รวม 10 เรื่องจริงของการ “วงการแพทย์” เมื่อร้อยปีก่อน แทบไม่ต่างจากฝันร้ายในหนังสยองขวัญ!!

ทุกวันนี้วิทยาการทางการแพทย์ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว มนุษย์สามารถรักษาโรคร้ายต่างๆ ที่คนเมื่อร้อยปีก่อนทำได้แค่ฝันได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะเรื่องการผ่าตัดที่แทบจะกลายเป็นเรื่องที่ปกติธรรมดาของมนุษย์ไปแล้ว

แต่สำหรับเหล่านายแพทย์เมื่อ 100 ปีก่อนนั้น การผ่าตัดแทบไม่ต่างจาก ฉากสุดโหดเหี้ยมจากหนังสยองขวัญที่เราได้ชมกันในปัจจุบัน

 

1. ในช่วงปี 1900 การผ่าตัดคือเรื่องที่สยดสยองสุดๆ

1

 

ช่วงเวลานั้นคือช่วงเวลาที่เหล่านายแพทย์เพิ่งเรียนรู้เกี่ยวกับการผ่าตัดร่างกายมนุษย์ และวิธีการที่พวกเขาผ่าตัดนั้นจะบอกว่าป่าเถื่อนก็คงจะไม่เกินไปนัก เพราะการผ่าตัดแต่ละครั้งไม่มีการสวมถุงมือหรือผ้าปิดปากแต่อย่างใด

 

2. ไม่มีการใช้ยาสลบหรือยาชา

2

 

ในยุคนั้น การผ่าตัดคลอดลูกจะไม่มีการใช้ยาชาหรือยาสลบแต่อย่างใด พวกเขาจะใช้มีดผ่าผิวหนังชั้นนอก แล้วเอามือล้วงเข้าไป ก่อนจะเย็บแผลสดๆ ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการ “มาตรฐาน” ในสมัยนั้นเลย แม้กระทั่งโรงพยาบาลชื่อก้องโลกอย่าง John Radcliffe ในมหาวิทยาลัยอ็อกส์ฟอร์ด ก็ทำเหมือนกัน

 

3. ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเท่าไหร่

3

 

เมื่อก่อนการผ่าตัดมีเอาไว้รักษาอาการกระดูกหัก กระดูกแตก หรือว่าอวัยวะขาดเท่านั้น ส่วนการรักษาอื่นๆ ยังไม่มีการใช้จริงแต่อย่างใด เพราะการทดลองแต่ละครั้ง ผู้เข้ารับการทดลองจะต้องเจ็บปวดเป็นอย่างมาก และส่วนใหญ่ ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่ด้วยน่ะสิ

 

4. การถือกำเนิดขึ้นของยาสลบและยาชา

4

 

ยาชาและยาสลบถูกคิดค้นขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 แต่เริ่มนำมาใช้จริงๆ ก็ช่วงต้นทศวรรษที่ 20 แล้ว แต่นั่นก็แทบไม่ช่วยให้การผ่าตัดเจ็บปวดน้อยลงแม้แต่นิดเดียว

 

5. ห้องผ่าตัดและห้องเรียน

5

 

เมื่อก่อนห้องผ่าตัดของหมอกับห้องเรียนคือห้องเดียวกัน ทุกครั้งที่มีการผ่าตัด ก็จะนำคนไข้ไปนอนหน้าห้องเรียนขนาดใหญ่ แล้วทำการผ่าตัดพร้อมๆ กับมีนักเรียนนับร้อยนั่งดู

 

6. ตัดสมองเพื่อรักษาอาการป่วยทางจิต

6

 

ในสมัยก่อน การรักษาอาการป่วยทางจิต เช่นโรคซึมเศร้า หรือ อาการทางจิตเภทต่างๆ แพทย์จะใช้วิธีการตัดสมองส่วนหน้าทิ้งไป โดยพวกเขาเชื่อว่านั่นคือการทำให้เหล่าปิศาจร้ายออกมา และช่วยรักษาอาการป่วย

 

7. ใช้อินซูลิน เพื่อช่วยผู้ป่วยโคม่า

7

 

อินซูลินคือยาที่ใช้ในการรักษาโรคเบาหวานในปัจจุบัน แต่สมัยก่อนแพทย์มีการใช้เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยที่กำลังโคม่าด้วย แน่นอนว่าผู้ป่วยหลายคนไปสบายแบบไม่กลับมาเพราะการรักษาชนิดนี้แหละ

 

8. เชื่อในสัญชาตญาณ

8

 

ในยุคที่ตำราทางการแพทย์ยังไม่พัฒนาเท่าไหร่นัก แพทย์หลายคนเชื่อในสัญชาตญาณของตนเองในการหาวิธีรักษาคนไข้ เช่นเอาแม่เหล็กไปวางบนตัวคนไข้ หรือใช้วิธีการจ่ายยาแบบหลอกๆ จนคนไข้หายป่วยไปเองก็มี (placebo effect)

 

9. การรักษาด้วยน้ำ

9

 

ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 การรักษาด้วยน้ำถือว่าเป็นที่นิยมอย่างมาก โดยพวกเขาจะให้คนไข้ลงไปแช่ในน้ำติดต่อกันเป็นเวลาหนึ่งวัน เพื่อเป็นการรักษาตัวเองจากอาการป่วย

 

10. รักษาโรคซิฟิลิสด้วยปรอท

10

 

ในช่วงศตวรรษที่ 19 แพทย์เชื่อว่าวิธีการรักษาโรคซิฟิลิส คือการกินปรอทเข้าไป จนมีคำกล่าวว่า “นอนด้วยกันคืนเดียวเจอปรอททั้งชีวิต” ภายหลังก็เปลี่ยนจากการใช้ปรอทมาเป็นใช้ไข้มาลาเรียในการฆ่าเชื้อซิฟิลิสแทน (ซึ่งส่วนมากก็ตายด้วยมาลาเลียต่อ) จนกระทั่งการมาถึงของยาเพนนิซิลิน ทำให้การรักษาแบบนี้หมดไปจากโลก

 

11. ไฟฟ้ากับไมเกรน

bath5

 

ในสมัยก่อนหากใครป่วยเป็นโรคไมเกรน หมอจะแนะนำให้ใช้วิธีการแช่อ่างอาบน้ำไฟฟ้า ซึ่งผู้ป่วยจะต้องลงไปนอนในอ่างน้ำที่มีน้ำปริ่มๆ จากนั้น หมอก็จะปล่อยกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ เข้ามาเพื่อเป็นการรักษา แน่นอน การรักษาแบบนี้ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง ก็ได้แต่ภาวนาว่าไฟจะไม่รั่วเข้ามาเกินขนาดก็พอ (ฮา)

 

emo13

 

แต่ละอย่างนี่สยดสยองจริงๆ ก็ได้แต่ขอบคุณตัวเองที่เกิดมาในยุคที่การแพทย์พัฒนาไปมากแล้ว ไม่งั้นคงได้เจอเรื่องสยองๆ แบบนี้แน่นอน ฮาาา

ที่มา Wiityfeed

Comments

Leave a Reply