ชีวิตอันขมขื่นของชาวเวเนซูเอล่า เศรษฐกิจล่มสลาย อันตรายจากโจรสลัด และแก๊งมาเฟีย

ถ้าพูดถึงประเทศเวเนซูเอล่า หลายคนอาจนึกถึงดินแดนที่เต็มไปด้วยสาวงาม จนสามารถครองมงกุฎการประกวดนางงามระดับโลกมาได้หลายต่อหลายครั้ง หรืออาจจะนึกถึงประเทศที่มีน้ำมันสำรองมากที่สุด แต่รู้หรือไม่ ตอนนี้ดินแดนแห่งความงามแห่งนี้กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก จนแทบกลายเป็นรัฐล่มสลายเลยทีเดียว

 

14600624444589

 

ปัญหาเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2003 เมื่อ นายอูโก้ ซาเบส หรือ ฮิวโก้ ซาเวส ประธานาธิบดีของเวเนซุเอลาในขณะนั้น ได้ออกนโยบายลดการนำทุนออกนอกประเทศ ด้วยการแบ่งอัตราการแลกเปลี่ยนเงินออกเป็นสามระดับ โดยระดับแรกคือ 6 โบลิวาร์ต่อ 1 ดอลลาร์สำหรับข้าวของจำเป็น ระดับที่สองคือ 12 โบลิวาร์ต่อ 1 ดอลลาร์ สำหรับข้าวของบางอย่างที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาล และระดับสุดท้าย 50 โบลิวาร์ต่อ 1 ดอลลาร์สำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการแลกเงิน

 

(นายฮิวโก้ ซานเชส อดีตประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งกว่า 16 ปี ก่อนจะเสียชีวิตเมื่อปี 2013 และได้นาย นิโกลัส มาดูโร สิบทอดตำแหน่งจนถึงปัจจุบัน)

gty_hugo_chavez_4_nt_130305_wmain

 

ด้วยมาตรการนี้เอง ทำให้ข้าวของจำเป็นส่วนมากถูกนำเข้าและขายในราคาที่ถูกเกินจริง จึงมีเหล่าพ่อค้าตลาดมืดลักลอบนำสินค้าจำเป็นเหล่านั้นไปขายในประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากได้ราคาสูงกว่าในประเทศ และด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่ต่ำเตี้ยเรี่ยดินขนาดนี้ ทำเงินโบลิวาร์ไม่ค่อยมีการเคลื่อนย้ายออกนอกประเทศเท่าไหร่

อย่างไรก็ตาม ยังมีการทุจริตในระบบการแลกเปลี่ยนดังกล่าวทั้งจากเหล่านักการเมืองและนายทุน ทำให้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินแบบหลายอัตรานี้ ไม่ประสบความสำเร็จในทางปฏิบัติเท่าไหร่

 

PDVSA's El Palito refinery is seen in Puerto Cabello, 150 miles (241 km) west of Caracas, September 23, 2009. The banner reads: "Venezuela now belongs to all". REUTERS/Edwin Montilva

 

ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงที่ดำเนินนโยบายนี้ รัฐบาลของเวเนซุเอลายังได้ออกนโยบายเศรษฐกิจผิดพลาดอีกหลายอย่าง เช่นเข้าไปควบกิจการที่ดำเนินโดยเอกชนรวมถึงบริษัทจากต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นเหมืองแร่ บ่อน้ำมัน ธนาคาร อุตสาหกรรมต่างๆ จนไม่เกิดการแข่งขันและยังทำให้การบริหารเต็มไปด้วยความไร้ประสิทธิภาพอีกด้วย

นอกจากนี้ ทางรัฐบาลยังออกนโยบายประชานิยมอย่างสุดโต่งอีกหลายนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นการอุดหนุนราคาน้ำมันจนเหลือแค่ลิตรละ 70 สตางค์ และอุนหนุนราคาสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ ให้ถูกลงเพื่อเอาใจประชาชน รวมทั้งดำเนินโครงการพัฒนาสังคมใหญ่ๆ หลายโครงการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของรายได้ของประชาชนในประเทศ

 

screen-shot-12-09-16-at-06-23-pm

 

