ย้อนรอย “เครื่องอินิกมา” อุปกรณ์เข้ารหัสแห่งนาซีเยอรมัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

เชื่อว่าคงมีเพื่อนๆ หลายคนไม่น้อยเลยที่เคยได้ยินเรื่องราวของ “เครื่องอินิกมา” กันมาบ้าง เพราะนี่เป็นเครื่องมือเข้ารหัสข้อความที่มีบทบาทเป็นอย่างมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

 

 

เจ้าเครื่องมือชิ้นนี้ ถูกคิดค้นขึ้นโดยวิศวกรชาวเยอรมันชื่อ “อาร์ทูร์ แชร์บีอุส” ในช่วงหลังจากจบสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเล็กน้อย และมีจุดเด่นอยู่ที่ความยากลำบากในการถอดรหัส

อ้างอิงจากข้อมูลของเครื่องอินิกมาที่ยังพอเหลืออยู่ ทุกครั้งที่มีการพิมพ์ตัวอักษรด้วยเครื่องมือชิ้นนี้ ตัวอักษรที่พิมพ์จะถูกนำไปสลับเป็นตัวอักษรอีกตัวหนึ่ง ตามรูปแบบที่สามารถกำหนดได้อย่างละเอียดซับซ้อน

 

ตัวอักษรหนึ่งตัวจะสลับไปเป็นตัวอะไรนั้น ขึ้นอยู่กับชุดตัวเลข (หรือบางครั้งก็เป็นตัวอักษร) 3 ชุดนี้

 

หลังจากสลับตัวอักษรด้วยระบบข้างต้นแล้ว หากผู้ใช้งานต้องการพวกเขาก็สามารถ สลับตัวอักษรซ้ำอีกครั้งได้ด้วยสายข้างล่างนี้

 

นั่นทำให้ตัวอักษรหนึ่งตัวที่พิมพ์ด้วยเครื่องนี้นั้น อาจถูกเข้ารหัสได้ถึง 17,576 แบบ และกลายเป็นเรื่องที่สร้างปัญหาให้แก่ทีมถอดรหัสของฝั่งสัมพันธมิตรเป็นอย่างมาก

นับว่าเป็นความโชคดีของฝั่งสัมพันธมิตรมากที่ ทีมถอดรหัสซึ่งนำโดยคุณแอลัน ทัวริงของพวกเขาสามารถ ถอดรหัสของเครื่องอินิกมาได้ในท้ายที่สุด โดยอาศัยความผิดพลาดของทางนาซีที่มักสื่อสารกันด้วยคำว่า “Heil Hitler” และเครื่องอินิกมาที่ยึดได้จากฝั่งเยอรมัน

 

 

แต่แม้จะถอดรหัสได้แล้วก็ตาม การมีอยู่ของเครื่องอินิกมาเองก็นับเป็นความเสี่ยงของทั้งฝั่งนาซีและฝั่งสัมพันธมิตรอยู่ดี

ดังนั้นตั้งแต่ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งฝั่งนาซีและฝั่งสัมพันธมิตรจึงเริ่มทำการทำลายอุปกรณ์ชิ้นนี้ทิ้งอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ในปัจจุบันเรามีเครื่องอินิกมาจากสมัยสงครามโลกเหลืออยู่เพียงแค่ราวๆ 250 ชิ้นเท่านั้น

 

 

ความหายากนี้เองทำให้เครื่องเครื่องอินิกมาที่หลงเหลืออยู่นั้นมีคุณค่ามากอย่างไม่น่าเชื่อในสายตานักสะสม จนถึงขั้นที่ว่าในปี 2017 เครื่องอินิกมานั้นมีราคาประมูลสูงถึง 1.62 ล้านบาท และในปี 2019 นี้เอง เครื่องมือชิ้นนี้ก็มีราคา “เปิดประมูล” พุ่งไปมากถึง 6.3 ล้านบาทเลยทีเดียว

 

ที่มา livescience, theguardian, brilliant และ britannica

Comments

Leave a Reply