นักวิทย์วิเคราะห์ “รักระยะไกล” จากงานวิจัย เป็นไปได้ไหม ที่จะไปถึงฝั่งฝัน!?

บางคนเคยบอกว่ารักระยะไกลจะทำให้เราคิดถึงกันมากขึ้น บ้างก็ว่าจะทำให้เราห่างเหินกันไปจนต้องเลิกรา ไม่ว่าเรื่องไหนจะเป็นความจริง นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ออกมาวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว จะเป็นอย่างไรเราลองไปชมกัน…

 

 

ความความสัมพันธ์นั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อนและเพื่อสร้างมันขึ้นมาเราต้องทำอะไรมากมายและการรักษามันให้ดีก็ยิ่งยากขึ้นไปอีก

ส่วนในเรื่องของความสัมพันธ์ระยะไกลยิ่งไม่ต้องพูดถึง เพราะส่วนใหญ่มักจะไปไม่รอด หรือถ้ารอดก็มีโอกาสน้อยมากๆ….

แต่ถึงอย่างนั้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นักวิจัยได้พบกับข้อมูลอันน่าตกใจ ที่ไม่ใช่แค่ว่ารักทางไกลนั้นเป็นไปได้แต่มันยังดียิ่งกว่าความรักระยะใกล้เสียด้วยซ้ำ

ในปี 2015 นักวิจัยของ Queen’s University ได้ทำการศึกษาคู่รัก 1,142 คู่ทั้งหมดอยู่ในช่วงอายุ 20 ปี  ในจำนวนทั้งหมดนี้มี 30 เปอร์เซ็นไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัย และ 77 เปอร์เซ็นเป็นคู่รักทั่วไป

ผลการวิจัยพบว่าคู่รักทางไกลมีระดับความใกล้ชิด การสื่อสาร ความมุ่งมั่น ความพอใจทางเพศและความพอใจโดยรวมในระดับที่ไม่แตกต่างกับกลุ่มคู่รักระยะใกล้  

 

 

“ดูเหมือนว่านี่เป็นการค้นพบครั้งสำคัญเพราะว่าระยะทาง [ความรักระยะไกล] ได้บังคับให้เกิดการสื่อสารกันเพิ่มขึ้นและลึกซึ้งมากขึ้น แต่ถ้าคุณอยู่ในบริเวณเดียวกัน คุณจะสามารถรู้จักกันแค่เพียงผิวเผินและไม่มีโอกาสได้รู้จักกันไปมากกว่านั้นสักเท่าไหร่” ดอกเตอร์ Vinita Mehta ผู้เป็นนักจิตวิทยาทางคลินิกและนักเขียนในวอชิงตัน ดีซีกล่าว

โดยธรรมชาติแล้วเมื่อสมองของเราได้รับข้อมูลของคนคนหนึ่งหรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งซ้ำไปซ้ำมาในที่สุดสิ่งเหล่านั้นก็จะกลายเป็นความเคยตัว และคิดว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน

แต่เมื่อเราพบกับสิ่งเร้าใหม่ๆ เราจะตอบสนองต่อเหตุการณ์เหล่านั้นด้วยปริมาณความรู้สึกที่มากขึ้น นั่นเป็นเหตุผลที่คู่รักใหม่ดูรักกันปานจะกลืนกินนั่นเอง

ในความสัมพันธ์ระยะไกลแล้ว คู่รักจะไม่รู้สึกคุ้นเคยกันในระยะเวลาอันสั้น ดั้งนั้นความสัมพันธ์ทั้งหมดจึงค้างอยู่ในสภาพที่คล้ายยังเป็นช่วง ‘ฮันนีมูน’ ก็ว่าได้ แต่นั่นจะเป็นเรื่องดีหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับคู่รักแต่ล่ะคู่อยู่ดี

 

 

จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีการวิจัยใดที่ศึกษาเกี่ยวกับระยะเวลาที่คู่รักระยะไกลจะสามารถรักษาความสัมพันธ์ที่มั่นคงไว้ได้

แต่ ดอกเตอร์ Mehta เชื่อว่าช่วงชีวิตนั้นจะเป็นตัวแปรสำคัญ คู่รักที่พบกันในวัยเรียนและต้องแยกกันไปเรียนคนละสาขาหรือหาโอกาสในความก้าวหน้าด้านการงานจะมีวิธีการจัดการความสัมพันธ์ที่แตกต่างไปจากคู่รักที่เริ่มต้นความสัมพันธ์จากระยะไกลอยู่แล้ว

นอกจากนี้ ดอกเตอร์ Mehta ยังให้ข้อแนะนำเพื่อช่วยให้คู่รักระยะไกลสามารถรักษาความสัมพันธ์ให้คงอยู่ต่อไปได้ โดยให้สื่อสารกับคู่ของตนและกำหนดความคาดหวังในเรื่องของกับอนาคตไปด้วยกัน โดยเฉพาะเรื่องที่ว่าสุดท้ายแล้วพวกคุณจะได้มาอยู่ร่วมกันหรือไม่

“ความรักในรูปแบบนี้สามารถดำเนินไปได้และมันก็น่าสนุกอีกด้วย แต่มันอาจจะกลายเป็นเรื่องที่ไม่น่าสนุกเท่าไหร่ถ้าสิ่งที่คาดหวังเอาไว้นั้นไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน” ดอกเตอร์ Mehta กล่าว 

 

สุดท้ายแล้วความรักจะเป็นจริงได้หรือไม่มันก็ไปสิ้นสุดลงที่คนสองคนอยู่ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ดีหรือเหตุการณ์อันขมขื่น เชื่อว่าหากมีกันและกันทุกคนจะสามารถผ่านมันไปได้ด้วยดีในสักวัน

ที่มา rd

Comments

Leave a Reply