เรื่องราวของ Anatoli Bugorski ชายผู้รอดชีวิตจากการโดนเครื่องเร่งอนุภาคยิงโปรตอนใส่ศีรษะ

เพื่อนๆ เคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับ “เครื่องเร่งอนุภาค” กันไหม มันคือเครื่องมือชนิดหนึ่งที่อาศัยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าในการเร่งให้อนุภาคที่มีประจุเคลื่อนที่เร็วขึ้น

ซึ่งตั้งแต่ที่คิดค้นมา เจ้าเครื่องมือนี้ก็มีส่วนช่วยในการค้นพบทางฟิสิกส์มาแล้วหลายอย่าง

 

 

ว่าแต่จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าหากว่าวันหนึ่งมีใครสักคนบังเอิญเอาหัวเข้าไปติดในเครื่องมือแบบนี้ ซึ่งมันเป็นเรื่องเกิดขึ้นจริงๆ กับคุณ Anatoli Petrovich Bugorski

เรื่องราวสุดแปลกนี้เกิดขึ้นในวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1978 ในระหว่างที่คุณ Anatoli กำลังตรวจสอบการทำงานเครื่องเร่งอนุภาคโปรตอน Synchrotron U-70 ของโซเวียตอยู่

 

 

เขาพบว่าเครื่องเร่งอนุภาคเกิดปัญหาบางอย่างขึ้นในระบบการทำงาน ดังนั้นด้วยความสงสัยและลืมตัว คุณ Anatoli จึงตัดสินใจยื่นหัวเข้าไปภายในเครื่องเพื่อตรวจสอบว่าเกิดอะไรขึ้น แต่ก็ต้องพบกับแสงสว่างที่ “จ้ากว่าดวงอาทิตย์เป็นพันๆ ดวง”

ในเวลานั้น คุณ Anatoli ไม่ได้รู้ตัวเลยว่าเขากำลังถูกยิงโดยรังสีเข้มข้นในรูปแบบของลำแสงโปรตอน เขาที่ศีรษะอย่างจังเข้าแล้ว

แต่ลำแสงนั้นพุ่งผ่านศีรษะของเขาไปเร็วมาก จนเจ้าตัวบอกว่าไม่ได้รู้สึกเจ็บอะไรเลย

คุณ Anatoli ดูเหมือนจะไม่เป็นอะไรมากนักในตอนแรก แต่หลังจากนั้นไม่นานนักศีรษะข้างซ้ายของเขาก็เริ่มบวมขึ้นคล้ายลูกโป่ง เนื้อหนังใกล้จุดที่โดนยิงก็เริ่มที่จะหลุดลอกออกไป

แถมจากการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญ สมองของเขานั้นถึงกับมีรอยไหม้เป็นเส้นตรงตัดผ่านเลยด้วย

 

 

อ้างอิงจากแพทย์หลายๆ คน คุณ Anatoli นั้นควรจะได้รับรังสีในปริมาณที่สูงมากๆ จากเหตุการณ์นี้ และน่าจะมีชีวิตได้อีกไม่นานแล้ว แต่ก็น่าแปลกมากที่คุณ Anatoli กลับสามารถมีชีวิตรอดต่อมาได้อย่างน่าเหลือเชื่อ

อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ในวันนั้นก็ใช่ว่าจะไม่มีผลกระทบใดๆ เลย เพราะหลังจากวันที่เกิดเหตุมา คุณ Anatoli ก็ต้องพบกับผลข้างเคียงของการโดนโปรตอนยิงใส่ศีรษะอยู่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นใบหน้าซีกซ้ายที่เป็นอัมพาต หูซ้ายหนวก และมีอาการหมดสติหรือชักเป็นพักๆ

แต่หากจะให้กล่าวถึงเรื่องที่แปลกที่สุดของเหตุการณ์ในครั้งนี้ก็คงไม่พ้นการที่ใบหน้าซีกซ้ายของคุณ Anatoli นั้นแทบจะไม่มีความเหี่ยวเลยตั้งแต่วันนั้น

ซึ่งแพทย์บางกลุ่มเชื่อว่าอาจจะเป็นผลข้างเคียงของการที่ใบหน้าซีกซ้ายของเขาขยับไม่ได้นั่นเอง

 

 

ที่มา mentalfloss และ sciencealert

Comments

Leave a Reply