สื่อต่างชาติยกย่อง 10 โครงการในพระราชดําริของ ‘ในหลวง ร.9’ ที่ทรงสร้างประโยชน์แก่ประเทศไทย

ปวงชนชาวไทยจะรู้และทราบกันดีว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เปี่ยมไปด้วยอัจฉริยภาพ และพระปรีชาสามารถมากมายเพียงใด

ดังจะเห็นจากพระราชกรณียกิจต่างๆ ของพระองค์ ที่ช่วยเหลือเหล่าประชากรให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และแน่นอนว่าไม่ได้มีเพียงแค่คนไทยเท่านั้นที่รับรู้ แต่สื่อต่างชาติหลายแห่งก็ลงไปเช่นกัน

คราวนี้ #เหมียวหง่าว ขอหยิบยกข้อมูลจาก TheBigChilli.com ที่ได้ทำเรื่องราวประวัติของในหลวงรัชกาลที่ 9 รวมไปถึงโครงการในพระราชดำริ และทางเว็บดังกล่าวก็หยิบยกโครงการที่สำคัญ 10 โครงการมาดังนี้…

 

1. โครงการฝนหลวง (Royal Rain Project)

1
credit : thainews

เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในปี 1971 ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็ทรงทรับทราบถึงความทุกข์ร้อนของราษฎรและเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภค และใช้ในการเกษตร

จึงทรงพระราชทานโครงการพระดำริ “ฝนหลวง” ขึ้นมา ได้เกิดเป็นการค้นคว้าทดลองปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงขึ้น และในที่สุดก็ประสบผลสำเร็จ

 

2. โครงการฝายชะลอน้ำหรือฝายแม้ว (Moisture Retention Dams)

2
credit : ldd

เป็นแนวคิดที่สามารถดึงประโยชน์จากฝนที่ตกจากลมมรสุมได้เป็นอย่างดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานโครงการ ‘ฝายแม้ว’ ขึ้นมา เป็นฝายชะลอน้ำกึ่งถาวรโดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่นกิ่งไม้ ก้อนหิน เพื่อกั้นชะลอน้ำในลำธาร หรือทางน้ำเล็กๆ ให้ไหลช้าลง

เพื่อให้ขังอยู่ในพื้นที่นานพอที่จะพื้นที่รอบๆจะได้ดูดซึมไปใช้ เป็นการฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้เกิดความชุ่มชื้นมากพอที่จะพัฒนาการเป็นป่าสมบูรณ์ขึ้นได้ ฝายแม้วยังอาจใช้เพื่อการกักตุนน้ำ ให้มีระดับสูงพอที่จะดึงน้ำไปใช้ในคลองส่งน้ำได้ในฤดูแล้ง

 

3. โครงการหลวง (Royal Projects)

3
credit : kanchanapisek

ในปี 1969 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงริเริ่มโครงการส่วนพระองค์ ในการส่งเสริมการปลูกพืชเมืองหนาว การทำหัตถกรรมต่างๆ ให้แก่ชาวเขา เพื่อเป็นการหารายได้แทนการปลูกฝิ่นอันเป็นพืชที่ผิดกฎหมาย

ปัจจุบันก็มีสินค้าต่างๆ ส่งขายมากมาย อย่างเช่น น้ำผลไม้ดอยคำ ผักปลอดสารพิษชนิดต่างๆ ที่มีขายอยู่ตามร้านโครงการหลวง นอกจากจะสร้างรายได้ให้กับชุมชนของชาวเขาแล้ว ยังเป็นสินค้าที่ปลอดสารพิษช่วยให้ผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดีขึ้นอีกต่างหาก

 

4. โครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ (Pa Sak Jolasid Dam Project)

4
credit : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

เนื่องจากปัญหาน้ำท่วมในช่วงฤดูน้ำหลาก และแห้งแล้งในช่วงฤดูร้อน ในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ทำให้เกษตรกรที่อยู่อาศัยในบริเวณนั้นไม่สามารถทำการเกษตรเพื่อเลี้ยงชีพได้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมถึงการสร้างเขื่อนเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

จนมาถึงปี 1994 คณะรัฐมนตรีก็ได้อนุมัติให้เปิดโครงการก่อสร้างเขื่อนกักเก็บแม่น้ำป่าสักหลังจากที่ศึกษาถึงความเหมาะสมและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเรียบร้อยแล้ว

ซึ่งเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เองก็ช่วยลดปัญหาน้ำท่วมที่มักจะเกิดขึ้นบริเวณรอบนอกเมืองกรุงเทพมหานครได้เป็นอย่างดี อีกทั้งสามารถกักเก็บน้ำไว้ให้เกษตรกรที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักสามารถทำการเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปีอีกด้วย

 

5. เกษตรทฤษฎีใหม่ (New Theory on Managing Agricultural Land)

5
credit : chaipat

เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกินของประชากรและเกษตรกรทั้งหลาย ด้วยพระอัจฉริยะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทาน ‘ทฤษฎีใหม่’

โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทำการศึกษาและวิจัยเชิงปฏิบัติ เกี่ยวกับทฤษฎีใหม่มาเป็นเวลานานตั้งแต่ปี 1989 ในพื้นที่ส่วนพระองค์เอง

เพื่อช่วยให้เกษตรกรและชาวบ้านสามารถใช้ที่ดินแปลงเล็กๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การเลี้ยงไก่บนบ่อปลา เพื่อให้มูลไก่เป็นอาหารปลา การปลูกพืชหมุนเวียน เป็นต้น

 

6. โครงการปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาหน้าดิน (Use of Vetiver to Prevent Soil Erosion)

3
credit : chaipat

เพื่อป้องกันการชะของหน้าดินนั้นเองก็เป็นปัญหาที่บ้านเราประสบกันมาอย่างยาวนาน ด้วยเหตุนี้เองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระราชดำริให้มีการนำหญ้าแฝกมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ

เพราะหญ้าแฝกนั้นมีรากที่ยาวแผ่กระจายลงไปในดินเป็นแผง จึงสามารถป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน อีกทั้งยังสามารถปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นได้อีกด้วย

ในช่วงปี 1991 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริเป็นครั้งแรกให้หน่วยงานต่างๆ ทำการศึกษา ทดลอง หลังจากนั้นโครงการหญ้าแฝกก็ได้ดำเนินเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

 

7. กังหันน้ำชัยพัฒนา (The Chaipattana Aerator)

7
credit : chaipat

เนื่องจากปัญหาน้ำเน่าเสียที่ยิ่งจะทวีความรุนแรงมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหา ในปี 1988 ได้พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย ด้วยการใช้เครื่องกลเติมอากาศ ที่ใช้แบบประดิษฐ์แสนเรียบง่าย และมีราคาที่ประหยัด แต่ก็มีประสิทธิภาพสูงในการบำบัดน้ำเสีย

เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ‘กังหันน้ำชัยพัฒนา’ อันเป็นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำโดยจะเติมอ็อกซิเจนเข้าไปในน้ำเพื่อช่วยบำบัดน้ำเสีย ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระของของรัฐบาล และช่วยลดมลพิษทางน้ำได้เป็นอย่างดี

 

8. สะพานพระราม 8 (The Rama VIII Bridge)

OLYMPUS DIGITAL CAMERA
credit : wikipedia

เนื่องจากปัญหาการจราจรติดขัดที่ผู้คนในกรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้กรุงเทพมหานครก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มอีก 1 แห่ง

ซึ่งจะเชื่อมการเดินทางระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีให้สะดวกสบายขึ้น ซึ่งจะช่วยระบายรถบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าได้มากยิ่งขึ้น และยังสามารถลดมลพิษทางอากาศบริเวณในเมืองได้เป็นอย่างดี

และตั้งชื่อว่า สะพานพระราม 8 ตามชื่อของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันตมหิดล หรือรัชกาลที่ 8 อันเป็นพระเชษฐาที่รักยิ่งของพระองค์

 

9. โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง (Pak Phanang Project)

9
credit : cad

ในอดีตที่ราบลุ่มแม่น้ำปากพนังนั้นเคยเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ แต่เนื่องจากการเจริญเติบโตของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชากร อีกทั้งยังเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมขึ้นหลายครั้งจนทำให้ประชาชนเดือดร้อนไปตามๆ กัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้จึงได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง เพื่อช่วยเหลือราษฎรหลายครั้ง

เช่นการก่อสร้างประตูระบายน้ำที่ปากพนังเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วม และทำระบบกระจายน้ำเพื่อการเพาะปลูกในพื้นที่ลุ่มปากพนัง เป็นต้น

 

10. โครงการพลังงานทดแทน (Renewable Energy)

11
credit : eppo

เมื่อนานมาแล้วโครงการพลังงานทดแทนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง พระองค์ทรงริเริ่มให้มีการวิจัยทดลอง ผลิตและใช้พลังงานทดแทนจากพืช ทั้งเอทานอลที่ใช้ผสมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ รวมทั้งการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว เป็นต้น

และในปี 2000 กองงานส่วนพระองค์ได้ทำการทดลองนำน้ำมันปลา์มบริสุทธิ์ (ปาล์มดีเซล) ที่ได้ทำการวิจัยมาแล้ว มาทดลองใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล และก็เป็นผลสำเร็จ

นับจากนั้นต่อมาหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และบริษัทผู้ค้าน้ำมัน ร่วมมือกันพัฒนาหน่วยผลิตต้นแบบในหลาย ๆ โครงการอย่างต่อเนื่อง จนสามารถนำมาผลิตได้ในเชิงพาณิชย์

 

ที่มา : thebigchilli

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก : chaipat, rid, สะพานพระราม8โครงการฝนหลวง, โครงการหลวง

Comments

Leave a Reply