10 ความรู้สึกบนฐานเกี่ยวเนื่องกับ ‘เวลา’ และคำตอบทางจิตวิทยาที่อธิบายให้กระจ่าง

การควบคุมกาลเวลานั้นคงเป็นพลังพิเศษในความฝันของใครหลายๆ คน เพราะจะได้ย้อนเวลาไปแก้อดีต หรือหยุดเวลาเพื่อทำอะไรให้มันสนองความต้องการ แต่พวกเราเองก็รู้ดีนั่นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก หรือแทบจะเป็นไม่ได้เลย

ในขณะที่พวกเราได้แต่รอให้นักวิทยาศาสตร์ค้นพบวิธีการท่องเวลาและควบคุมเวลา ปัจจุบัน นักจิตวิทยาได้ออกมาเผยถึงข้อมูลที่จะทำให้รู้เท่าทัน “ความเร็วของเวลา” ราวกับจะสามารถควบคุมเวลาได้เลยทีเดียว แล้วข้อมูลที่ว่านั้นจะมีอะไรบ้างไปดูพร้อมกันเลยดีกว่า

 

1. เวลาเดินช้าลงเมื่อเรารู้สึกเบื่อ

ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะเวลาที่เราทำกิจกรรมที่แสนน่าเบื่อ มันทำให้สมองเราเบนความสนใจจากกิจกรรมนั้นๆ มาอยู่ที่ตัวเอง ทำให้เรารับรู้ถึงสิ่งรอบตัวมากเกินไป นั่นจึงทำให้การรับรู้เวลาของเรานานขึ้นด้วยนั่นเอง ตรงกันข้าม หากเรากำลังทำกิจกรรมที่สนุกหรือน่าสนใจล่ะก็ สมองเราจะมุ่งสนใจไปยังกิจกรรมนั้นๆ แทน ทำให้เรารับรู้ถึงเวลาได้น้อย จึงรู้สึกเหมือนเวลาผ่านไปเร็ว

 

2. เวลาเดินช้าลงเมื่อต้องพบเจอกับความไม่แน่นอน

เคยไหมเมื่อเราจะต้องออกไปทำงานในอีก 10 นาที แต่เรากลับเพิ่งตื่น ต่อให้เราเร่งรีบแค่ไหนมันก็ยังจะรู้สึกว่า ทำไม 10 นาทีมันช่างผ่านไปรวดเร็วเสียเหลือเกิน แต่ถ้าหากว่าคุณกำลังรอลุ้นผลการตรวจครรภ์ที่จะปรากฏออกมาใน 10 นาทีล่ะก็ คุณจะรู้สึกว่าเป็น 10 นาทีที่นานเหลือเกิน

นั่นเป็นเพราะว่าเมื่อคุณไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต คุณจะคิดมาก และรับรู้รายละเอียดรอบตัวได้มาก สมองจึงรับรู้เวลาอยู่ตลอด และทำให้รู้สึกว่าเวลานานขึ้นนั่นเอง

 

3. เวลาเดินช้าจนแทบจะไม่เดินเลย หากเราจ้องมองแต่นาฬิกา

อาการดังกล่าวเขาเรียกกว่า “Stopped Clock Illusion” ในขณะที่เข็มนาฬิกากระดิกไปเรื่อยๆ หากเรามองมันตลอดมันจะรู้สึกถึงเวลาที่ยาวนานขึ้นนิดหน่อย และที่ยิ่งกว่านั้นก็คือ ขณะที่เรากำลังมองนาฬิกาสติของเราจะหลุดคิดเรื่องอื่นเสมอ สมองจึงต้องหลอกเราว่าที่จริงเราดูนาฬิอยู่ตลอดซึ่งทำให้เหมือนกับนาฬิกาแทบไม่ได้เดินไปเลย นี่เองที่ทำให้เรารู้สึกเวลามันผ่านไปช้าลงมากขึ้น

 

4. เวลาเดินช้าลงเมื่อเราจดจ่ออยู่กับตัวเอง

ขึ้นไปแสดงบทเวที 20 นาทีอาจจะรู้สึกว่านานเท่าๆ กับการเดินกลับบ้าน 1 ชั่วโมงเลยก็ได้ เพราะว่าเมื่อเราทำสิ่งใดที่เคยทำซ้ำๆ เป็นกิจวัตร เรามักจะคิดอะไรไปเรื่อยเปื่อย และไม่เพ่งสมาธิมาที่ความเป็นจริง แต่เมื่อไรก็ตามที่ เราต้องทำอะไรต่อหน้าคนหมู่มาก เช่น ขึ้นไปร้องเพลงบนเวที เราจะกังวลว่าเราจะเป็นอย่างไรในสายตาผู้อื่น

นั่นทำให้สมองเราเกิดการเพ่งความสนใจมาที่ตัวเราเอง ซึ่งจะทำให้เรารับรู้ถึงรายละเอียดรอบตัวได้มากขึ้นในขณะนั้น เมื่อเรามุ่งเน้นสิ่งต่างๆ รอบตัว จะทำให้เวลานั้นเดินช้าลง และทำให้เราจดจำสิ่งที่เกิดขึ้นได้ดีอีกด้วย

 

5. เวลาเดินช้าลงเมื่อเรากลัวหรือรู้สึกเป็นอันตราย

ที่เป็นแบบนี้เพราะว่าเมื่อเราอยู่ในสถานการณ์ที่น่ากลัวหรือรู้สึกอันตราย สมองจะรับข้อมูลจำนวนมากในเวลานั้น และคิดหาทางที่จะทำให้เอาชีวิตรอดในสถานการณ์นั้นๆ ให้ได้ เมื่อเรารับรู้สิ่งรอบตัวอย่างละเอียด เราจะรู้สึกว่าเวลาเดินช้าลง แต่อาการนี้จะหายไปเมื่อเรากลับเข้าสู่สภาวะปกติ

