นักวิทย์พบตำหนิใน “เพชร” อาจช่วยไขปริศนา การกำเนิดของทวีปเมื่อ 2,500 ล้านปีก่อนได้

สำหรับในปัจจุบันแล้ว “เพชร” นับว่าเป็นอัญมณีที่มีค่ามากๆ ชิ้นหนึ่งของโลก เพราะไม่เพียงแต่มันจะเป็นเครื่องประดับที่ใครๆ ก็อยากได้เท่านั้น แต่ความแข็งของมันยังสามารถนำไปใช้ในวงการอุตสาหกรรมหลายอย่าง

และเมื่อล่าสุดนี้เองเหล่านักวิทยาศาสตร์ก็พบกับประโยชน์ที่ไม่น่าเชื่ออีกอย่างของเจ้าอัญมณีสุดแพงนี้เข้าจนได้ เพราะพวกเขาได้พบว่าการตรวจสอบเพชรเหล่านี้นั้น สามารถนำไปสู่การไขปริศนาการกำเนิดทวีปแห่งแรกของโลกได้ด้วย

 

 

ที่เป็นเช่นนี้เพราะเพชรหลายๆ ส่วนที่อยู่ใต้โลกนั้น มีการเก็บเอาสารต่างๆ (อย่างกำมะถัน) เอาไว้ในรูปแบบของ “ตำหนิเพชร” ซึ่งการศึกษาเจ้าตำหนิที่จะทำให้ราคาเพชรตกลงจากที่ควรเหล่านี้เอง ที่เป็นกุญแจสำคัญของการวิจัยในครั้งนี้

อ้างอิงจากข้อมูลของนักวิทยาศาสตร์ในเพชรจากเหมืองราวๆ สี่แห่งรอบโลก ส่วนมากจะมีไอโซโทปของกำมะถันที่เกิดขึ้นในที่ซึ่งมีออกซิเจนไม่มาก และมีอายุมากถึง 2,500 ล้านปี ซึ่งนับว่าน่าสนใจมาก เพราะแม้แต่ตัวเพชรที่เก็บกำมะถันไว้เอง โดยเฉลี่ยแล้วจะมีอายุเพียง 650 ล้านปีเท่านั้น

 

 

ดังนั้นพวกเขาจึงตั้งข้อสันนิษฐานว่า กำมะถันเหล่านี้ในอดีตน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อโลกที่อยู่ในสภาพหลอมเหลว ซึ่งต่อมาไหลขึ้นมาจากใต้โลกในรูปแบบของหินบะซอลต์จนเกิดเป็นทวีป คล้ายกับการกำเนิดของประเทศไอซ์แลนด์หรือเกาะฮาวาย และเป็นเหตุผลสำคัญที่กำมะถันในเพชรไม่โดนอากาศในตอนที่เกิดขึ้น

อย่างไรก็ตามต่อมาเปลือกโลกของทวีป ได้เกิดการเคลื่อนย้ายและเหลี่ยมล้ำกันเองหลายครั้ง จนทำให้กำมะถันกลับไปอยู่ใต้ดินพร้อมๆ กับเพชรอีกที ในระหว่างที่ตัวทวีปเริ่มเคลื่อนตัวเปลี่ยนรูปร่างไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็มีสภาพเป็นแบบปัจจุบัน

แน่นอนว่างานวิจัยในครั้งนี้ จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับโลกให้กับพวกเรามากขึ้นหากนักวิทยาศาสตร์ได้รับเพชรสำหรับทดลองมากขึ้น ถึงอย่างนั้นก็ตามงานวิจัยนี้ก็เป็นอะไรที่ท้าทายทุนของเหล่านักวิทยาศาสตร์มากเลยเช่นกัน

 

 

นั่นเพราะการที่พวกเขาจะตรวจสอบสารต่างๆ ในเพชรได้นั้นพวกเขาจำเป็นที่จะต้องทำลายตัวเพชรที่ได้มาทิ้ง ซึ่งพวกเราก็ทราบกันดีว่าเจ้าหินมีค่าเหล่านี้ต่อให้มีตำหนิก็ตามมันก็ไม่ใช่ของที่มีมูลค่าน้อยๆ และหาได้ง่ายเลยนั่นเอง

 

ที่มา techtimes, livescience และ laboratoryequipment


Posted

in

by

Tags:

Comments

Leave a Reply