11 นิสัยการบริโภคของคนยุคใหม่ ซึ่งต่างจากคนเมื่อ 100 ปีก่อน อย่างน่าวิตกกังวล!!

ในโลกยุคใหม่ เราสามารถเลือกหาอาหารการกินได้ง่ายขึ้น เพียงแค่เดินเข้าร้านสะดวกซื้อปากซอยก็มีอาหารเต็มชั้นวางที่รอเราอยู่แล้ว

แต่รู้หรือไม่ว่า… มีหลายหน่วยงานที่วิจัย และพบว่าพฤติกรรมการบริโภคของเราเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่างสุดขั้ว และน่าเป็นกังวลมากอีกด้วย….

 

1. เราบริโภคน้ำตาลพุ่งสูงขึ้นแบบติดจรวด ในช่วง 160 ปีที่ผ่านมา

โดยเฉพาะคนในประเทศแถบตะวันตกซึ่งอาจจะมากถึง 67 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ซึ่งเฉลี่ยแล้วเราได้รับ 500 แคลอรี่จากน้ำตาลในแต่ละวัน เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ รวมถึงมะเร็งอีกด้วย

(อ้างอิง American Journal of Clinical Nutrition)

 

2. อัตราบริโภคน้ำอัดลมและน้ำหวานรสผลไม้ เพิ่มสูงขึ้น

น้ำผลไม้ที่บรรจุวางขายกันทั่วไป หลายๆ คนอาจจะคิดว่ามีประโยชน์เหมือนน้ำผลไม้สด แต่ที่จริงแล้วประกอบไปด้วยน้ำตาลและสารให้ความหวานที่สูงมาก อาจจะไม่ต่างกันกับน้ำอัดลม ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วนตามมา และเพิ่มโอกาสเป็นโรคเบาหวานกว่า 60%

 

3. ตั้งแต่ปี 1970 คนเราบริโภคมากขึ้นประมาณ 400 แคลอรี่ต่อวัน

จากกราฟจะเห็นได้ชัดว่าเราบริโภคในปริมาณที่มากขึ้น และรับแคลอรี่ต่อวันมากขึ้นราวๆ 20% เป็นผลมาจากอาหารสำเร็จรูป ที่มีน้ำตาลและไขมันสูงขึ้น

(อ้างอิง Dr. Stephan Guyenet. The American Diet. 2012.)

 

4. ปริมาณการบริโภคน้ำมันพืชสูงจนน่าตกใจ

ถึงแม้ว่าจะมีความเชื่อเรื่องการบริโภคน้ำมันพืชดีกว่าน้ำมันจากสัตว์ แต่ก็มีข้อมูลที่พบว่าถึงจะเป็นน้ำมันพืชหากบริโภคมากจนเกินไป ก็ส่งผลต่อโอกาสเกิดโรคหัวใจที่มากขึ้นเช่นกัน

(อ้างอิง Dr. Stephan Guyenet. The American Diet. 2012.)

 

5. คนบริโภคเนยน้อยลง ขณะที่บริโภคมาร์การีนเพิ่มขึ้น

สงครามระหว่าง เนย และ มาร์การีน ยังคงดำเนินต่อไป ซึ่งมาร์การีนนั้นประกอบด้วยไขมันทรานส์ ที่ส่งผลต่อโรคหัวใจ ยังดีที่ช่วงหลังผู้คนเริ่มรับรู้ และหันกลับมาบริโภคเนยจริงๆมากขึ้น

 

6. น้ำมันถั่วเหลือง เป็นวัตถุดิบหลักในการประกอบอาหาร

ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา จำนวนน้ำมันพืชต่างๆที่คนใช้ประกอบอาหาร ไม่ว่าจะเป็น เมล็ดคอตตอน ข้าวโพด มะพร้าว หรือมะกอก พบว่าคนนิยมใช้ถั่วเหลืองมากที่สุด และโดดเด่นกว่าแหล่งอื่นอย่างเห็นได้ชัด น่าจะมาจากทั้งการตลาดและความสะดวกในการเลือกมันมาใช้นั่นเอง

 

7. ข้าวสาลียุคใหม่ มีคุณค่าทางโภชนาการน้อยลง

ข้าวสาลีสายพันธุ์ใหม่ ที่ปลูกง่ายและทนทานโรคกว่าสายพันธุ์เก่าถูกเผยแพร่ในราวปี 1960 ทำให้อุตสาหกรรมเกษตรนั้นสามารถทำกำไรได้มากขึ้น แต่ก็ตามมาด้วยคุณค่าทางอาหารที่น้อยลง ได้แก่ แม็กนีเซียม เหล็ก ซิงค์ ที่ลดลงกว่าแบบเก่าถึง 19-28%

(อ้างอิง Journal of trace elements in medicine and biology)

 

8. ผู้คนหันมาบริโภคไข่น้อยลง

ข้อมูลจากในช่วงปี 1950-2007 รายงานว่าคนอเมริกัน บริโภคไข่น้อยลงจากประมาณ 380 ฟองต่อคนต่อปี เหลือเพียงประมาณ 255 ฟองต่อคนต่อปี ยังดีที่เพิ่มขึ้นมาจากช่วงปี 1995 ที่่ราวๆ 225 ฟองต่อคนต่อปี แต่รายงานในช่วงหลังนั้นดูเหมือนคนจะเริ่มนิยมกลับมาบริโภคไข่ไก่มากกว่ายุค 90 แล้ว

(อ้างอิง USDA)

 

9. คนบริโภคอาหารสำเร็จรูปมากขึ้น

ตลอดช่วงปี 1889-2009 พบว่าคนนิยมทานอาหารทำเองที่บ้านน้อยลง และบริโภคอาหารสำเร็จรูปมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของอาหารฟาสฟู๊ด ที่เพิ่มมาครองส่วนแบ่งกว่า 25% จากที่มีเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ในช่วงยุค 1930s

(อ้างอิง Dr. Stephan Guyenet)

 

10. กรดไขมันในน้ำมันพืชยุคใหม่ ไม่เหมาะกับร่างกายเรา

น้ำมันพืชยุคใหม่ประกอบด้วยไขมันโอเมก้า 6 ในชื่อว่า Linoleic Acid ซึ่งมีข้อมูลว่าอาจจะเป็นพิษกับร่างกาย ทำลายโครงสร้าง DNA และเป็นบ่อเกิดของโรคมะเร็งมากกว่าน้ำมันพืชแบบเก่า ดูเป็นเรื่องน่าตกใจทีเดียว

(อ้างอิง Dr. Stephan Guyenet)

 

11. คำแนะนำการบริโภคอาหารไขมันต่ำ มาพร้อมกับการเป็นโรคเบาหวาน

เนื่องจากมีข้อแนะนำด้านโภชนาการด้านการบริโภคอาหารไขมันต่ำเผยแพร่มาในปี 1977 แต่ก็กลายเป็นว่าเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตนำเสนออาหารที่มีน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตสูงมาแทนที่ ส่งผลให้เกิดโรคเบาหวานอย่างมาก โดยเฉพาะในหมู่คนอเมริกันนั่นเอง

(อ้างอิง National Center for Health Statistics)

 

ข้อมูลได้รับอนุญาตจาก: wegointer


Posted

in

by

Tags:

Comments

Leave a Reply