เรื่องจริงเบื้องหลังวินาทีประวัติศาสตร์ของ Martin Luther King Jr. กับสุนทรพจน์ ‘I have a dream…’

เหมียวคิดว่าคงไม่มีใครไม่รู้จักสุดยอดสุนทรพจน์นี้ “I have a dream … “ ของ Martin Luther King Jr. ที่พยายามยกระดับความเท่าทียมในการเป็นพลเมืองให้กับเหล่าคนผิวสี ซึ่งก็ต้องบอกเลยล่ะว่าเป็นหนึ่งในสุนทรพจน์ที่ดี และโด่งดังไปทั่วโลก!!!

แต่เหตุการณ์วินาทีสำคัญนี้จะไม่เกิดขึ้นถ้าขาดขาดเพื่อนร่วมอุดมการณ์ของเขาอีก 5 คน และการเดินขบวนของมวลมหาประชาชนคนผิวดำ และผิวขาวบางส่วน จำนวนกว่า 250,000 คน ไปยังวอชิงตันในวันที่ 28 สิงหาคม 1963…และนี่คือเรื่องราวทั้งหมดเบื้องหลังของวินาทีนั้น…

 

เรื่องราวย้อนกลับไปในปี 1963 1963 ที่รัฐอลาบาม่า ได้มีเหตุการณ์ระเบิดโบสถ์ของกลุ่มเหยียดผิว KKK ทำให้เด็กผิวสีทั้ง 4 ราย เสียชีวิต

1

 

เรียงจากทางด้านซ้ายมือ…Denise McNair, 11; Carole Robertson, 14; Addie Mae Collins, 14 และ Cynthia Wesley, 14

 

นั่นทำให้ Martin Luther King, Jr. หันมาใส่ใจในด้านนี้ จัดตั้งองค์กรและกิจกรรมการต่อต้านการเหยียดผิวมากมาย เขาและเพื่อนๆ ร่วมอุดมการณ์ถูกจับในวันที่ 12 เมษายน 1963

2

 

แถมสถานการณ์ในรัฐทางใต้ตอนนั้นก็ระอุขึ้น นี่คือภาพที่นักดับเพลิงนำสายยางฉีดน้ำความแรงสูง ฉีดใส่ผู้เข้าประท้วง แถมยังนำสุนัขตำรวจมาไล่พวกเขา ทั้งๆ ที่มาชุมนุมด้วยหลักอหิงสา3

 

การลอบสังหาร Medgar Evers หนึ่งในผู้กำกับขององค์กร Mississippi NAACP ซึ่งเป็นชาวผิวสี ก็ได้สร้างความไม่พอใจและเศร้าสลดในสังคมคนผิวสี ในภาพคือภรรยาของเขาที่บรรจงก้มลงจูบร่างไร้สิญญาณของสามี4

 

ก่อให้เกิดการเดินขบวนครั้งแรกในวอชิงตัน จากทำเนียบขาวสู่กระทรวงยุติธรรมเพื่อเรียกร้องความยุติธรรม5

 

ในช่วงนั้นกระแสเรียกร้องสิทธิให้เหล่าคนผิวสีก็ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น นี่คือภาพของ Alison Turaj  ที่ยังเดินขบวนเพื่อเรียกร้องสิทธิให้เหล่าคนผิวสี ใน Baltimore แม้จะถูกกลุ่มผู้ต่อต้านาวผิวขาวปาหินใส่จนเกิดบาดแผลบนใบหน้า6

 

6 แกนนำหลักของคนผิวสีที่วางแผนการเดินขบวนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ได้ไปประชุมกันที่นิวยอร์กในวันที่ 2 กรกฎาคม 7

 

ผู้จัดวางผังการเดินและอาจเรียกได้ว่าเป็นแม่งาน Bayard Rustin และเป็นต้นคิดเรื่องการขายกระดุมที่ระลึก เพื่อนำเงินมาจัดการเดินขบวน8

 

อพาร์ทเม้นท์ของเขา ที่เขาใช้วางแผนงานทั้งหมด9

 

