นักวิจัยเผย ผู้หญิงบางคนอาจมียีนหายากที่ทำให้ยาคุมกำเนิดเกิดความผิดพลาดได้บ่อยขึ้น

สำหรับคนที่ใช้งานยาคุมกำเนิดแบบรายเดือน ไม่ว่าจะเป็นแบบ 21 เม็ด หรือ 28 เม็ด คุณอาจจะเคยได้ยินมาบ้างว่ายาคุมกำเนิดรูปแบบนี้ บางครั้งก็ไม่สามารถคุมกำเนิดได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งแม้ว่าจะเกิดจากปัจจัยที่หลากหลาย แต่ส่วนมากแล้วคนก็มักจะคิดว่าเกี่ยวกับการทานยาที่ไม่ถูกต้อง

 

 

แต่จากผลงานวิจัยใหม่ล่าสุดของคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยโคโลราโดในเดนเวอร์ที่ถูกเผยแพร่ออกมาเมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 2019 ดูเหมือนว่าที่บางครั้งยาคุมกำเนิดไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์นั้น อาจจะมาจากยีนบางตัวของผู้หญิงเองก็เป็นได้

โดยในระหว่างการวิจัยในครั้งนี้ ทีมวิจัยได้พบว่าในเวลาที่ทานยาคุมกำเนิด ผู้หญิงที่มียีนหายากที่ชื่อ “CYP3A7” จะมีระดับฮอร์โมนเลือดที่น้อยกว่าผู้หญิงทั่วๆ ไป ซึ่งบางครั้งก็อยู่ในระดับที่น้อยเกินกว่าที่ยาคุมกำเนิดจะทำงานได้

 

 

ยีน CYP3A7 เดิมทีแล้วเป็นยีนที่เกี่ยวกับเอนไซม์ในตับ ซึ่งทำงานในตอนที่มนุษย์เรายังเป็นทารกในครรภ์และหยุดทำงานไปก่อนที่จะเกิด แต่ในกรณีหายาก ยีนตัวนี้ก็จะไม่มีการหยุดทำงานซึ่งส่งผลให้เด็กที่เกิดมามีความสามารถย่อยสลายยีน “Estrogen” และ “Progestin” ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ใช้ในการคุมกำเนิดได้เร็วกว่าคนทั่วไป

Dr. Aaron Lazorwitz หนึ่งในทีมวิจัยบอกว่า เมื่อก่อนนั้นหากผู้หญิงท้องในระหว่างการใช้ยาคุม โดยมากแล้วผู้คนจะโทษให้เป็นความสะเพร่าในการทานยาของฝ่ายหญิง แต่จากงานวิจัยนี้ ไม่แน่ว่าเราอาจจะต้องเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการทานยาคุมกันใหม่เลย

 

 

แน่นอนว่างานวิจัยชิ้นนี้ยังคงจำเป็นต้องมีการทดลอง กันอีกมากกว่าที่เราจะมั่นใจได้ว่ายีน CYP3A7 นั้นส่งผลต่อการทำงานของยาคุมกำเนิดจริงๆ แต่หากผลการทดลองนี้ถูกต้องจริงๆ แล้ว ไม่แน่ว่าอีกหน่อยก่อนที่จะมีการจ่ายยาคุม แพทย์อาจจะต้องตรวจยีนของผู้หญิงที่มารับยาก่อนก็เป็นได้

 

ที่มา livescience และ cnn


Posted

in

by

Tags:

Comments

Leave a Reply