“ฆ่าคนชรา” ประเพณีสุดสะเทือนใจจากอินเดีย สาเหตุเพียงเพราะ “ความจน”

เราอาจเคยได้ยินประเพณีแปลกๆ จากประเทศต่างๆ ทั่วโลก แต่เชื่อว่าไม่มีประเพณีไหนน่าสะเทือนใจเท่าประเพณีจากประเทศอินเดียนี้อีกแล้ว เพราะพวกเขามีประเพณี “ฆ่าคนชรา” นั่นเอง

ประเพณีฆ่าคนชรา หรือ Thalaikoothal เป็นประเพณีที่มีอยู่จริงในเขตรัฐทมิษนาฑู ในทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย โดยเมื่อถึงวันหนึ่ง เหล่าลูกหลานจะลงมือฆ่าผู้เฒ่าผู้แก่ของบ้านด้วยตัวเอง เหตุผลเพราะ “ความยากจน”

 

1

 

โดยลูกหลานจะอาบน้ำมันให้กับคนชราเหล่านั้น และนำน้ำมันมะพร้าวมาให้ดื่ม ตามด้วยน้ำกะเพรา (Tulsi) และตามด้วยนม เมื่อคนชราได้ดื่มเข้าไป พวกเขาจะเกิดอาการป่วยไข้ขึ้นอย่างหนัก และจะเสียชีวิตในวันสองวันต่อมา

แม้การฆ่าคนจะเป็นเรื่องผิด (ทางนิตินัย) แต่ประเพณีนี้ก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันสำหรับผู้คนในแถบนี้ เพราะผู้คนในเขตรัฐทมิษนาฑู ต่างเป็นเพียงเกษตรกรยากจน พวกเขาไม่มีทั้งเงินและเวลาที่จะมาดูแลคนแก่ที่เหลือชีวิตอีกไม่นาน

 

03022016M37

 

ซึ่งคนชราเหล่านั้นก็เข้าใจเหตุผลและยินยอมที่จะตายด้วยน้ำมือของลูกหลานของตนเอง เพราะพวกเขารู้ว่า นั่นเป็นการกระทำที่เต็มไปด้วยความปราถนาดี และการตายของพวกเขาจะทำให้ชีวิตของลูกหลานสบายยิ่งขึ้น

ชาวบ้านคนหนึ่งกล่าวว่า พวกเราไม่ได้อยากฆ่าพวกเขา พวกเราไม่ได้ทำเพื่อความสะใจ แต่พวกเขามีชีวิตเหลืออีกไม่นานแล้ว ทำไมพวกเขาต้องทนทุกข์ทรมานจากความยากจนด้วย”

 

03022016M39

 

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันประเพณีค่อยๆ เลือนหายไปจากสังคมทมิษนาฑูแล้ว อาจเป็นเพราะความเจริญที่เริ่มเข้าไปถึงพื้นที่ชนบทต่างๆ พวกเขาเริ่มมีเงิน พวกเขาจึงสามารถดูแลคนแก่คนเฒ่าได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น

“ทุกวันนี้ผมดูแลคนแก่สองคนในบ้าน และผมก็จะดูแลไปเรื่อยๆ ตราบเท่าที่พวกเขาอยากจะมีชีวิตอยู่ หรือโชคชะตาจะพาเขาไป” ชายคนหนึ่งกล่าว

 

03022016M40

 

และอย่างที่กล่าวไปข้างตน การฆ่าคนเป็นเรื่องผิดกฎหมาย เมื่อปี 2010 มีชายแก่วัย 80 ปี ชาวทมิษนาฑูคนหนึ่ง ได้ยินครอบครัวของเขากำลังวางแผนที่จะฆ่าเขาอยู่

เขาจึงนำเรื่องดังกล่าวไปแจ้งกับตำรวจ ตำรวจได้เข้าจับกุมผู้ร่วมวางแผนได้นับสิบคน รวมถึงขยายผลจับกุมผู้มีส่วนรู้เห็นต่อการหายไปอย่างลึกลับของคนเฒ่าคนแก่ภายในหมู่บ้านในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาอีกด้วย

 

emo20

 

เรียกว่าเป็นอีกประเพณีที่แปลกอีกประเพณีหนึ่งในโลกจริงๆ สิ่งที่พวกเขาทำนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ถูกหรือว่าผิดหรือไม่นั้น เหมียวไม่ขอออกความเห็นก็แล้วกัน เพราะถือว่าในแต่ละพื้นที่นั้นมีทัศนคติ ความเชื่อ และชุดความคิดที่ต่างกันออกไป แล้วเพื่อนๆ ล่ะคิดเห็นอย่างไรบ้าง ลองเสนอกันเข้ามานะเหมียว

ที่มา Times of India, The Logical Indian, LA Times

Comments

Leave a Reply