สังเกต 10 สัญญาณเตือน ที่ช่วยบ่งบอกได้ว่า คุณเสี่ยงจะเป็นโรคอารมณ์สองขั้วหรือไม่…

ป่วยกายยังรับรู้ได้ง่ายกว่าการป่วยใจ เพราะสังเกตได้จากอาการภายนอก แต่สำหรับอาการจิตใจที่ซ่อนอยู่ภายในนั้นจะสังเกตได้ยากมากๆ

ด้วยความซับซ้อนของความคิดหรือสิ่งที่เกิดขึ้นภายในตัวเรา จึงทำให้อาการป่วยทางจิตใจนั้นมีมากมายหลายรูปแบบ

แต่ถึงอย่างนั้นในความเป็นจริงแล้ว การที่จะชี้ว่าเป็นอะไรได้อย่างชัดเจนนั้นมันเป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโรค Bipolar หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว

“ความแปรปรวนของอารมณ์กลุ้มอกกลุ้มใจกับการทำงาน หรือว่าความรู้สึกเหนื่อยล้าอ่อนแรงนั้น คือเรื่องปกติที่เกิดขึ้น แต่ในความผิดปกตินั้นจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและแตกต่างกันไป”

นี่คือคำพูดของ Dr. Carrie Bearden ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาจิตเวช พฤติกรรมศาสตร์และจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย UCLA ในแคลิฟอร์เนีย

 

 

โรค Bipolar หรืออารมณ์สองขั้วนั้นคือความผิดปกติทางอารมณ์อย่างหนึ่ง ที่ผู้ป่วยจะมีลักษะอารมณ์สลับช่วงไปมาระหว่างอารมณ์ซึมเศร้า สลับกับช่วงที่อารมณ์ดีมากกว่าปกติ โดยแต่ละช่วงอาจอยู่เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนๆ

งั้นเราลองมาดู 10 สัญญาณที่สามารถสังเกตได้ว่าคุณมีความใกล้เคียงกับความเสี่ยงที่อาจเป็นโรคนี้หรือไม่

 

1. อารมณ์ดี

 

อย่าเพิ่งคิดกันว่าทำไมอารมณ์ดีก็เป็นอาการหนึ่ง แต่อย่างที่บอกคือโรคนี้คือการสลับช่วงกันจากเศร้าไปเป็นอารมณ์ดี ในช่วงอารมณ์ดีนั่นแหละที่ผู้ป่วยบางคนอาจเป็นมากจนเกินไปถึงขั้นทำลายความเป็นจริงไปเลย

แต่นอกจากนั้นก็ยังมีช่วงที่เรียกว่า Hypomania ที่จะทำให้คุณรู้สึกเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังงานและความคิดสร้างสรรค์ทำให้มีความรู้สึกสบายผ่อนคลาย รู้สึกสนุกไปจนจบช่วงนั้นๆ

 

2. ไร้ความสามารถในการทำภาระหน้าที่ให้สำเร็จ

 

เป็นอีกหนึ่งสัญญาณสังเกตได้จากการที่ไม่สามารถทำงานหนึ่งต่อไปอีกงานหนึ่ง วางแผนไว้อย่างยิ่งใหญ่หรือโปรเจคในหัวที่ไม่มีความเป็นไปได้ และเมื่อคิดเอาไว้ก็ไม่สามารถทำสิ่งเหล่านั้นได้สำเร็จซักอย่าง แต่ก็ยังจะก้าวไปทำเรื่องอื่นต่อไป เริ่มเป็นล้านสิ่งแต่ไม่สำเร็จสักอย่างนั่นเอง

 

3. ซึมเศร้า

 

อาการของความซึมเศร้านั้นไม่แตกต่างกับคนทั่วไป ที่มีปัญหาเรื่องพลังงาน การกิน และการนอน แต่ทว่าการจะเยียวยาความซึมเศร้าด้วยตัวคนเดียวตามวิธีปกติทั่วไป หรือว่าการใช้ยาต้านนั้นสามารถทำให้เป็นหนักกว่าเดิม หรือทำให้หลุดจากความเป็นจริงไปจนคลุ้มคลั่ง จึงต้องสังเกตกันอย่างระมัดระวัง

 

4. อาการหงุดหงิด

 

ทุกคนต้องได้มีวันที่แย่ๆ กันบ้าง นั่นจึงทำให้เรารับรู้ได้ยากว่านั่นคืออาการหนึ่งของโรค แต่เราจะสังเกตได้จากอาการที่จะรุนแรงมาก

