พาทัวร์วิธีการผลิต ‘ลูกแก้ว’ ที่เราใช้ดีดเล่นกันได้ กว่าจะได้มามีขั้นตอนอย่างไร!??

มนุษย์เริ่มเล่นลูกหินกันมาตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณมาแล้ว จนมาถึงเดี๋ยวนี้ เพื่อนๆ ก็คงเคยเล่นดีดลูกแก้วเหมือนกันใช่มั้ยล่ะ?? แต่หลายๆ คนก็ยังไม่รู้ว่าลูกแก้วที่เราเล่นกันมาตั้งแต่เด็กๆ เนี่ย เค้าทำมาจากอะไร วันนี้ #เหมียวขาสั้น มีคำตอบมาให้!!

ลูกแก้วส่วนใหญ่จะผลิตด้วยกระบวนการทางอุตสาหกรรม ไม่ต่างจากของเล่นหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ วัสดุที่ใช้ก็คือแก้วเพราะแก้วไม่เพียงแต่มีราคาถูกและทนทาน มันยังมีความสวยงามอันน่าทึ่งอีกด้วย

 

ขั้นตอนการผลิตอันดับแรก หาวัสดุหลักที่เป็นเศษแก้วรีไซเคิลและลูกแก้วที่ถูกส่งคืนเพราะผลิตมาผิดขนาด จะถูกนำไปหลอมในเตาเผาด้วยความร้อนราวๆ 104 องศาเซลเซียส

hm1

 

หลังจากทำการหลอมผ่านไป 16 ชั่วโมง พวกเค้าจะเปิดช่องด้านล่างของเตาเผาให้แก้วที่ถูกหลอมละลายไหลออกมา โดยทุกๆ ครึ่งวินาที เครื่องจักรที่อยู่ใต้เตาเผาจะคอยตัดกระแสแก้วหลอมเหลวที่ไหลออกมา ซึ่งจะทำให้ได้แก้วหลอมเหลวออกมาเป็นลูกๆ

hm2

 

ขนาดของลูกแก้วสามารถกำหนดได้โดยการเพิ่มหรือลดช่วงในการตัดของเครื่องจักร ถ้าตัดช้าจะได้ลูกใหญ่ ถ้าตัดเร็วก็จะได้ลูกเล็ก

hm3

 

ลูกแก้วจะกลิ้งลงมายังเกลียวสำหรับหล่อที่กำลังหมุนอยู่ การหมุนนั้นจะช่วยให้ลูกแก้วไม่ติดกัน และจะต้องใช้เวลานานถึง 72 ชั่วโมงจนกระทั่งมันเย็นตัว

hm4

 

การหมุนของเกลียวจะทำช่วยทำให้ลูกแก้วร้อนๆ ไม่แห้งติด และจะช่วยปั้นตัวลูกแก้วให้เป็นทรงกลม

hm5

 

พอลูกแก้วเข้ารูปและเย็นลงแล้ว มันก็จะถูกส่งต่อไปยังช่องทางลำเลียงถัดมา ซึ่งจะคอยคัดแยกลูกแก้วที่ไม่ได้ขนาดออก

hm6

 

เท่านี้ก็ได้ลูกแก้วสวยๆ ที่มีขนาดเท่ากันทุกประการ

hm7

 

.

14_shutterstock_2584271

 

แต่สำหรับลูกแก้วที่มีลวดลายสลับซับซ้อนมากขึ้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นงานผลิตด้วยมือ

Marbles

 

ขั้นตอนการผลิตก็จะแตกต่างไปจากการใช้เครื่องจักร อันดับแรกพวกเขาจะต้องนำ”แก้วใส” และ”แก้วสี” ไปเผาทิ้งไว้หนึ่งคืนจนกระทั่งละลาย ซึ่งก่อนเผาแก้วสี จะต้องนำมาทำให้แตกเป็นชิ้นๆ ก่อน

hm10

 

ต่อมาก็นำแก้วใสที่ละลายตัวมาม้วนรวมกันไว้ที่ด้ามเหล็กแท่งยาวๆ จากนั้นก็นำแก้วสีที่เผาแล้วมาใส่ไว้ด้วยกัน

hm11

 

ทำการยืดมันออกจนกระทั่งทั้งก้อนกลายเป็นเส้นบางๆ เหมือนเส้นก๋วยเตี๋ยว ยาวเกือบ 16.5 ฟุต

hm12-horz

 