แน่นอนว่าการดำเนินนโยบายแบบนี้ถือว่ามีความสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจล้มละลายเป็นอย่างมาก แต่นั่นไม่ใช่ปัญหา เพราะเวเนซุเอลาเป็นหนึ่งในประเทศที่ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก ทำให้รัฐบาลมีเงินเหลือๆ จากการขายน้ำมัน (ซึ่งตอนนั้นน้ำมันแพงมาก) มาช่วยหล่อเลี้ยงนโยบายประชานิยมเหล่านั้น

แต่ในปี 2014 สิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดก็เกิดขึ้น เมื่อราคาน้ำมันโลกปรับตัวลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้ประเทศที่ต้องพึ่งพารายได้จากการขายน้ำมันถึง 96 เปอร์เซ็นจากรายได้การส่งออกทั้งหมออย่างเวเนซุเอลา ต้องประสบปัญหาอย่างรุนแรง โครงการประชานิยมต่างๆ การเป็นภาระอันหนักหน่วงของรัฐบาล

 

o1ilebdk6s9mpvwbn1m-o

 

เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำไปทั่วประเทศ เงินโบลิวาร์ถูกลดค่าลงเป็นอย่างมาก สิ่งของอุปโภคบริโภคก็ค่อยๆ ปรับตัวสูงขึ้น กลายเป็นภาวะขาดแคลน รวมถึงยารักษาโรคต่างๆ ด้วย

ดั่งที่เราได้เห็นภาพชาวเวเนซุเอลาตื่นแต่เช้าไปแย่งชิงของต่างๆ ในซุปเปอร์มาร์เก็ต คนไข้กว่า 20,000 คนทั่วประเทศขาดยารักษาโรค และมหาวิทยาลัยหลายแห่งต้องปิดตัวลงเนื่องจากไม่มีงบดำเนินการ

 

In this Nov. 2, 2016 photo, members of the Marval family, who patrol at night while other members of their family fish at sea, respond to what appeared to be the start of an attack by pirate gang leader "El Beta" in Punta de Araya, Sucre state, Venezuela. The family says El Beta is a 19-year-old killer with 40 men at his command who threatened to kill their entire clan days after murdering three Marvals at sea and stealing their night's catch. (AP Photo/Rodrigo Abd)

 

เมื่อรัฐไม่สามารถดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนได้ ทำให้มีการรวมกลุ่มตั้งเป็นกองโจรเพื่อปล้มสะดม และแย่งชิงสิ่งของจากผู้อื่น แม้จะมีความพยายามในการปราบปรามจากรัฐบาล แต่ในสภาพที่รัฐบาลยังหาความมั่นคงไม่ได้นี้ การปราบกลุ่มอิทธิพลท้องถิ่นจึงเป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้

 

In this Nov. 2, 2016 photo, a member of the Marval fishing family who goes by the nickname "El Chukiti" holds a homemade gun as he guards against a possible pirate attack as fishermen unload their catch in Punta de Araya, Sucre state, Venezuela. The family's self-defense group calls themselves "Los Cainos." (AP Photo/Rodrigo Abd)

 

อย่างเช่นหมู่บ้านชาวประมงหมู่บ้านหนึ่งต้องประสบกับปัญหาโจรสลัดโจมตี โดยมีชาวประมง 9 คนถูกฆ่าและปล้นชิงสิ่งของระหว่างออกไปหาปลา ซึ่งผู้ที่เป็นโจรสลัดนั้น ก็คือชาวประมงด้วยกันนั่นเอง แต่เพราะระบบการขายปลาได้ล่มสลายไปพร้อมๆ กับเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้พวกเขาต้องผันตัวเองมาเป็นโจรสลัดเพื่อความอยู่รอด

 

emo-133

ก็ต้องรอดูกันต่อไปว่า ดินแดนแห่งนางงามจะผ่านพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปได้อย่างไร แต่เชื่อว่ามันจะต้องเป็นบทเรียนสำคัญที่ชาวเวเนซุเอลาไม่มีวันลืมอย่างแน่นอน

เรียบเรียง #เหมียวอ๊อดโด้ 

Comments

Leave a Reply