พบโรคมะเร็งกระดูกในฟอสซิลเต่าที่ไร้เปลือกอายุ 240 ล้านปี ซึ่งคล้ายกับในมนุษย์ปัจจุบันมาก

เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ปี ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมา ในนิตยาสารออนไลน์ JAMA Oncology นักวิทยาศาสตร์ได้ออกมาเปิดเผยผลการค้นพบชิ้นใหม่ที่เกิดขึ้นกับ ฟอสซิลของสัตว์เมื่อ 240 ล้านปีก่อน และเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง

นี่เป็นการค้นพบที่เกิดขึ้นจากการศึกษาฟอสซิลของเต่าที่ไร้เปลือก สายพันธุ์ Pappochelys rosinae จากยุคไทรแอสซิก ด้วยระบบกล้องจุลทรรศน์ และเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ภายใต้ความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติของรัฐเพนซิลเวเนีย และสถาบันการวิจัยเกี่ยวกับวิวัฒนาการและความหลากหลายทางชีวภาพในกรุงเบอร์ลิน

 

Pappochelys rosinae เป็นบรรพบุรุษของเต่าที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน

 

โดยจากการตรวจสอบ พวกเขาพบว่าในเยื่อหุ้มกระดูกของเต่าที่พบนั้นมีร่องรอยที่บ่งบอกถึงการลุกลามของเนื้องอกมะเร็งในระบบกระดูก (Osteosarcoma) ซึ่งถือว่ามีความร้ายแรงมาก แฝงเอาไว้อยู่

Dr. Bruce Rothschild หนึ่งในทีมวิจัยบอกว่า การค้นพบมะเร็งในฟอสซิลโบราณนั้นนับว่าเป็น เรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากมาก เพราะตามปกติสภาพของฟอสซิลมักจะทำให้นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถแยกได้ว่าความเสียหายบนกระดูกนั้นมาจากกาลเวลาหรือว่าโรคภัยกันแน่

 

 

นั่นทำให้การค้นพบในครั้งนี้อาจกลายเป็นการค้นพบโรคมะเร็งที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในบรรดาสัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เพราะที่ผ่านๆ มามะเร็งในลักษณะนี้เคยมีการค้นพบในหมู่สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเท่านั้น

นอกจากนี้ ตัวมะเร็งที่มีการค้นพบในฟอสซิลยังมีความน่าสนใจมากๆ อีกด้วย เพราะทั้งลักษณะโดยรวม และอาการที่ของมันแทบจะไม่มีความแตกต่างจากมะเร็งที่พบในมนุษย์ปัจจุบันเลย

 

 

นั่นหมายความว่าโรคมะเร็งบางชนิดที่มนุษย์เป็นกันในปัจจุบันนั้น อาจจะเป็นของที่อยู่คู่กับสิ่งมีชีวิตมาตั้งแต่ 240 ล้านปีก่อนแล้วนั่นเอง

 

ที่มา livesciencephys

Comments

Leave a Reply