นี่ก็คือแท่งสีที่เขาใช้ในการทำแกนประดับภายในลูกแล้ว ซึ่งในการทำลวดลายลูกแก้วหนึ่งลูกก็ต้องเลือกใช้หลายสีเลยทีเดียว

hm14-horz

 

ไม่ง่ายเลยใช่มั้ยล่ะ!? ต่อไปนี้แหละคือการทำลูกแก้วที่มีลวดลายแบบสลับซับซ้อนของจริง

 

เริ่มต้นที่ขั้นตอนแรกอันดับแรก นำแก้วไปเผาร้อนในเตาเผาจนละลาย และรวบรวมแก้วที่ละลายแล้วไว้บนด้ามเหล็ก แล้วนำมาก็จัดรูปด้วยหนังสือพิมพ์เปียกๆ พร้อมกับจัดรูปที่ส่วนปลาย

hm16-horz

 

ต่อไป นำแก้วที่เผาไปกลิ้งกับแท่งสีที่ให้ความร้อนมาก่อนแล้ว จากนั้นก็นำกลับไปเผาอีกครั้ง

hm19-horz

 

ขั้นตอนนี้เขาทำซ้ำไปซ้ำมาถึง 3 รอบ ในขณะเดียวกันก็นำแก้วที่เผามากลิ้งกับโต๊ะโลหะ เพื่อทำให้พื้นผิวเสมอกัน และปิดท้ายด้วยการเคลือบแก้วใสอีกชั้น

hm20-horz

 

ต่อไป เขาก็ทำการยืดมันออกจนมีความยาวประมาณ 1 ฟุตครึ่ง เพื่อจะได้ตัดแบ่งเป็นแกนหลายๆ อัน

hm23-horz

 

ขั้นตอนต่อมาคือการเพิ่มชั้นสีภายในลูกแก้ว ก่อนอื่นเค้าก็นำแกนอันเดิมที่กำลังร้อนๆ มากลิ้งกับแท่งสีขนาด 2 นิ้วให้ขนาบทั้งสองข้าง จากนั้นก็นำไปเผาให้อ่อนตัว และใช้คีมบีบแถบแท่งสีให้แบน พร้อมกับตัดส่วนปลายที่เกินออกมาทิ้ง

hm25-horz

 

จากนั้นเค้าก็นำไปห่อหุ้มอีกชั้นด้วยแก้วใส แล้วก็จัดรูปอีกครั้ง

hm26-horz

 

หลังจากนั้น นำกลับไปกลิ้งบนแท่งสีเพิ่มอีก แล้วนำไปเผาด้วยวิธีเดิม และปิดท้ายการหุ้มด้วยแก้วใสอีกชั้น เท่านี้ก็แกนประดับของลูกแก้วก็เสร็จแล้ว ซึ่งรวมแล้วมีถึง 6 ชั้นเลยทีเดียว

hm34-horz

 

ต่อไปก็นำมาก่อรูป ทำให้เป็นทรงกลมตามขนาดที่ต้องการ ซึ่งแกนอันนี้อันเดียวสามารถทำเป็นลูกแก้วไซส์ลูกกอล์ฟได้ประมาณ 5 ลูก

hm28-horz

 

ทำการกรีดรอยบริเวณที่ต้องการจะตัด แล้วนำมาเคาะให้มันแยกออกจากกัน

hm30-horz

 

ใช้ความร้อนลบรอยขรุขระที่เกิดขึ้นจากการแตกตัว

hm32-horz

 

จากนั้น เข้าเตาอบที่อุณหภูมิ 530 องศาฟาเรนไฮต์ แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นลง เพื่อเป็นการเสริมความแข็งแรงและทนทานให้กับลูกแก้วมากขึ้น เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย!!

 

ใครที่นึกภาพไม่ออกก็มาดูคลิปกันดีกว่า เพลินดีด้วยล่ะจะบอกให้!!

 

นี่แหละคือขั้นตอนการผลิตลูกแก้วที่เราเล่นกันมาตั้งแต่เด็กๆ เห็นแล้วอยากกลับไปเล่นดีดลูกแก้วอีกครั้งจัง… (แอบอยากกินลูกกวาดด้วยแหละ)

Emo (34)

ที่มา: TRR56 เครดิตภาพ: alicentit

Comments

Leave a Reply