมกับผู้อื่นทั้งในด้านยศฐาบรรดาศักดิ์และความสูงส่ง

ครั้งหนึ่งคำเรียกชาวอินโดอิหร่านถูกเปลี่ยนไปใช้โดยชาวอินโดยุโรป เมื่อคิดดูแล้วชาวยุโรปโบราณที่อพยพมาจากทางเหนือได้เข้ายึดครองแผ่นดินทวีปยูเรเซีย (ยุโรปรวมกับเอเชีย) เอาไว้ทั้งหมด คนเหล่านั้นก็อาจจะเป็นชาวอารยันนั่นเอง

เมื่อมีสิ่งที่หาหลักฐานได้ยากและฟังดูสูงศักดิ์เช่นนั้นปรากฎขึ้นแล้ว จึงไม่แปลกเลยที่จะมีชาวเยอรมันออกมาประกาศตัวว่าเป็นลูกหลานของชาวอารยันโบราณเหล่านั้น แต่ชาวเยอรมันนั้นจะเป็นลูกหลานที่แท้จริงของชาวอารยันจริงหรือไม่ เรื่องนี้คงจะต้องพิสูจน์กันต่อไป

 

 

เมื่อต้นกำเนิดและประวัติศาสตร์ที่แท้จริงนั้นถูกบิดเบือนไป ทำให้การค้นหาความจริงนั้นยากขึ้น เพราะเผ่าพันธุ์โบราณอย่างชาวอารยันนั้นไม่พบหลักฐานหรือร่องรายอารยธรรมให้พิสูจน์มากนัก

 

ที่มา: Ancient-Origins

Comments

Leave a Reply