พบกับ 7 การทดลองทางจิตวิทยา ที่ทำให้เรารู้ว่าจริงๆ แล้วพื้นเพความเป็นมนุษย์นั้นเป็นอย่างไร

ในช่วงก่อนที่วิทยาศาสตร์จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรา การทดลองต่างๆ จึงเกิดขึ้นเพื่อให้ได้ข้อสรุปของปัญหาต่างๆ ในโลกของเรา ซึ่งไม่เพียงแต่แต่ปัญหาในโลกเท่านั้น ปริศนาในตัวมนุษย์อย่างเราๆ ก็รอคอยให้ไขให้ออกเช่นกัน เพราะว่าในตัวของเรานั้นมีความลับมากมายทีซ่อนเร้นเอาไว้

และนี่คือการทดลองด้านจิตวิทยา เพื่อศึกษาพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์เพื่อให้เราได้รู้ถึงความจริงที่ซ่อนอยู่ในจิตใจของเรา ซึ่งผลลัพธ์จากการทดลองเหล่านี้ มีบางทฤษฎีที่เปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ไปเลยก็มีมาแล้ว

 

1. การทดลองในเรื่องความมั่นใจ

 

ในปี 1968 คุณครูคนหนึ่งชื่อว่า Jane Elliott ได้ทำการทดลองแบ่งแยกนักเรียนในชั้นเรียนของเธอออกเป็น 2 ฝั่งคือนักเรียนที่มีตาสีฟ้า และนักเรียนที่มีตาสีน้ำตาล

โดยในวันแรกเธอได้เริ่มทดลองด้วยการ ใส่ใจนักเรียนที่มีตาสีฟ้ามากกว่าสีน้ำตาล ทั้งการพูดด้วยมากกว่า การสอนที่ดีกว่า และทำให้นักเรียนที่มีตาสีฟ้ารู้สึกเหนือกว่านักเรียนที่มีตาสีน้ำตาล และในวันต่อมาเธอก็ทำสิ่งตรงกันข้ามคือเธอปฏิบัติกับนักเรียนตาสีน้ำตาลดีกว่าสีฟ้าเหมือนกับในวันแรกทุกประการ

ผลลัพธ์ที่ออกมาค่อนข้างจะแจ่มแจ้ง ก็คือกลุ่มไหนที่ Jane ใส่ใจมากกว่าในวันนั้นมีแนวโน้มที่จะมีความมั่นใจมากกว่าเดิม โดยพวกเขาทั้งตั้งใจตอบคำถามอย่างรวดเร็ว และส่วนมากก็ถูกต้องอีกด้วย

และผลจากการสอบก็ได้พิสูจน์ว่า กลุ่มที่ได้รับความใส่ใจจะมีผลคะแนนที่มากกว่ากลุ่มที่ถูกทอดทิ้ง เพราะว่าพวกเขามีความมั่นใจในตัวเอง และคิดว่าถึงจะผิดยังไงพวกเขาก็ได้รับการสนับสนุนอยู่ดี

 

2. การทดลองของนักไวโอลินระดับโลก

 

เช้าวันหนึ่งในวันที่ 12 มกราคม 2007 ท่ามกลางผู้คนที่เดินผ่านไปผ่านมานับพันคน ที่สถานีรถไฟฟ้าในเมืองวอชิงตัน ดีซี นักสีไวโอลินระดับโลกคนหนึ่งชื่อว่า Joshua Bell ได้ทดลองเปิดการแสดงประมาณ 45 นาทีผ่าน 6 บทเพลงที่เรียกได้ว่าดีที่สุดในโลก และไวโอลินที่เขาถือนั้นมีราคามากถึง 3.5 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (ราวๆ 114 ล้านบาท)

ปรากฏว่ามีเพียง 6 คนเท่านั้นที่หยุดฟังนักดนตรีระดับโลกคนนี้ และมีคน 20 คนให้เงินหย่อนเงินให้กับเขาและตั้งหน้าตั้งตาเดินต่อไปซึ่งรวมเป็นเงินทั้งหมดเพียง 32 ดอลล่าร์สหรัฐ (ราวๆ 1,000 บาท) และเมื่อเขาจบการแสดงลงก็ไม่มีกระทั่งเสียงปรบมือสรรเสริญ หรือเรียกได้ว่าไม่มีใครสนใจนักดนตรีระดับโลกคนนี้แม้แต่น้อย

ในทางกลับกันในวันต่อมา เขาได้ไปเปิดการแสดงที่ Symphony Hall ในเมืองบอสตัน ซึ่งมีค่าเข้าชมประมาณคนละ 100 ดอลล่าร์(3,500 บาท) ก็มีผู้เข้าชมจนเต็มจำนวนที่พื้นที่ที่รับไหว

