อย่างเจ๋ง!! นักวิทย์เมกันสุดเจ๋ง สร้าง “แผงโซลาร์เซลล์แบบใส” เพื่อการใช้งานหลากหลายกว่าเดิม

ในปัจจุบันพลังงานต่างๆ ที่มีในโลกเริ่มจะหมดลงไปเรื่อยๆ ทุกวันมนุษย์จึงได้คิดค้นวิธีที่จะหาพลังงานใหม่ๆ เพื่อที่จะมาตอบสนองความต้องการที่มี ซึ่งเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ดูเหมือนจะตอบโจทย์นี้ได้เพราะว่ามันเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมดไป

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Michigan State ได้คิดค้นโมเลกุลโดยเฉพาะสำหรับการสร้างวัสดุคล้ายกับกระจกที่สามารถเก็บพลังงานแสงอาทิตย์โดยเจ้าโมเลกุลที่ว่าเนี่ยจะเก็บคลื่นความร้อนที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าแต่ว่าก็ยังเป็นวัตถุที่โปร่งแสงนั่นหมายความว่าแสงยังคงผ่านไปได้

 

หน้าตาของแผงโซลาร์เซลล์แบบใส

 

ซึ่งมันจะสร้างพลังงานได้โดยการใช้แสงที่มีความยาวคลื่นย่านใกล้อินฟราเรดกับความยาวคลื่นของรังสีอัลตราไวโอเลตมารวมกันโดย Richard Lunt หัวหน้าทีมพัฒนาได้กล่าวเอาไว้ว่า

“เราได้วิเคราะห์สิ่งที่มันอาจเป็นไปได้และมันแสดงให้เห็นแล้วว่ามันสามารถเก็บพลังงานที่มองไม่เห็นเอาไว้ได้ ในอนาคตเจ้าอุปกรณ์นี้อาจจะกำเนิดพลังงานไฟฟ้าที่คล้ายคลึงกับแผงพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านในตอนนี้และเรากำลังพัฒนาที่จะให้มันเป็นพลังงานสำหรับโทรศัพท์มือถือ”

หากเป็นอย่างนั้นได้จริงในอนาคตเราอาจได้เห็นรถยนต์ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่มาจากการติดแผ่นโซลาร์เซลล์แบบใสนี้แทนกระจกในปัจจุบัน หรือว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือที่ชาร์จแบตเตอรี่เพียงแค่นำแผ่นกระจกนี้ไปติดไว้บนหน้าจอ

 

ล้ำไหมล่ะจ๊ะ ทุกคน

 

ทว่าประสิทธิภาพของโซลาร์เซลล์แบบใสอันนี้หากเทียบกับของเก่าที่เป็นแบบทึบนั้นจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่า โดยโซลาร์เซลล์แบบใสอันนี้จะสามารถดูดซับพลังงานได้มากกว่า 5% เพียงเล็กน้อยขณะที่แผงโซลาร์เซลล์แบบทึบจะสามารถดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ได้ถึง 15-18% เลยทีเดียว แต่ว่าแผงโซลาร์เซลล์แบบใสนี้จะสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายกว่าโซลาร์เซลล์แบบทึบนั่นเอง

นอกจากนี้นักวิจัยยังได้คาดการณ์เอาไว้ว่ามีการใช้พื้นที่ที่เป็นกระจกกว่า 7 พันล้านตารางเมตรเฉพาะในประเทศอเมริกาประเทศเดียว หากพื้นที่ทั้งหมดนั้นแทนที่ด้วยแผงโซลาร์เซลล์แบบใสนี้จะสามารถลดการใช้พลังงานอย่างอื่นได้มากโขเลยทีเดียว

สำหรับเทคโนโลยีนี้มีแนวโน้มที่จะวางตลาดในราคาที่ไม่แพงนักและหวังที่จะให้แพร่หลายไปยังพื้นผิวที่มีขนาดเล็กและขนาดใหญ่บางแห่งที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ก่อนหน้านี้เพื่อเป็นช่วยกันรักษาพลังงานอื่นๆ ให้โลกของเรามีใช้ต่อไปนานเท่านาน

 

ที่มา: greenmatters

Comments

Leave a Reply