จนสามารถกระทบกับความสัมพัธ์ระหว่างคนรอบข้างได้ โดยเฉพาะคำพูดที่คนคนนั้นบอกว่า “ฉันไม่รู้ว่าทำไมฉันถึงหงุดหงิด ฉันควบคุมมันไม่ได้”

นั่นอาจเป็นอาการของโรคนี้ที่เรียกว่า Mixed Mania ที่จะเกิดการซึมเศร้าและอารมณ์ดีขึ้นพร้อมๆ กัน

 

5. พูดเร็ว

 

คุณอาจจะเห็นคนพูดเก่งพูดมากกันมาบ้าง แต่อาการของโรคนี้คือ การที่คุณไม่สามารถควบคุมการพูดคุยโต้ตอบกันได้นั่นจึงทำให้มีอาการพูดมากและพูดเร็ว

ชนิดที่ว่าใครมาแทรกก็จะพูดกลบทันทีไม่สนใจอีกฝั่ง และสามารถพูดเปลี่ยนเรื่องไปได้อย่างหน้าตาเฉย โดยอาการนี้จะเกิดขึ้นในช่วงอารมณ์ดีเท่านั้น

 

6. กลุ้มใจกับการทำงาน

 

ด้วยความที่อาการต่างๆ ของโรคทำให้เกิดปัญหาในการทำงานและจะส่งต่อไปยังแต่ละช่วง คือถ้าเป็นช่วงที่มีอารมณ์ดีมากเกินไปก็จะมีอาการนอนหลับได้ยาก หงุดหงิดง่ายและมีความมั่นใจในตัวเองสูง แต่กับในช่วงซึมเศร้านั้นจะทำให้เกิดอาการนอนมากเกินจำเป็น และปัญหาในเรื่องอารมณ์อื่นๆ เพิ่มเติม

 

7. ติดเหล้าหรือสารเสพติด

 

ราว 50% ของผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการติดสิ่งเสพติดโดยเฉพาะแอลกอฮอล์ เหตุผลก็คือเป็นการดื่มเพื่อผ่อนแรงในช่วงที่อารมณ์ดีมากเกินไป และทำให้อารมณ์เพิ่มสูงขึ้นในช่วงซึมเศร้า

 

8. พฤติกรรมไม่แน่ไม่นอน

 

ความมั่นใจของผู้ป่วยนั้นจะสูงขึ้นอย่างมากคิดว่าตัวเองยิ่งใหญ่และไม่สนใจต่อสิ่งใด ทุกอย่างสามารถทำให้พวกเขารู้สึกดีได้

หากสังเกตจากพฤติกรรมนั้นก็ดูได้จากการใช้จ่ายอย่างเพลิดเพลินไม่สนอะไร และพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ปกติ โดยไม่สามารถรักษาความคงเส้นคงวาได้อย่างคนทั่วไป

 

9. มีปัญหาในการนอนหลับ

 

การหลับที่ผิดปกติในสองช่วงของอาการคือ การหลับที่มากจนเกินไปและทำให้รู้สึกเหนื่อยตลอดเวลาช่วงที่เป็นซึมเศร้า และการนอนหลับที่ไม่เพียงพอแต่กลับไม่รู้สึกเหนื่อยอะไร มาพร้อมหลังงานเต็มเปี่ยมในช่วงอารมณ์ดีมากเกินไป ดังนั้นจึงสังเกตได้ง่ายและควรให้ปรับนอนแบบปกติให้ได้ก่อน

 

10.ความคิดไหลลื่นปรื้ดดด

 

ดูยากที่จะสังเกตอีกข้อแต่คนที่มีความผิดปกตินั้นในช่วงอารมณ์ดีจะเกิดความคิดที่แล่นไปเรื่อยๆ จนไม่สามารถหยุดได้ บางครั้งจะมาพร้อมกับการพูดเร็ว โดยที่ผู้ป่วยเองนั้นจะไม่รับรู้ถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น

 

จากทั้งหมดนั้นก็คือการสังเกตอาการคร่าวๆ ของโรคอารมณ์สองขั้วกันนะครับ แต่ถึงอย่างไรก็จะตัดสินกันไปเองในทันทีไม่ได้ ทางที่ดีที่สุดก็คือการไปปรึกษากับจิตแพทย์ หรือแพทย์เฉพาะทางกันก่อนนะครับ

ที่มา: health  med.mahidol

Comments

Leave a Reply