ล้ำไปอีกขั้น นักวิทย์ฯ Harvard สามารถคิดค้นแบตเตอรี่ ชาร์จครั้งเดียวอยู่ได้นาน 10 ปี!!

รู้สึกกันไหมว่าเวลามือถือหรืออุปกรณ์อิเล็คโทรนิค เกิดอาการแบตเตอรี่หมดเนี่ย มันช่างเป็นปัญหากวนใจคนยุคใหม่อย่างเราๆ เสียเหลือเกิ๊นนน

และปัญหาคาใจนี้จะหมดไป เพราะล่าสุดสำนักข่าว Dailymail ได้รายงานว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้คิดค้นแบตเตอรี่ที่ชาร์จเพียงแค่ครั้งเดียว สามารถใช้งานไปได้นานถึง 10 ปีเลยทีเดียว

 

 

โดยทีมวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ได้คิดค้นแบตเตอรี่ที่สามารถจัดเก็บพลังงานในรูปแบบของโมเลกุลสารอินทรีย์ละลายน้ำที่มีค่า pH เป็นกลาง

และด้วยวิธีดังกล่าวทำให้แบตเตอรี่แบบใหม่นี้ ปลอดภัยจากสารเคมีที่อาจส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า แถมยังรวดเร็วกว่าอีกด้วย

 

 

Dr. Michael Aziz หนึ่งในทีมวิจัยได้ให้สัมภาษณ์ว่า ‘แบตเตอรี่ชนิดใหม่ที่เราค้นพบนี้จะสูญเสียพลังงานเพียงแค่ 1% ต่อรอบการหมุน 1,000 รอบ

ซึ่งถ้านำไปเปรียบเทียบกับแบตเตอรี่ชนิดเดิมที่ทำมาจากลิเธียม ไอออน จะพบว่าแบบใหม่นี้มีอายุการใช้งานที่นานกว่าหลายเท่าตัว คาดว่าถ้าหากนำไปใช้งานจริงมันจะมีอายุการใช้งานยาวนานถึง 10 ปี ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง และเราก็มั่นใจว่านี่จะเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงโลกเทคโนโลยีในอนาคต’

ทว่าตอนนี้ทางผู้คิดค้นยังไม่ได้มีแผนที่จะนำแบตเตอรี่ดังกล่าวมาวางขายในเชิงพาณิชย์ เราก็คงต้องรอให้เค้าคิดค้นวิจัยกันจนมันสามารถนำวางขายได้จริงๆ นั่นแหละ ถึงจะได้หายห่วงเรื่องแบตหมดระหว่างวันซักที

 

 

หวังว่านวัตกรรมแบตเตอรี่ชาร์จทีเดียวแต่ใช้กันไปยาวๆ นี้จะนำมาวางขายตามท้องตลาดเร็วๆ นะ เพราะทุกวันนี้ปัญหาแบตฯ หมดระหว่างวันมันช่างกวนใจเราจริงๆ เลย ให้ตายเถอะ….

Shut Up And Take My Money

ที่มา: Dailymail

Comments

Leave a Reply