นักคณิตศาสตร์ชื่อดัง เผยสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อของ กกต. ‘ผิดพลาดถึง 4 จุด’ !!

ประชาชนหมู่มากคงได้รับทราบถึงจำนวน “ส.ส.บัญชีรายชื่อ” จากสูตรการคำนวณของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กันไปแล้ว นับตั้งแต่วันที่ 8 พ.ค. 2019

โดยผลลัพธ์จากสูตรคำนวณนั้นก็ได้สร้างความสงสัยให้กับบางคนว่า “มีความถูกต้อง เหมาะสมอย่างที่ควรเป็นหรือไม่?” และนั่นก็ทำให้ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนได้ลองวิเคราะห์ถึงเรื่องนี้

 

 

หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญที่ให้ความสนใจกับสูตรคำนวณดังกล่าวก็คือ นายลอย ชุนพงษ์ทอง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ ผู้ทรงคุณวุฒิสหวิทยาการ ราชบัณฑิตสภา

และจากการวิเคราะห์สูตรคำนวณดังกล่าวแล้วนั้น ล่าสุด (9 พ.ค.) เขาก็ได้ออกมาโพสต์คลิปที่ต้องการจะบอกว่า กกต. นั้นคิดสัดส่วน ส.ส.บัญชีรายชื่อ “ผิดพลาดถึง 4 จุดด้วยกัน”

 

 

เขาอธิบายว่า..

ความผิดแรก การคำนวณข้อ 3 ส.ส.เพื่อไทย ต้องได้ติดลบ ในครั้งนี้ได้ 110.74 – 136 = -25.26 การที่ กกต. ไปทำให้เป็น 0 นั้น เป็นการทำผิด มาตรา 91(3) ครับ

หลังไปทำแล้ว จึงทำให้ ส.ส.เกินมา 25.26 คน ถ้าทำถูก ส.ส.จะได้ 149 คนพอดี แต่จะไปเกิน 2 คนในข้อ 5 หลังจัดสรรจำนวนเต็มก่อนในข้อ 4

 

 

ความผิด 2 กกต. อ้างว่าการที่มี ส.ส. เกินมาถึง 25.26 คนนี้ทำให้ไม่สามารถทำตามข้อ 4 ได้ โดยที่เขาเข้าใจว่าข้อ 4 มีไว้สำหรับ ส.ส. ขาด หรือพอดี

แต่แท้จริงแล้ว ข้อ 4 มีหลุมฝังศพของพรรคที่ได้ต่ำกว่า 71,169 คะแนน ตามข้อความเพชฌฆาตนี้ “ให้จัดสรรเป็นจำนวนเต็มก่อน” (บาดใจ)

 

 

ความผิด 3 ม.128(5) ระบุเพชฌฆาตคนที่ 2 คือ “จำนวน ส.ส. ที่จัดสรรให้ ต้องไม่เกินจำนวน ส.ส. พึงมีเบื้องต้น” ซึ่งไม่ได้รับการปฏิบัติ โดยไม่อธิบายว่าทำไมไม่ทำข้อนี้ เช่น ส.ส.พรรคไทรักธรรม ย่อมได้ไม่เกิน 0.47 ซึ่งจะเป็น 1 ไม่ได้

 

 

ความผิด 4 คือ กกต. ไม่ยอมอธิบายขั้นตอนต่อไปนี้ แต่ผมจึงขอแถลงแทนให้ว่าการจะปัดขึ้นตามข้อ 7 ต้องทำให้ ส.ส. ขาด

วิธีทำให้ ส.ส.ขาด คือเอาเลข 149/174.26 ไปคูณ ส.ส. สัดส่วนพึงมีเบื้องต้น ซึ่งทำให้ ส.ส. สัดส่วนพึงมี ลดไป 14.5% (ถ้าทำมาอย่างถูกต้องจะลดลงแค่ 1.5%)

นั่นจึงเป็นเหตุให้ ส.ส. ทั้งหมดขาดไป 20 คน ต้องปัดให้พรรคที่มีเศษ ตั้งแต่ 0.372 ขึ้นไป ได้เต็มคน

 

 

สุดท้ายเขาก็สรุปไว้ว่า…

สรุป ผิด ร.ธ. ม.91 ข้อ 3, 4 พ.ร.ป. ม.128 ข้อ 3, 4, 5
—- ทั้งหมดเป็นความเห็นของผม —-

 

สามารถลองฟังที่เขาอธิบายการวิเคราะห์สูตรคำนวณแบบเต็มๆ ได้ที่คลิปนี้

 

ที่มา: Loy Academy


by

Tags:

Comments

Leave a Reply