เราจะอยู่แบบไหน ในภาวะโลกร้อน 100 ปีข้างหน้า จาก Gavin Schmidt นักวิทย์ฯ NASA

มาถึงตอนนี้หลายๆ คนคงตระหนักถึงเรื่องภาวะโลกร้อนกันแล้วล่ะ อย่างน้อยๆ ก็สภาพอากาศที่ร้อนขึ้นกว่าเมื่อก่อนอย่างเห็นได้ชัด แถมปี 2016 อาจจะเป็นปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยถูกบันทึกมาในประวัติศาสตร์มนุษยชาติเลยก็ว่าได้ อ่านเพิ่มเติมที่นี่

‘ภาวะโลกร้อนนี่ไม่มีทางหยุดได้หรอก’ Gavin Schmidt นักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับภูมิอากาศและผู้บบริหารแห่ง Goddard Institute of Space Studies แห่ง NASA ได้เคยให้สัมภาษณ์ไว้

 

ภาวะโลกร้อน

0

 

‘และถึงแม้ว่าจะหยุดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็น 0 เลยก็ตามที (แน่นอนว่าตอนนี้มนุษย์ทำไม่ได้) ภาวะโลกร้อนก็จะไม่หยุดไปหลังจากที่เราทำลายมันมาอย่างต่อเนื่องนับร้อยๆ ปี สิ่งที่เราพอจะทำได้ก็คือชะลอกระบวนการเปลี่ยนแปลงจากภาวะโลกร้อนให้มนุษย์สามารถปรับตัวและรับกับความเปลี่ยนแปลงได้มากที่สุด’ เขากล่าว

 

การที่จะควบคุมให้อุณหภูมิขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาในระยะยาวที่นานาประเทศเคยเซ็นสนธิสัญญากันไว้เมื่อเร็วๆ นี้นั้น แทบจะไม่มีทางที่จะเป็นไปได้เลย

1

 

แต่ก็ถือว่าเป็นความพยายามที่ดีในระดับหนึ่งเช่นกัน ที่ต้องการที่จะควบคุมอุณหภูมิไว้ไม่ให้สูงขึ้นไปกว่านี้ ถึงแม้จะไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนและเด็ดขาดมากก็ตาม

2

 

ทีนี้ลองมาจินตนาการดูว่า โลกอีกหลายปีข้างหน้า ที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้นอีกสัก 3 องศาเซลเซียสนั้น จะมีรูปร่างหน้าตาและสภาพเป็นอย่างไร แตกต่างกับโลกของเราตอนนี้หรือเปล่า!?

3

 

ในกรณีนี้เราใช้อุณหภูมิเฉลี่ยจากทั้งโลกมาเป็นตัววัด นั่งหมายถึงมันไม่ได้ระบุถึงความเปลี่ยนแปลงในระดับพื้นที่ เพราะในระดับพื้นที่นั้นจะเปลี่ยนแปลงมาก-น้อย ไม่เท่ากัน บางพื้นที่อาจเปลี่ยนไปจนบ้าคลั่งเลยล่ะ

4

 

ตัวอย่างเช่น อุณหภูมิของโซน Arctic Circle ในฤดูหนาวที่ผ่านมานี้เข้าสู่จุดเยือกแข็งเพียง 1 วันเท่านั้น แต่ในส่วนของขั้วโลกเหนืออุณหภูมิกลับเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เป็นเรื่องที่แปลก แต่เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นบ่อยกว่านี้อีก…นักภูมิอากาศกล่าว

5

 

และมีการคาดการณ์ว่าจากการสำรวจในปีนี้พบว่าปริมาณน้ำแข็งลดลงเป็นประวัติกาล และดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ธรรมดาขึ้น ถ้ายังคงเกิดเหตุนี้ต่อไป ในปี 2050 กรีนแลนด์จะมีฤดูหนาวที่ปลอดน้ำแข็งเลยทีเดียว

6

 

ขณะที่ตอนปี 2012 เกิดเหตุการณ์ที่นักวิทย์หลายคนกังวล จากการที่น้ำแข็งในกรีนแลนด์ช่วง ฤดูร้อนนั้น เหลืออยู่เพียงร้อยละ 10 ของจำนวนปกติเท่านั้น…