 

6. เวลาเดินช้าลงเมื่อเรากำลังรอคอย

ที่เป็นแบบนั้นก็เพราะว่า ขณะที่เรากำลังรอคอยอะไรบางอย่างสมองของเราจะไม่คิดเรื่องอื่นนอกจากสิ่งที่เรากำลังรอคอย จึงทำให้เรารู้สึกถึงสิ่งรอบข้างได้ง่าย รวมไปถึงเวลาด้วย เราจึงรู้สึว่าเวลาช้าลงนั่นเอง

 

7. เวลายาวนานขึ้นเสมอเมื่อเราพบเจอกับสิ่งแปลกใหม่

เช่นเวลาเรารู้สึกว่าถนนที่เราเพิ่งเคยไปครั้งแรกมันไกล แต่พอขากลับดันรู้สึกว่าใกล้ขึ้นเสียอย่างนั้น นั่นเป็นเพราะว่าเมื่อครั้งแรกที่เราเดินทางบนถนนเส้นนี้เราไม่รู้ว่าจะพบเจอกับอะไรข้างหน้า

ดังนั้นเมื่อเราเห็นสิ่งใหม่ๆ สมองเราจะรับรู้และใช้เวลามากในการประมวลข้อมูลและส่งมาให้เราสามารถเข้าใจได้ ยิ่งข้อมูลเยอะ ยิ่งใช้เวลาประมวลผลมาก ก็จะยิ่งรู้สึกว่าเวลาเดินช้าลง แต่เมื่อข้อมูลถูกนำขึ้นมาประมวลเป็นครั้งที่สอง ซึ่งสมองเราเริ่มคุ้นเคยกับมันแล้วจึงทำให้ประมวลได้เร็วขึ้น

 

8. เวลาเดินเร็วขึ้นเมื่อเรากำลังรีบร้อน

ยกตัวอย่างเช่นเวลา 3 วันในการอ่านหนังสือสอบ จะเร็วกว่าเวลา 3 วันในการรอคอยผลสอบ นั่นเป็นเพราะว่าเมื่อเรามีเวลา 3 วันในการเตรียมตัวสอบ มันทำให้เรารู้สึกว่าต้องการที่จะอ่านหนังสือให้เสร็จให้ทันเวลา แปลว่าสมองของเราจะเพ่งความสนใจไปในการกระทำสิ่งเดียวให้สำเร็จลุล่วง จนไม่รับรู้ข้อมูลรอบตัว จึงทำให้เวลานั้นผ่านไปรวดเร็วอย่างไม่ทันสังเกต

 

9. เวลาเดินเร็วขึ้นเมื่อเราทำกิจกรรมเดิมๆ ทุกวัน

เมื่อเราได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่เคยเจอในกิจวัตรประจำวัน สมองเราจะทำการประมวลข้อมูลใหม่เสมอๆ เช่น ที่ท่องเที่ยวใหม่ ภาพทิวทัศน์ใหม่ๆ ผู้คนใหม่ๆ หรืออาหารใหม่ๆ เป็นต้น

เมื่อสมองเราทำการประมวลข้อมูลใหม่ๆ เหล่านี้ จะทำสมองรับรู้ว่าเวลานั้นเดินช้ากว่าความเป็นจริง และแน่นอนว่าเมื่อไหร่ที่เราคุ้นชินกับกิจกรรมหรือข้อมูลใหม่ๆ เหล่านั้นแล้ว เราก็จะรู้สึกว่าเวลาเร็วขึ้นกว่าเดิม

 

10. เวลาเดินเร็วขึ้นเมื่อเรามีอายุมากขึ้น

หนึ่งวันสำหรับเด็กๆ นั้นแสนยาวนาน แต่หนึ่งสัปดาห์สำหรับผู้ใหญ่อาจจะรวดเร็วเพียงพริบตา เคยสังเกตกันไหมว่าความทรงจำครั้งเยาว์วัยนั้นเราจะสามารถจำมันได้ดี ในขณะที่สิ่งต่างๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้นไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเรากลับจำไม่ได้

ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่าเมื่อเราโตขึ้น สมองของเราไม่ได้รับข้อมูลใหม่ๆ อย่างที่เคยได้รับแบบตอนเด็กๆ อีกแล้ว เมื่อครั้งเรายังเด็ก ทุกสิ่งดูใหม่สำหรับเราไปหมด ตรงกับทุกข้อที่กล่าวไปแล้วว่าเมื่อเราพบกับประสบการณ์ใหม่ๆ สมองเราจะทำการประมวลข้อมูลและรับรู้เวลาที่ยาวนานยิ่งขึ้นนั่นเอง

 

ดังนั้นเมื่อเรารู้เช่นนี้แล้ว หากคุณกำลังพบเจอปัญหาที่ว่าเวลามันช่างผ่านไปรวดเร็วเสียเหลือเกินล่ะก็ ลองทำให้สมองได้คิดบ่อยๆ เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ รู้จักบุคคลใหม่ๆ และลองไปเที่ยวในที่ที่ไม่เคยไปดู มันจะทำให้เวลาของคุณนั้นช้าลง

 

หากใครมีเคล็ดลับอื่นๆ ในการทำให้เวลาเดินเร็วขึ้น หรือช้าลงในเวลาที่ต้องการได้ล่ะก็ เอาแบ่งปันกันได้เลยนะคร้าบบบบบ

 

ที่มา: Brightside

Comments

Leave a Reply