17 ปฏิกิริยาเคมีแสนสนุกและเพลินตา ที่โรงเรียนหลายแห่งไม่ได้ทำให้เราดู!!

ว่ากันด้วยเรื่องของวิชาเคมีที่เราเรียนๆ กัน ประสบการณ์ส่วนตัวของ #เหมียวเลเซอร์ ที่จำได้แม่นเกี่ยวกับวิชานี้ก็คือการมานั่งท่องตารางธาตุต่างๆ เพื่อเอาไปสอบปากเปล่ากับคุณครูเก็บคะแนน ดีไม่ดี ตามมาหลอกหลอนจนกระทั่งสอบปลายภาคกันเลย ไม่เคยได้แตะบีกเกอร์ หยอดสารนู่นนี่นั่นเลย

อ่ะ นั่นก็เป็นเรื่องของอดีตกันไป ถึงแม้จะไม่มีโอกาสได้ทดลองด้วยตัวเอง แต่ด้วยพลังของอินเตอร์เน็ตก็สามารถหามาดูได้ไม่ยาก และก็ขอฝาก 16 ปฏิกิริยาเคมีมาให้ทุกท่านได้รับชมกัน จะเจ๋งมากน้อยแค่ไหน…

 

ปรอททำปฏิกิริยากับอลูมิเนียม

อลูมิเนียมเมื่อนำมาผสมกับออกซิเจนจะได้ออกมาเป็น อลูมิเนียมออกไซด์ ที่ทนทานต่อแรงขีดข่วนได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อนำมาผสมกับปรอทปุ๊บ จะทำหน้าที่ตรงกันข้าม กัดกร่อนสภาพผิวอลูมิเนียมได้อย่างรวดเร็ซ

chemical-reaction-so-hot (5)

 

อลูมิเนียมทำปฏิกิริยากับไอโอดีน

ปฏิกิริยาระหว่างอลูมิเนียมและไอโอดีนนี้ มีตัวเร่งปฏิกิริยาเป็นน้ำ เมื่อทั้งสามมาผสมกันแล้วไอโอดีนก็จะพวยพุ่งออกมาเป็นประกายพร้อมกับควันสีม่วง (การทดลองนี้อันตรายนะจ๊ะ)

chemical-reaction-so-hot (7)

 

ปฏิกิริยาเบลูซอฟ–จาโบทินสกี (การผสมโพแทสเซียมโบรเมต ซีเรียม(IV) ซัลเฟต และกรดมาโลนิกในกรดซัลฟิวริกที่ถูกเจือจาง)

ปฏิกิริยาเบลูซอฟจาโบทินสกี (Belousov–Zhabotinsky Reaction) หรือ ปฏิกิริยาบีซี (BZ Reaction) เป็นการผสมของสารข้างต้น ส่งผลทำให้เกิดตัวแกว่งสารเคมีไม่เชิงเส้น

chemical-reaction-so-hot (3)

 

การหยดเลือดลงไปในไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์

เลือดและเซลล์ประกอบด้วยเอนไซม์ที่เรียกว่า Catalase เมื่อมันมาเจอกับไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ มันจะเปลี่ยนไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) เป็นน้ำ (H2O) และก๊าซออกซิเจน (O2)

chemical-reaction-so-hot (8)

 

การสลายตัวเร่งปฏิกิริยาของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์

การทดลองนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า Elephant Toothpaste สามารถทดลองได้ง่ายๆ โดยใช้น้ำอัดลมผสมไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และนำยีสต์ที่ผสมในน้ำอุ่นเทตามลงไป ก็จะตู้มกลายมาเป็นโฟมขนาดยักษ์

chemical-reaction-so-hot (15)

 

แม่เหล็กเหลว (Ferrofluid)

แม่เหล็กเหลวก็คือของเหลวที่สามารถเปลี่ยนรูปร่างเมื่ออยู่ภายใต้สนามแม่เหล็ก โดยจะเปลี่ยนรูปร่างตามทิศทางของเส้นแรงแม่เหล็ก

chemical-reaction-so-hot (16)

 

ตอกไฟฟ้าให้กลายเป็นต้นไม้

ปรากฏการณ์ไฟฟ้าก่อนถูกสลายตัวในฉนวนกันความร้อนที่เป็นของแข็ง มันเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากการปล่อยกระแสไฟฟ้าบางส่วนออกไป จนกลายออกมาเป็นลวดลายคล้าบกับกิ่งก้านของต้นไม้

chemical-reaction-so-hot (6)

 

การทำงานของแฟลชกล้อง

หลอดไฟประกอบไปด้วยขดลวดแมกนีเซียม และเมื่อชัตเตอร์กล้องทำงาน กระแสไฟจะถูกส่งผ่านขดลวด โดยไม่กระทบกับตัวแมกนีเซียม จนได้ออกมาเป็นแสงแฟลชสว่าง

chemical-reaction-so-hot (13)

 

การเผาไหม้ของลิเธียม

chemical-reaction-so-hot (2)

 

เส้นอนุภาคอัลฟาจากการสลายตัวของกัมมันตรังสี

chemical-reaction-so-hot (14)

 

การเผาไหม้ของ Mercury (II) thiocyanate

chemical-reaction-so-hot (17)

 

ดีบุกสีขาวกลายมาเป็นดีบุกสีเทาหลังถูกแช่แข็งในอุณหภูมิต่ำกว่า 13 องศาเซลเซียส

chemical-reaction-so-hot (12)

 

เมื่อนำพิษงูมาผสมกับเลือด

chemical-reaction-so-hot (10)

 

โซเดียมอะซิเตทตกผลึก

chemical-reaction-so-hot (1)

 

การคายน้ำของน้ำตาลในกรดกำมะถัน

chemical-reaction-so-hot (9)

 

ส่วนอันนี้นึกว่าเป็นตัวอะไรซักอย่างโผล่ออกมาจากนรก บรึ๋ยยยยย!!

chemical-reaction-so-hot (4)

 

เป็นอย่างไรกันบ้างจ๊ะ ในคาบเรียนวิชาเคมีของใครได้ทำการทดลองแบบนี้มั่งเอ่ย!? คงจะสนุกไม่น้อยเลยนะเนี่ย

emo16

ที่มา : imgur, thechive

Comments

Leave a Reply