นั่นจึงได้พิสูจน์ให้เห็นว่าจริงๆ แล้วมนุษย์นั้นไม่ได้นิยมชมความงามของศิลปะ แต่พวกเขาเลือกที่จะชมวิธีการนำเสนอ รวมถึงการไหลไปตามกระแสของความนิยมมากกว่า

 

3. การทดลองทางด้านสังคมของเบียร์ Carlberg

 

การทดลองนี้เกิดขึ้นโดยเบียร์สัญชาติเดนมาร์กชื่อว่า Carlberg โดยพวกเขาได้ทดสอบความใจกล้าของมนุษย์ โดยมีวิธีการก็คือ ในโรงภาพยนตร์แห่งหนึ่งจะมีที่ว่างเหลือเพียงสองที่ตรงกลางของโรงภาพยนตร์ดท่านั้น และหากคู่รักคู่ไหนกล้ามานั่งก็จะได้รับเสียงปรบมือ และได้เบียร์ฟรีตลอดการดูภาพยนตร์

โดยอุปสรรคสำหรับคู่รักทั้งหลายไม่ใช่การที่มีคนเยอะเต็มโรงภาพยนตร์ แต่เป็นผู้ชมคนอื่นๆ ในโรง ที่มีลักษณะเถื่อนๆ ห่ามๆ เหมือนกับสิงห์นักบิดทั้งหลาย ซึ่งหลายคนเมื่อเห็นคนเช่นนี้เต็มโรงแล้วก็เลือกที่จะเดินออกไป โดยไม่เสียดายตั๋วหนังเลยก็ว่าได้

ซึ่งเรื่องนี้พวกเขามีจุดประสงค์ในการทดลองคือ ไม่อยากจะให้มองกันที่รูปลักษณ์ภายนอกของคนในสังคม เพราะบางทีพวกเขาก็มีมุมดีๆ เช่นกัน

 

คลิปการทดลองอันแสนแยบยล

 

4. การทดลองขั้นบันไดแบบเปียโน

 

การทดลองนี้เกิดขึ้นภายใต้ชื่อ “ทฤษฎีความสนุก” โดยมันเกิดขึ้นในเมือง Stockholm ประเทศสวีเดน เพื่อต้องการพิสูจน์ว่าพฤติกรรมที่เราทำซ้ำเดิมๆ ในทุกวันอย่างการเดินขึ้นลงบันไดเพื่อขึ้นรถไฟฟ้า

ซึ่งปกติแล้วคนทั่วไปจะนิยมใช้บันไดเลื่อนมากกว่าการเดินตามขั้นบันไดธรรมดา แต่เมื่อพวกเขาทำขั้นบันไดให้มีลักษณะคล้ายกับเปียโนแล้วปรากฏว่า ในวันนั้นมีผู้ใช้บันไดธรรมดามากขึ้นถึง 66% เลยทีเดียว

การพิสูจน์นี้ทำให้รู้ว่า ถึงจะมีความยากลำบากสักหน่อยที่จะใช้การเดินแบบธรรมดาแทนที่บันไดเลื่อน แต่ว่าเมื่อเพิ่มเติมความสนุกลงไปหลายคนก็เลือกที่จะใช้มัน เพราะว่าลึกๆ ในใจของมนุษย์ยังรักความสนุก เหมือนกับในสมัยเด็กที่เราไม่คิดอะไรและซุกซนไปตามสัญชาตญาณความเป็นเด็กนั่นเอง

 

5. การทดลองสัญชาตญาณของมนุษย์

 

การทดลองนี้เกิดขึ้นเพื่อทดสอบว่ามนุษย์จะเชื่อสัญชาตญาณของตัวเองหรือไม่ โดยมีวิธีการทดลองก็คือ พวกเขาจะให้คนๆ หนึ่งทำแบบสอบถามอยู่ในห้องเพียงคำพังแล้วปล่อยควันเข้ามา ซึ่งก็ปรากฏว่าเมื่อเห็นควันเข้ามา คนๆ นั้นก็เลิกทำแบบทดสอบและหาทางที่จะออกจากห้องดังกล่าว

ทีนี้ก็ได้ทดสอบอีกรูปแบบหนึ่งคือ นำคนที่ไม่เคยเข้าห้องดังกล่าวไปนั่งรวมกับคนอื่นๆ ที่เป็นนักแสดงจัดเตรียมไว้จำนวน 9 คน เมื่อเริ่มทำแบบทดสอบก็เป็นไปตามปกติแต่เมื่อปล่อยควันเข้ามาแล้ว นักแสดงที่จัดเตรียมไว้ก็ยังคงทำแบบทดสอบต่อไป

แต่คนที่ไม่รู้เรื่องก็ไม่ได้ผลีผลามลุกออกจากที่นั่งของตัวเองเหมือนกับคนที่อยู่คนเดียว แต่เขาก็มีอาการลุกลี้ลุกลนและชำเลืองควันไม่ให้คลาดสายตาเพราะว่ากลัวอันตรายแต่ก็คิดว่าคนอื่นๆ ในห้องก็ไม่ได้ลุกไปไหน จึงไม่น่าจะมีอะไรนั่นเอง

