พบฟอสซิลหนูโบราณอายุกว่า 69 ล้านปี ที่เขตอาร์คติก บนเกาะที่มีกลางคืนยาวนาน 4 เดือน

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมา ทีมค้นหาซากดึกดำบรรพ์ของมหาวิทยาลัยโคโลราโด ซึ่งออกเดินทางไปยังรัฐอะแลสกา ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อทำการค้นหาซากดึกดำบรรพ์ ในเขตอาร์คติก ได้ทำการค้นพบฟอสซิลสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กสายพันธุ์ใหม่ ที่อาศัยอยู่ในช่วงเวลาเดียวกับไดโนเสาร์

 

 

เจ้าสิ่งมีชีวิตตัวที่ว่านี้ คือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในตระกูลหนู ที่ได้รับการตั้งชื่อว่า “Unnuakomys Hutchisoni” จากการร่วมคำภาษาอินุอิท “Unnuak” ที่แปลว่ากลางคืน และคำภาษากรีก “Mys” ที่แปลว่าหนู

จากการคาดการอายุเบื้องต้นเจ้าหนูที่พบนี้น่าจะมีชีวิตอยู่เมื่อราวๆ 69 ล้านปีก่อน ในพื้นที่ทางตอนเหนือของเกาะสวาลบาร์ด ที่ซึ่งในเวลานั้นจะมีกลางคืนยาวนานถึง 4 เดือน

โดยชิ้นส่วนที่มีการค้นพบในครั้งนี้คือชิ้นส่วนขากรรไกรล่างที่มีความยาวเพียง 1.5 มิลลิเมตร และฟันขนาดเล็กอีกราวๆ 70 ชิ้น ดังนั้นจึงนำว่าเป็นโชคดีมากที่เหล่านักโบราณคดีสามารถเก็บกู้มันมาได้โดยที่ไม่สูญหายไปเสียก่อน

 

 

ขนาดของขากรรไกรที่พบทำให้นักโบราณคดีคาดว่าเจ้าหนูที่พบน่าจะมีขนาดใกล้เคียงกับหนูตัวเล็กในปัจจุบัน และจากรูปร่างของขากรรไกรเอง นักโบราณคดีก็เชื่อว่าเจ้าหนูตัวนี้นั้นน่าจะมีรูปร่างคล้ายตัวพอสซัมในปัจจุบัน

จริงอยู่ว่าพื้นที่แถวๆ ขั้วโลกในอดีตจะมีอุณหภูมิที่สูงกว่าในปัจจุบัน แต่มันก็เป็นไปได้มากว่าเจ้า Unnuakomys Hutchisoni น่าจะต้องอาศัยในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยเพียง 6 องศาเซลเซียสอยู่ดี ดังนั้นจึงเป็นไปได้สูงที่เจ้าสัตว์ตัวนี้จะมีการขุดหลุมไปอาศัยใต้ดินเพื่อหลบอากาศหนาว

 

 

น่าเสียดายที่มีความเป็นไปได้สูงว่าสัตว์สายพันธุ์นี้จะไม่ได้มีชีวิตมีชีวิตอยู่ยาวนานกว่าไดโนเสาร์อย่างที่เราหวัง อย่างไรก็ตามการตรวจสอบฟอสซิลที่พบนั้นก็ยังไม่ได้เสร็จสมบูรณ์ลงอย่างแท้จริงแต่อย่างไร ดังนั้นเราจึงยังอาจจะได้ข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ ของเจ้าหนูโบราณเหล่านี้ก็เป็นได้

 

ที่มา livesciencephys

Comments

Leave a Reply