นักโบราณคดีพบ โบราณวัตถุของเผ่ามายาร่วม 800 ชิ้น ใต้ทะเลสาบที่กัวเตมาลา

เมื่อพูดถึงการค้นพบเกี่ยวกับเผ่ามายาแล้ว คนเราก็มักจะนึกถึงการค้นพบในวิหารลึกลับ หรือในก็การค้นพบในผืนป่ากว้างใหญ่เป็นหลัก ว่าแต่แต่ทราบกันหรือไม่ว่าบางครั้งการค้นพบเกี่ยวกับเผ่ามายา ก็เกิดขึ้นได้ในทะเลสาบเช่นกัน

 

 

นั่นเพราะชาวมายาในสมัยก่อน นับถือทะเลสาบบางแห่งให้เป็นทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์ และมีการใช้งานในฐานะสถานที่ประกอบพิธีกรรมด้วย

ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ใต้ทะเลสาบในทางตอนเหนือของประเทศกัวเตมาลา อย่างทะเลสาบ Petén Itzá ที่ตั้งอยู่กลางเมืองโบราณ Nojpetén ทีมนักสำรวจจะสามารถค้นพบโบราณวัตถุ จมอยู่ร่วม 800 ชิ้น

 

 

โดยการค้นพบในครั้งนี้เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของทีมค้นหาวัตถุโบราณแห่งมหาวิทยาลัย Jagiellonian ของประเทศโปแลนด์ และคาดกันว่าวัตถุโบราณเหล่านี้อาจมาจากพิธีกรรมของชาวมายาจากหลายยุคหลายสมัยเลย

จากการตรวจสอบในเบื้องต้น วัตถุโบราณที่พบนี้โดยมากจะมาจากช่วงปี ค.ศ. 1000-1697 แต่ก็มีบางชิ้นเหมือนกันที่เป็นเครื่องเซรามิกซึ่งมาจากช่วง 150 ปีก่อนคริสตกาลถึงปีคริสต์ศักราช 250

ในบรรดาของที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่มีการพบนั้น ประกอบไปด้วยชามเซรามิกสามชิ้น มีดที่ทำจากหินภูเขาไฟ (Obsidian) ซึ่งเป็นไปได้ว่าในสมัยก่อนใช้ในพิธีบูชายัญสัตว์เล็ก อ้างอิงจากกระดูกสัตว์ที่ถูกพบอยู่ในถ้วยใต้น้ำ (แม้ว่าจะเป็นไปได้ว่าเกิดจากการที่สัตว์มาตายทีหลังก็ได้)

 

 

Magdalena Krzemień หนึ่งในทีมวิจัยบอกว่า สำหรับชาวมายาสมัยก่อนแล้ว น้ำนับเป็นสัญลักษณ์ทางความเชื่อที่สำคัญอย่างหนึ่ง เพราะมันเป็นสื่อกลางที่ใช้เชื่อมโลกของคนเป็นเขากับโลกของคนตาย สถานที่ซึ่งเหล่าทวยเทพของเผ่ามายาอยู่

จริงอยู่ที่ว่าการค้นพบวัตถุโบราณพร้อมๆ กันกว่า 800 ชิ้น อาจจะดูเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่สำหรับนักโบราณคดีกลุ่มนี้ แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้พวกเขาคิดจะหยุดการสำรวจไว้เพียงเท่านี้เลย เพราะในปัจจุบันพวกเขาได้มีกำหนดการในการตรวจสอบทะเลสาบแห่งนี้เพิ่มเติมแล้ว ภายในเดือนสิงหาคมปีนี้

 

ที่มา livesciencemedicaldaily

Comments

Leave a Reply