ไขปริศนาระดับชาติ!! เหตุใด ‘เส้นผม’ ถึงมีความยาวมากกว่าขนส่วนอื่นๆ ของร่างกาย

เมื่อกล่าวถึงผม หรือเส้นขน บนตัวของพวกเรา เพื่อนๆ เคยสงสัยกันบ้างมั้ยว่าเอ๊ะ ทำไมขนส่วนอื่นๆ ถึงมีความยาวที่จำกัด พอถึงจุดๆ หนึ่งแล้วทำไมมันถึงไม่ยาวต่อ กลับกันกับเส้นผมที่ยาวขึ้นเรื่อยๆ ไม่รู้จักจบจักสิ้นซักที

 

ในวันนี้เรามาไขปริศนานี้ให้กระจ่างไปพร้อมๆ กันเลยดีกว่า!!

ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่า เส้นผมและขนของคนเราจะมีวงจรอยู่ 3 ขั้น คือ ขั้นแรก ช่วงเจริญเติบโต ช่วงนี้ขนจะงอกต่อเนื่อง ขั้นที่สอง ช่วงหยุดการเจริญเติบโต ช่วงนี้ขนพร้อมที่จะหลุดร่วง ช่วงสุดท้าย ช่วงขนเริ่มหลุดร่วง

 

 

พอครบวงจรดังกล่าวแล้ว ก็จะกลับไปวนเป็นลูปใหม่ ก็คือเริ่มงอกเส้นใหม่ออกมาและเส้นเก่าก็หลุดออกไป เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ

 

 

ขนแต่ละที่จะถูกกำหนดลักษณะโดย ‘ต่อมขน’ ตามปัจจัยทางพันธุกรรมและฮอร์โมน
มีอัตราการยาวขึ้นต่อวันไม่เท่ากัน และมีอายุขัยหรือช่วงเจริญเติบโต รวมถึงช่วงต่างๆ แตกต่างกันด้วย

ยกตัวอย่างเช่นเส้นผมจะมีช่วงเจริญเติบโตนานถึง 4-7 ปี ทำให้มันยาวไปได้เรื่อยๆ กว่าที่จะเข้าสู่ช่วงหยุดเจริญเติบโต ซึ่งกินเวลาไปประมาณ 2-4 เดือน จากนั้นก็จะร่วงไป ทำให้ ‘เส้นผม’ เป็นขนที่ยาวที่สุดในร่างกาย ส่วนขนที่อื่นๆ เช่น

 

 

ขนตามร่างกายทั่วไป มีช่วงเติบโตเฉลี่ยแค่ประมาณ 2-3 เดือน, ขนรักแร้ ขนหน้าแข้ง ขนตา ขนคิ้ว ช่วงเติบโตเฉลี่ย 4-7 เดือน, และขนในที่ลับ ช่วงเติบโตเฉลี่ย 5-7 เดือน

 

 

จะเห็นได้ว่าขนตามร่างกายทั่วไปนั้นจะมีช่วงเจริญเติบโตที่น้อยกว่า พอครบ 2-3 เดือน ก็จะหยุดการเจริญเติบโต ส่งผลให้มีความยาวมากที่สุดแบบที่พวกเราเห็น ส่วนขนบริเวณอื่นๆ ที่มีช่วงเจริญเติบโตมากกกว่า ก็จะสามารถยาวได้มากกว่า

 

แหม่ ไอ้เราก็ว่าทำไมถึงไม่ยาวให้มันเท่าๆ กัน ที่แท้ก็เป็นเพราะกลไกของร่างกายนี่เอง

ที่มา : thenakedscientists, howstuffworks, washingtonpost

Comments

Leave a Reply