เหล่าดาราหลายคนก็ได้ช่วยเหลือทางด้านทุนทรัพย์ในการเดินขบวนครั้งยิ่งใหญ่ครั้งนี้ ในภาพคือ Paul Newman โดยการเปิดการแสดงของเขาใน Harlem’s Apollo Theater ซึ่งรายได้พุ่งสูงถึง 30,000 เหรียญเลยทีเดียว10

 

แต่ผู้สนับสนุนรายใหญ่ที่สุดก็คงไม่พ้น A. Philip Randolph ที่นำสมาชิกทั้งหมดของกลุ่ม Brotherhood of Sleeping Car Porters ซึ่งเป็นกลุ่มของชาวผิวดำที่ใหญ่ที่สุดในตอนนั้น ทั้งด้านกำลังคนและกำลังทรัพย์11

 

การเดินขบวนในวันนั้นมีผู้คนที่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ ทุกเพศ เชื้อชาติ และสีผิว ร่วมกันเดินขบวนไปยังจุดนัดพบ12

 

นาย Ledger Smith ในวัย 27 ปี ได้เริ่มการเดินทางไปเดินขบวนของเขา โดยการใช้สเก็ทเดินทางจากชิคาโกไปวอชิงตัน ระยะทางรวมกว่า 1,000 กิโลเมตร ภายในระยะเวลา 10 วัน13

 

บางกลุ่มก็เดินทางกันเป็นร้อยๆ กิโลเมตรเพื่อมาเข้าร่วมการเดินขบวนในครั้งนี้14

 

เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จัดวางกำลังไว้นับพันนาย เพื่อรับมือเหตุความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นในวันเดินขบวน15

 

ในวันนั้นกลุ่มต่อต้านชาวผิวสีได้ถูกออกคำสั่งไม่ให้มีความเคลื่อนไหว ในภาพคือ George Rockwell หนึ่งในหัวหน้าของกลุ่มต่อต้านชาวผิวสีและชาวยิว ได้พยายามเข้าไปในขบวนพาเหรด ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่หยุดเอาไว้ได้เสียก่อน16

 

ด้วยการคาดคะเนที่ว่าจะมีผู้คนกว่าหนึ่งแสนคนเข้าร่วมการเดินขบวน สายโทรศัพท์เพิ่มเติมจึงถูกติดตั้งเพื่อรองรับการสื่อสาร17

 

แต่วันจริงกลับมีผู้เข้าร่วมกว่า 250,000 คนด้วยกันและอาจมากกว่านั้น นับเป็นการเดินขบวนเพื่อเรียกร้องสิทธิครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา18

 

และที่นั่น สุนทรพจน์อันเลื่องชื่อ ‘I have a dream…’ ก็ได้เกิดขึ้น19

 

ซึ่งคืนก่อนหน้านั้นที่ปรึกษาของเขากล่าวกับเขาว่าคุณไม่ควรขึ้นต้นด้วยประโยค ‘I have a dream…’ เพราะว่ามันจำเจและดูน่าเบื่อ แต่ผลที่ออกมาก็คือ เขาก็ยังคงใช้มันอยู่ดี…20

 

และวลีเด็ดของเขา ก็ได้กลายมาเป็นวลีทางการเมืองที่มีอิทธิพลที่สุดของศตวรรษที่ 20 เลยทีเดียว จากการศึกษาและเก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัย Wisconsin21

 

และเรื่องราวเกี่ยวกับการต่อสู่เพื่อสิทธิที่เท่าเทียมของพวกเขา แน่นอน…ว่าได้กลายมาเป็นตำนานจนถึงทุกวันนี้
22

 

ได้ฟังเรื่องราวนี้แล้วรู้สึกขนลุกจริงๆ เป็นการต่อสู้เพื่อสิทธิและเสรีภาพที่งดงามมากๆ พวกเขาไม่ได้เรียกร้องสิทธิให้เฉพาะคนผิวสีในประเทศนะเนี่ย เหมียวคิดว่าเรื่องนี้มีผลกระทบไปทั้งโลกเลยล่ะ!!

ที่มา: BusinessInsider

Comments

Leave a Reply