7

 

เรื่องบวกที่จะพอมีอยู่บ้าง ก็คือแผ่นน้ำแข็งมหึมาในแอนตาร์กติกายังคงสามารถอยู่ในระดับที่เปลี่ยนแปลงน้อย ทำให้ระดับน้ำทะเลไม่สูงขึ้นมากนัก

8

 

แต่อย่าพึ่งดีใจไป จากการคาดการณ์ในปี 2100 นั้น ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นกว่าปกติ 2-3 ฟุต หรือเกือบๆ 1 เมตร นั่นหมายถึงจะทำให้ประชากรที่อยู่ในระดับนั้นอพยพออกจากถิ่นฐานกว่า 4 ล้านคนเลยล่ะ

9

 

ไม่เพียงแค่ระดับน้ำทะเลจะสูงมากขึ้นเท่านั้น แต่จะมีความเป็นกรดมากขึ้นด้วย จากการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 3 ใน 4 ส่วนที่มีอยู่บนชั้นบรรยากาศ ทำให้ทั้งเป็นกรดมากขึ้น และร้อนมากขึ้น

10

 

และถ้ากระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้เร็วจนเกินไปจนที่ธรรมชาติและสัตว์ทะเลปรับตัวไม่ทัน อาจเกิดหายนะในเรื่องนี้ขึ้นได้ อย่างในปัจจุบันก็มีจำนวนประชากรของปะการังฟอกขาวมากขึ้นเรื่อยๆ

11

 

และถึงแม้ว่าเราจะหยุดหรือลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในเขตร้อนช่วงฤดูร้อนด้วยล่ะก็  อุณหภูมิก็จะอยู่ที่ระดับร้อนมากหรือมากที่สุดอยู่ดีในปี 2050  ส่วนโซนที่อากาศหนาวก็จะร้อนมากขึ้นไปอีก

12

 

ส่วนโซนร้อนที่ร้อนกันตับแตก คนก็จะค่อยๆชินกับความร้อนระดับนั้น กลายเป็นอุณหภูมิที่ปกติไป… และมีแนวโน้มว่าจะมีช่วงที่อากาศร้อนกว่านั้นเพิ่มขึ้นมาอีกเรื่อยๆ

13

 

และเพราะความร้อน แน่นอนว่าจำนวนของฝนแล้งที่สามารถพบได้ในแต่ละพื้นที่ก็จะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น เกือบๆ เท่าตัวเลยของที่เราเคยพบกันมา

14

 

ทั้งภัยธรรมชาติอย่างไปป่า พายุฝนฟ้าคะนอง และคลื่นความร้อนก็จะมากขึ้น โดยเฉพาะในปี 2070 เป็นต้นไป…

15

 

Schmidt กล่าวว่า สำหรับตอนนี้มนุษยชาติก็เดินมาถึงปลายทางของภาวะโลกร้อนแล้ว บรรยากาศของโลกตอนนี้คือสิ่งที่หลงเหลือจากยุคน้ำแข็งครั้งก่อน

16

 

แต่เราก็อาจใช้เทคโนโลยีในการช่วยเหลือเรื่องนี้ได้เหมือนกัน มีนักวิทยาศาสตร์หลายคนคาดว่าในปี 2100 เราสามารถมีอัตราการปล่อยก๊าซเป็นลบ ด้วยเทคโนโลยีที่ใช้ดูดซึมคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ

17

 

และแน่นอน 100 ปีหลังจากนี้ โลกของเราจะอยู่ในระดับที่ ‘ร้อนมากกว่านี้มากถึงมากที่สุดเลยล่ะ’ Schmidt  กล่าว

18

 

จะว่าไปแล้วเป็นเรื่องที่น่ากลัวเหมือนกันนะ…

19

 

ก็ได้แต่ภาวนาว่าเราจะสามารถทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างช้าที่สุดเหมือนนักวิทยาศาสตร์ท่านนี้กล่าวไว้ได้เนาะ…ไม่งั้นลำบากแน่ๆ งานนี้ T^T

emo (142)

 

ที่มา: BusinessInsider

Comments

Leave a Reply