บริษัทญี่ปุ่น หวังนำเกม SPARX มาใช้เพื่อเยียวยาปัญหาความเครียดของคนในประเทศ

เราคงจะรู้กันดีว่าญี่ปุ่นนั้นถือเป็นประเทศที่เป็นสูญรวมความเครียด และมีสถิติคนฆ่าตัวตายที่สูงมากๆ ด้วยปัญหาจากการทำงาน การใช้ชีวิตจึงเปลี่ยนคนมากมายให้กลายเป็นโรคซึมเศร้าและเครียดเป็นจำนวนมาก

ด้วยเหตุนี้สาวชาวญี่ปุ่น Ayako Shimizu ผู้ก่อตั้งบริษัท Hikari Lab จึงเลงเห็นว่าเธอน่าจะหาวิธีแก้ปัญหาความเครียดของชาวญี่ปุ่นได้ด้วยการนำเกม SPARX ที่พัฒนาโดยประเทศนิวซีแลนด์มาให้เล่นกัน

 

 

หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้วเกมแบบนี้จะช่วยแก้ปัญหาความเครียดยังไง คำตอบคือเจ้าเกม SPARX นั้นเป็นตัวแทนของคำว่า Smart, Positive, Active, Realistic และ X-factor และเจ้าเกมนี้ก็ออกแบบมาเพื่อลดความเครียดเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ฉะนั้นเธอจึงคิดว่าเจ้านี้แหละที่จะมาช่วยจัดการปัญหาดังกล่าวได้

 

ภาพอาจจะดูไม่ค่อยสวย เพราะเป็นเกมที่วางจำหน่ายตั้งแต่ปี 2013 แล้วนั่นเอง

 

ส่วนเหตุผลที่ทำไมจะต้องนำเกมดังกล่าวมาเป็นตัวช่วยในการจัดการความเครียดนั้น Ayako Shimizu บอกว่าในประเทศญี่ปุ่นนั้นการจะพูดคุยกับคนอื่นหรือระบายความเครียดให้คนอื่นฟังเป็นเรื่องยากมาก

กลับกันในประเทศอื่นๆ เช่น Australia ที่เธอได้ไปอยู่มาราวๆ 1 ปีเต็มๆ เธอกลับบอกว่าที่นั้นมีการพูดคุยกันอย่างเปิดเผย ทำให้ปัญหาความเครียดมีน้อยกว่าประเทศบ้านเกิดเธอมากๆ

 

คลิปจากทาง Hikari Lab ที่แสดงให้เห็นว่าการทำงานในญี่ปุ่นมันเครียดขนาดไหน

 

และด้วยความที่เธอศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง Cognitive Behavioral Therapy (CBT) หรือที่เรียกว่า การบำบัดด้วยความรู้ ซึ่งตรงกับเกมดังกล่าวที่บำบัดด้วยความรู้ภายในเกมเช่นกัน

เธอจึงติดต่อไปยังผู้พัฒนาเกมที่มหาวิทยาลัย Auckland เพื่อขอลิขสิทธิ์ในการนำมาพัฒนาเป็นภาษาญี่ปุ่น ยังไงก็ตามตัวเกมฉบับออริจินัลนั้นยังเล่นได้เพียงในประเทศนิวซีแลนด์เท่านั้น การเอามาพัฒนาจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด

 

ภายในเกมก็จะมีด่านหลายด่านให้เล่น แต่ละด่านก็จะมีคำถามและรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามปัจจัยของแต่ล่ะคน

 

Ayako ยังบอกว่า “คนญี่ปุ่นที่มีปัญหาความเครียดรู้ว่าการบำบัดด้วย CBT สามารถช่วยพวกเขาได้ แต่พวกเขาไม่รู้จะไปบำบัดที่ไหน ฉะนั้นการที่ฉันนำเกมนี้เข้ามาจึงเป็นการดีที่จะแนะนำการบำบัดแบบ CBT ให้คนที่ยังกลัวการไปเจอตัวต่อตัวกับคนอื่นนั่นเอง”

สุดท้ายแล้ว Ayako ได้พูดปิดท้ายเกี่ยวกับเกมนี้ว่า SPARX ยังคงรู้สึกว่ามันเป็นเกมเพื่อการรักษาอยู่ เพราะตัวเกมไม่ได้เข้าถึงทุกคน แต่เธออยากจะทำให้ตัวเกมของเธอนั้นมันสนุกโดยที่คนเล่นไม่ต้องมาคอยคิดว่าพวกเขากำลังได้รับการรักษาอยู่นั่นเอง

 

ใครสนใจก็ลองดูคลิปภายในเกมฉบับภาษาญี่ปุ่นได้ข้างล่างเลยจ้า

 

ที่มา nextshark

Comments

Leave a Reply