หมดยุคความเชื่อ “เรียนอะไรก็ได้ ขอแค่เป็น ม.รัฐ” ติวเตอร์แนะ “เรียนที่ตรงใจ ไม่ยึดติดสถาบัน”

สนับสนุนบทความโดย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ไม่นานมานี้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพได้เปิดห้อง Diamond Hall เป็นเวลา 3 วันเต็มให้สถาบันกวดวิชา Tutor DD จัดโครงการ “จุดเปลี่ยนชีวิต อนาคตเรา อนาคตไทย 4.0”

โดยครั้งนี้ได้พานักเรียนมัธยมปลายจากทั่วประเทศร่วม 2,000 คน มาติวเข้มวิชาต่างๆ กับติวเตอร์ชื่อดังมากมาย พร้อมกับฟังเสวนาจากผู้นำในตลาดงาน เช่น บริษัทจัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทอินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)

 

 

นอกจากนี้ ยังมีอาจารย์จากคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ ม.กรุงเทพ ที่ตบเท้าขึ้นเวทีให้คำแนะนำแบบเจาะลึก เพื่อเตรียมความพร้อมน้องๆ ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยระบบใหม่ที่เรียกว่า TCAS ตลอดจนแนะแนวการศึกษาอันเป็นตัวสะท้อนให้เห็นงานในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นอาชีพพนักงานบริษัทหรือเจ้าของกิจการ

จึงนับเป็นการฉายภาพให้น้องๆ เห็นตัวเองล่วงหน้าอย่างชัดเจนขึ้นว่า ควรเดินไปทางไหนดีที่จะตอบโจทย์ความ ต้องการที่แท้จริงของแต่ละคน และ TCAS คือบทสรุปของชีวิตอย่างที่เชื่อกันจริงหรือ!?

 

 

อาจารย์ฮัษมาน ธนวรกันต์ หรือ อ.แกงส้ม ติวเตอร์สุดหล่อ ขวัญใจเด็กๆ ได้ให้แง่คิดกับน้องๆ ถึงการเลือกเส้นทางการเรียนว่า

“ข้อดีของ TCAS คือทำให้เด็กตัดสินใจได้เร็วขึ้นเพราะต้องยืนยันสิทธิ์ในแต่ละรอบ แต่ข้อเสียคือปิดกั้นไม่ให้เด็กได้ทดลองว่าที่ไหนเหมาะสมกับตัวเองจริงๆ การยืนยันสิทธิ์อาจเสี่ยงที่จะเลือกพลาด

ขณะเดียวกันถ้าลังเลก็อาจทำให้ไม่ได้คณะที่ตรงใจ จึงอยากให้น้องๆ มีความชัดเจนว่าตัวเองชอบอะไรกันแน่ และอย่าลืมว่ายังมีมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีสาขาวิชาหลากหลายและตอบโจทย์ตลาด งานยุคใหม่เป็นทางเลือก

ผมอยากให้น้องๆ หลับตานึกภาพว่าเราชอบเรียนอะไร วิชาไหนที่ทำการบ้านแล้วมีความสุขที่สุด แล้วมาดูว่ามีคณะหรือสาขาวิชาไหนบ้างที่ตรงกับความชอบและบุคลิกของตัวเอง จากนั้นให้ดูอาชีพที่มีหลากหลายมากในปัจจุบันทั้งเนื้องาน ค่าตอบแทน และความมั่นคง

 

 

ก่อนจะตัดออกจนเหลือคณะที่เราชอบและตรงตามความต้องการของตลาดงาน ที่สำคัญคือไม่ควรยึดติดกับชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยที่ถูกปลูกฝังกันมาเพียงอย่างเดียว แต่ควรดูหลักสูตรและความพร้อมของแต่ละมหาวิทยาลัยเป็นหลัก
ซึ่งบางทีอาจเป็นม.เอกชนก็ได้

ถ้ามีโอกาสควรไปงานโอเพ่นเฮ้าส์เพื่อให้เห็นกับตา อย่างเช่น ม.กรุงเทพที่มีสาขาวิชาที่ตอบโจทย์ตลาดงานมากมาย ไม่ใช่จบแล้วไม่รู้ว่าจะทำอะไรต่อ อีกทั้งสามารถต่อยอดธุรกิจและอาชีพในมิติต่างๆ ได้ และมีความพร้อมเรื่องบุคลากรกับอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ทันสมัย”

 

 

ส่วน อ.เก๋-สุวคนธ์ อินป้อง เจ้าของฉายา “ครูเลดี้เก๋เก๋” ติวเตอร์สุดสวยที่ขนมุกฮาๆ มาเต็มกระเป๋า จนทำให้การกวดวิชาไม่ใช่เรื่องน่าเบื่อ ได้เสริมความคิดเห็นของ อ.แกงส้ม ว่า

“อยากให้เด็กเรียนสิ่งที่ชอบ ชอบหรือฝันอยากทำอาชีพอะไรก็เลือกเรียนสาขาวิชานั้น อย่ายึดติดสถาบันจนเกินไปเพราะจะกลายเป็นว่าได้เรียนในมหาวิทยาลัยที่ต้องการ แต่เป็นคณะที่ไม่ชอบ พอเรียนไปแล้วไม่ชอบก็ต้องหาที่เรียนใหม่ ทำให้เสียเวลา

อย่าลืมว่าคณะหรือสาขาวิชาจะบ่งบอกถึงอาชีพและอนาคตของเรา ดังนั้นจึงอยากให้เลือกเรียนสาขาวิชาที่ชอบไว้ก่อนเพราะจะทำให้เราได้ดีและประ สบความสำเร็จ

 

 

ค่านิยมของคนไทยมักมองว่าม.รัฐดีกว่าม.เอกชน แต่ก็ไม่จริงเสมอไป ที่ผ่านมาจึงพบว่าเด็กเก่งๆ จำนวนไม่น้อยมุ่งมาเรียนม.เอกชน เพราะมีคณะที่ตอบความต้องการของเขามากกว่า

อ.เก๋ คิดว่าคนที่จะประสบความสำเร็จในปัจจุบันได้ต้องมีความมุ่งมั่นในสิ่งที่ทำ คิดต่างและสร้างสรรค์ อย่างเช่นนักศึกษาบางคนของคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ ม.กรุงเทพ ที่ประสบความสำเร็จด้วยการมีธุรกิจเป็นของตัวเองตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ

นั่นเพราะอาจารย์ของคณะทุกท่านมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ผ่านการล้มลุกคลุกคลานมาจึงแนะแนวทางให้เด็กๆ ได้ แม้จะเป็นคณะเปิดใหม่ แต่เด็กๆ ก็มั่นใจว่าเขาจะสามารถเป็นนักธุรกิจร้อยล้าน เพราะเป็นคณะที่ตอบโจทย์ความต้องการของเขาจริงๆ นั่นเอง”

 

 

ทั้ง อ.แกงส้ม และ อ.เก๋ สรุปไปในทิศทางเดียวกันว่า จะเป็น ม.รัฐ หรือ ม.เอกชนก็ได้ ขอแค่ให้เป็นสาขาวิชาที่ตรงตามความต้องการจริงๆ เท่านั้น อย่าคิดเพียงว่าสอบติด ม.รัฐให้ได้ก่อนเป็นพอ

 

“เรียนที่ตรงใจ ไม่ยึดติดสถาบัน” นั่นแหละคือกุญแจไขสู่ความสำเร็จในอนาคตของเด็กๆ ยุค 4.0 ผู้ไม่หลงกลระบบ TCAS


Posted

in

by

Tags:

Comments

Leave a Reply