ถ้าหากว่าโลกนี้ มีมนุษย์แค่ 100 คน ตลอด 200 ปีที่ผ่านมา โลกที่เรารู้จักจะเป็นแบบไหน?

เคยรู้สึกกันบ้างมั้ยว่า ประชากรมนุษย์บนโลกเราทุกวันนี้ มีเยอะมากเกินไป เยอะจนชนิดที่ต้องไปเบียดเบียนธรรมชาติ เบียดเบียนสัตว์ป่า และเบียดเบียนมนุษย์ด้วยกันเอง ไม่ว่าจะเพื่อทรัพยากร หรือเพื่อการเอาตัวรอด (ตัวเราก็เป็นส่วนหนึ่งในนั้นแหละ)

แล้วจะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากว่าโลกใบนี้ที่ปัจจุบันมีมนุษย์มากถึง 7.5 พันล้านคน แต่เปลี่ยนให้เหลือเพียงแค่ 100 คน แน่นอนว่าเราอาจจะคิดถึงความสงบสุข การไม่ต้องเจอปัญหารถติดตอนเช้า ไม่ต้องแย่งกันกินกันใช้เหมือนปัจจุบัน

และด้วยข้อสงสัยนี้เองทางเว็บไซต์ OurWorldInData.org จึงได้สร้างกราฟขึ้นมาว่า ตลอด 200 ปีที่ผ่านมา สภาพการเป็นอยู่ของมนุษย์เราเปลี่ยนแปลงไปมากขนาดไหน เมื่อนำประชากรทั้งหมดทั่วโลก มาเทียบให้เหลือในสเกลขนาดเล็กแค่ 100 คน เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น

 

ด้านเศรษฐกิจ

เมื่อราว 200 ปีก่อน มีจำนวนคนมากถึง 94 คนที่ต้องมีชีวิตการเป็นอยู่อย่างยากจน ในขณะที่ปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วพบว่า มีเพียงแค่ 10 คนเท่านั้นที่ยังติดอยู่กับปัญหาดังกล่าว

 

ด้านวัคซีนการป้องกันโรค (โรคคอตีบ, โรคไอกรน และโรคบาดทะยัก)

เมื่อราว 200 ปีก่อนจะเห็นได้ว่า มนุษย์เรายังไม่มีวัคซีนที่จะนำมาใช้รักษาโรคดังกล่าว แต่ปัจจุบันเมื่อเทียบกับประชากรทั้งโลก โดยตีตัวเลขให้มีแค่ 100 คน พบว่ามีเพียง 14 คนเท่านั้นที่ยังไม่เข้าถึงวัคซีนการรักษาโรค

 

การศึกษาขั้นพื้นฐาน

เฉลี่ยแล้วพบว่าราว 80% ของประชากรในยุคก่อน ไม่มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่ปัจจุบันกลับมีเพียงแค่ประมาณ 15% ของประชากรเท่านั้น ที่ยังคงเผชิญกับปัญหานี้อยู่

 

ความสามารถในการอ่าน และเขียน

เปรียบเทียบในสเกลประชากรเพียงแค่ 100 คน ราว 2 ศตวรรษก่อน มีคนมากถึง 88 คน ที่ไม่สามารถอ่านหนังสือได้ แต่ในยุคปัจจุบัน กลับเหลือเพียงแค่ 15 คน เท่านั้นที่ไม่สามารถอ่าน และเขียนได้

 

ระบบประชาธิปไตย

ในส่วนนี้จะเป็นการว่าด้วยเรื่องของประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศที่ให้อิสระ และเสรีภาพ ซึ่งเมื่อสมัยก่อน หากเปรียบเทียบแล้วจะพบว่ามีเพียงแค่ 1 คนเท่านั้นที่ได้อาศัยอยู่ในประเทศที่มีความเปิดกว้างทางความคิด

แต่น่าแปลกใจอยู่ไม่น้อยที่ตัวเลขไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก เพราะปัจจุบันจาก 1 คน เพิ่มมาเป็นแค่ 56 คนเท่านั้น (ว่าแต่ไทยเราอยู่อันไหนกันน๊าาา?)

 

ด้านการล่าอาณานิคม

แน่นอนว่าในอดีต ‘ลัทธิการล่าอาณานิคม’ จากประเทศที่มีอำนาจสูงกว่า ได้แผ่ขยายออกไปเป็นวงกว้าง อาจจะด้วยความต้องการครอบครองทรัพยากร หรือด้านอื่นๆ

ซึ่งถ้าเทียบประชากรทั่วโลกแล้ว ในอดีต มีเพียงแค่ 38 คนเท่านั้นที่ต้องอาศัยอยู่ภายใต้การถูกล่าอาณานิคม ในขณะที่ปัจจุบันลัทธิดังกล่าวได้หายไป

แต่เชื่อมั้ยว่าเหตุการณ์จากอดีต ยังคงส่งผลต่อปัจจุบันอยู่เสมอ ยกตัวอย่างเช่นกรณีของประชาชนชาวพม่าที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่ว อันเนื่องมาจากอดีตประเทศเคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ เป็นต้น

 

ทวีป

เมื่อราว 2 ศตวรรษก่อน หากเทียบจากจำนวน 100 คนแล้ว มากกว่า 70% ของประชากรโลก อาศัยอยู่ในทวีปเอเชีย ในขณะที่ปัจจุบัน มีเพียงแค่ประมาณ 60% เท่านั้น แต่ก็ยังถือว่ามากกว่าทวีปอื่นๆอยู่ดี

 

ภาวะการเอาชีวิตรอดของเด็กแรกเกิด

จากปัจจัยหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีการแพทย์ หรือชุดความรู้ต่างๆ ที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา ในอดีต สำหรับเด็กแรกเกิดช่วง 5 ปีแรก มีเพียงราว 57% เท่านั้น ที่จะรอดชีวิตต่อไปได้ ในขณะที่ปัจจุบัน ตัวเลขการเสียชีวิตของเด็กในช่วง 5 ปีแรก ลดลงมาเหลือเพียงแค่ 4% หากเทียบกับจำนวนประชากร 100 คน

 

จากกราฟดังกล่าวจะสังเกตุได้ว่า เมื่อเวลาผ่านไป นวัตกรรมด้านต่างๆของมนุษย์ก้าวไกลมากยิ่งขึ้น การเข้าถึงความรู้มีมากกว่าแต่ก่อน ปัญหาต่างๆก็ลดน้อยลงตามไปด้วยเช่นกัน

ที่มา: pbs.twimg

Comments

Leave a Reply