รู้จักกับโรค PTSD อาการตื่นกลัวตลอดเวลา ของเหล่าทหารผ่านศึก และผู้ประสบเหตุเลวร้าย…

สำหรับหลายๆ คนที่อาจไม่รู้จักอาการนี้ Post-traumatic stress disorder หรือ PTSD คืออาการเครียดหลังประสบเหตุการณ์สะเทือนใจ กับความผิดปกติทางอารมณ์ที่กระทบต่อการดำเนินชีวิต…

อาการความเครียดแบบนี้มักพบเห็นในเหล่าผู้ที่ประสบพบเจอกับเหตุการณ์ร้ายแรงอันไม่คาดฝัน แม้สิ่งนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อนานมาแล้วแต่ก็ยังไม่สามารถลืมเหตุการณ์นั้นได้ เช่นเหล่าทหารผ่านศึกที่ต้องไปใช้ชีวิตมาในสมรภูมิ ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกทารุณกรรมทางเพศ พบเห็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เป็นต้น

และสิ่งที่หนักที่สุดของโรคนี้ก็คือความเครียดและมีพฤติกรรมบางอย่างที่กระทบต่อการดำเนินชีวิต!!

 

อาการ PTSD

1

 

ในตอนนี้ประเทศสหรัฐฯ ประเทศเดียวมีผู้ป่วยที่มีอาการนี้อยู่กว่า 8 ล้านราย หรือคิดเป็นประชากรร้อยละ 2.5 ของประเทศ และร้อยละ 11-20 ของผู้ป่วยอาการนี้คือเหล่าทหารผ่านศึกอิรักและอัฟกานิสถาน

อย่างช่วงก่อนก็มีข่าวเกี่ยวกับทหารผ่านศึกที่หักรถเลี้ยวหลบถุงพลาสติกที่ปลิวมากลางถนนเพราะเธอคิดว่าคือระเบิด ซึ่งนั่นก็คือหนึ่งในกรณีตัวอย่างอาการของโรคนี้…

 

ส่งผลต่อผู้คนรอบข้าง อาจทำให้เสียงาน ครอบครัวตีจาก จนตัดสินใจฆ่าตัวตายเลยทีเดียว

2

 

สำหรับอาการของ PTSD นั้นจะแสดงออกมาเป็น 2 ระยะ คือ ระยะ 1 เดือนแรกหลังจากเกิดเหตุ เรียกว่า Acute Stress Disorder (ASD) หรือ โรคเครียดฉับพลัน จากนั้นจะเข้าสู่ระยะที่ 2 คือหลังเกิดเหตุการณ์มาแล้ว 1 เดือนที่เรียกว่า PTSD

ซึ่งสุดท้ายแล้วก็สามารถแบ่งผู้ป่วยออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ก็คือ…

 

1. เหตุการณ์ตามมาหลอกมาหลอน (Re-experiencing)

ผู้ป้วยอาการนี้มักจะเป็นผู้ที่รอดชีวิตจากเหตุการณืที่เลวร้ายต่างๆ แต่ภาพของเหตุการณืนั้นยังตามกลับมาหลอกหลอนอยู่เสมอ รู้สึกว่ากลับไปอยู่ในเหตุการณืนั้นแล้วก็จะตกใจกลัว หรืออาจฝันร้ายถึงเหตุการณ์นั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า

 

2. ตื่นตัวมากเกินไป (Hyperarousal)

แม้ว่าเหตุการณ์น่ากลัวจะผ่านไปแล้ว แต่ร่างกายก็ยังไม่ยอมเลิกตื่นตัว ทำให้เรายังรู้สึกกระวนกระวาย ผุดลุกผุดนั่ง ใจสั่น ตกใจง่าย โดยเฉพาะเมื่อมีอะไรมาสะกิดให้นึกถึงเหตุการณ์นั้น จะระมัดระวังตัวจนเกินกว่าเหตุ

 

3. คอยหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นเตือนให้นึกถึงเหตุการณ์ (Avoidance) หรือมีอารมณ์เฉยชา (Emotional numbing)

หลายคนพยายามหลีกเลี่ยงที่จะพูด นึกถึงเหตุการณ์ที่ทำให้หวาดกลัวซึ่งจะนึกถึงเหตุการณืนั้นหรือทำอะไรที่ทำให้นึกถึงเหตุการณืนั้นไม่ได้เลย หรือสุดท้ายอาจกลายเป็นคนเฉยชาไม่ร่าเริง เก็บตัวและแปลกแยกจากผู้อื่นไป

 

โรคยอดฮิตของเหล่าทหารผ่านศึก

4

 

แนวทางการรักษาตอนนี้สามารถรักษาได้ 2 วิธี คือการรักษาโดยนักจิตวิทยาแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือแบบสองคือการใช้ยาในกลุ่มเดียวกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ซึ่งต้องได้รับคำแนะนำอย่างละเอียดจากแพทย์ และถ้าอาการหนักก็ต้องเพิ่มดีกรีของยาเข้าไปซึ่งจะค่อนข้างอันตรายและมีความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะเสพติดได้…

 

ไม่ว่าอย่างไรโรคนี้ก็ต้องยอมรับว่าน่ากลัวจริงๆ พอมาอ่านดูแล้วก็รู้สึกเห็นใจผู้ป่วยอาการนี้มากๆ

emo-89

 

ที่มา: BusinessInsider, Kapook

Comments

Leave a Reply