เรื่องนี้สามารถพิสูจน์ได้ว่าคนเรามักจะทำตามคนหมู่มาก มากกว่าการเชื่อสัญชาตญาณการเอาตัวรอดของตัวเองที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด

 

คลิปการทดสอบดังกล่าว

 

6. การทดสอบเรื่องความขัดแย้ง

 

การทดลองนี้เกิดขึ้น เพื่อจะหาเหตุผลของความขัดแย้งและวิธีที่จะทำให้คนกลับมาสามัคคีกัน โดยในตอนแรกพวกเขาได้นำเด็กอายุ 11-12 ปีมาเข้าค่ายด้วยกัน โดยที่แต่ละคนไม่รู้จักกันเลย และได้แยกเด็กเหล่านั้นออกเป็นสองกลุ่ม ในเวลาไม่นานเด็กๆ ก็ทำความรู้จักกับเพื่อนในกลุ่มของตัวเองได้เป็นอย่างดี

ในสัปดาห์ต่อมาพวกเขานำเด็กทั้งสองกลุ่มมาพบกัน ปรากฏว่าพวกเด็กๆ ก็เริ่มมีการเขม่นกันขึ้น อีกทั้งการทดลองนี้ยังได้สร้างการแข่งขันระหว่างเด็กทั้งสองกลุ่ม ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาก็เป็นอย่างที่คาดไว้ว่า

เด็กๆ รู้สึกมีความไม่พอใจต่ออีกกลุ่มหนึ่ง และเริ่มมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวเกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เรียกได้ว่าเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ที่มักจะไม่ไว้วางใจต่อสิ่งใดๆ ที่ไม่รู้จัด

สัปดาห์ที่สาม นักทดลองก็ได้สร้างโจทย์ปัญหาที่ทำให้ทั้งสองกลุ่มนี้ต้องทำงานร่วมกัน โดยโจทย์ที่ว่านั้นก็คือ พวกเขาตัดท่อส่งน้ำดื่มให้แก่เด็กทั้งสองกลุ่ม และให้เครื่องมือมาเพื่อให้เด็กช่วยกันซ่อม

ภายใต้ความเกลียดชังที่มีกันอยู่ในใจ ทว่าก็มีความจำเป็นต้องทำงานร่วมกัน ในที่สุดเด็กทั้งสองกลุ่มก็ได้ช่วยกันซ่อมท่อน้ำได้สำเร็จ

เมื่อการทดลองเสร็จสิ้น หลังจากทั้งสองกลุ่มได้ทำงานร่วมกัน นักทดลองสามารถสังเกตได้ชัดเจนว่า พวกเขาลดอคติที่มีในใจต่อกันลง และได้สร้างมิตรภาพระหว่างกลุ่มต่อกันและกัน นั่นจึงได้พิสูจน์ว่าหากมนุษย์เรามีจุดมุ่งหมายร่วมกัน พวกเขาก็สามารถที่จะลดความขัดแย้งที่มีในใจต่ออีกฝ่ายได้

 

7. การทดสอบเรื่องความเชื่อในคนหมู่มาก

 

การทดลองนี้นักวิจัยจะทดสอบด้วยการถามนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ว่า พวกเขาเต็มใจจะช่วยห้อยป้ายที่มีภาพแซนด์วิชชิ้นใหญ่และมีข้อความว่า “สามารถกินได้ที่โจ” เดินรอบมหาวิทยาลัยได้หรือไม่

การทดสอบนี้เกิดขึ้นเพื่อ นักวิจัยอยากจะทราบว่าจะมีนักศึกษาสักกี่คนที่ยินยอมจะห้อยป้ายที่มีข้อความนี้และมีวิธีใดสามารถจูงใจพวกเขาได้บ้าง

ซึ่งผลที่ได้ออกมาก็คือ เมื่อทำทีว่าเข้าไปถามคนๆ หนึ่งแล้วเขาคนนั้นยอมช่วย นักศึกษาคนอื่นๆ ที่เห็นเหตุการณ์ก็ยินยอมจะช่วยเหลืออย่างเต็มใจเช่นกัน ในทางกลับกันเมื่อนักศึกษาเห็นว่ามีคนปฏิเสธ พวกเขาก็ปฏิเสธตามเช่นกัน

เรื่องนี้ทำให้รู้ว่า จริงๆ แล้วมนุษย์เราไม่ได้ทำตามความต้องการ รวมทั้งสัญชาตญาณของเราจริงๆ แต่ทำตามเสียงหมู่มากที่พวกเขานิยมทำกันมากกว่า

 

ที่มา: boredpanda

Comments

Leave a Reply