รู้จัก 4 รูปแบบของ Autopilot บนเครื่องบิน มันมีการทำงานยังไง บินเองได้เลยเหรอ!?

สิ่งหนึ่งที่ใครหลายคนสงสัยมาตลอดคือ ในตอนเวลาที่ขึ้นเครื่องบินคือในห้องนักบินมันหน้าตาเป็นอย่างไรบ้าง เพราะว่าส่วนนี้ได้ปกปิดเป็นความลับตลอดซึ่งนั่นก็ทำให้เราอยากรู้เข้าไปอีกว่าพวกเขาพากันบินได้อย่างไรกันนะ

และหนึ่งระบบที่หลายคนอยากรู้ว่ามันทำงานยังไง ก็คือระบบการบินแบบ Autopilot หรือ นักบินอัตโนมัติ ที่หลายๆ คนเคยได้ยินแต่ว่ายังไม่มีโอกาสได้ทำความรู้จักกับมันว่ามันมีหน้าตาเป็นยังไงและมีวิธีการทำงานอย่างไรกันนะ

เพื่อคลายข้อสงสัยของใครหลายคน #เหมียวฝึกหัดหมายเลข17 จึงขออาสาพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกันดีกว่าซึ่งใครอยากรู้ตามมาได้เลย

 

 

จริงๆ แล้วระบบนักบินอัตโนมัตินี้เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถภาพสูงและมีรูปแบบการทำงานคล้ายๆ กับระบบ GPS ซึ่งสิ่งนี้สามารถช่วยนักบินให้บินไปยังจุดหมายที่ต้องการได้ โดยทั่วๆ ไปแล้วระบบนี้ในเครื่องบินแต่ละลำจะมีความแตกต่างกันออกไปแต่โดยรวมแล้วก็จะมี 4 ระบบ Autopilot ก็จะมีระบบหลักๆ ดังนี้

 

Heading Hold 

เป็นระบบที่นักบินจะตั้งค่าทิศทางที่ต้องการจะให้เครื่องบินเดินทางไปแต่อย่างไรก็ตามถึงแม้จะเป็นระบบการบินอัตโนมัติแต่ก็จำเป็นที่นักบินจะต้องตั้งค่าต่างๆ อย่างแรงลม หรือการเปลี่ยนทิศทางการบิน

 

Heading and Navigation

ระบบนี้เป็นระบบการนำทางเหมือนกับ GPS ที่สมมุติว่าเราใส่ว่าเราต้องการเดินทางจากกรุงปารีสไปยังกรุงลอนดอน เจ้าระบบนี้ก็จะหาเส้นทางที่ดีที่สุดให้กับนักบิน แต่กระนั้นนักบินก็ต้องคอยดูแลความถูกต้องอีกทีหนึ่ง

 

 

Altitude Hold

ระบบนี้คือระบบควบคุมความสูงของตัวเครื่องบินซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมเครื่องบินแต่ละลำตามที่นักบินกำหนดไว้ แต่ว่ามีเครื่องบินบางลำที่มีฟังก์ชั่นที่ดีกว่านั้นโดยมันสามารถไต่ระดับความสูงหรือลดลงได้เองตามความเหมาะสม เผื่อโอกาสที่เจอหลุมอากาศจะได้สามารถหลบได้นั่นเอง

 

Instrument Approaches

ระบบสุดท้ายนี้เป็นระบบการลงจอดที่จะคำนวณค่าต่างๆ โดยสำเร็จรูปที่จะใช้เฉพาะตอนที่นักบินนำเครื่องบินขึ้นหรือว่าลงจอดเท่านั้น

 

 

ทั้งหมดนี้คือระบบหลักๆ ของ Autopilot ทีนี้หลายคนคงคลายข้อสงสัยกันไปได้เยอะว่าทำไมถึงแม้นักบินจะเปิดระบบ Autopilot แต่ว่ากลับต้องอยู่ในห้องนักบินตลอดเวลานั่นก็เพราะว่าต้องดูแลความถูกต้องของเจ้าระบบต่างๆ เหล่านี้เพื่อจะพาเราไปถึงจุดหมายด้วยความปลอดภัยนั่นเอง

ที่มา: rd

Comments

Leave a Reply